fbpx

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

โทร :
, 02-379-4555
, 02-379-4575

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

อะซิโตน [Acetone] คืออะไร ทำไมถึงนิยมใช้เช็ดล้างเครื่องมือช่าง

ในปัจจุบันนี้งานช่าง งานอุตสาหกรรมเริ่มเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่คงจะไม่มีใครที่จะยอมเสียเครื่องมือคู่ใจไปกับการใช้งานเพียงครั้งเดียวง่ายๆหรอกใช่ไหมครับ อะซิโตนจึงตอบโจทย์ทั้งหมดที่กล่าวมา เพราะราคาถูก และไม่เป็นอันตราย แล้วยังใช้เช็ด/ล้างมือได้อีกด้วยนะครับ

สารบัญเนื้อหา

อะซิโตน คือ

Acetone คืออะไร ทำไมถึงนิยมใช้เช็ดล้างเครื่องมือช่าง

อะซิโตน หรือ อะซิโทน (Acetone) คือ ของเหลวที่ระเหยง่าย ไม่มีสี ติดไฟได้ง่าย ละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ และเป็นตัวทำละลายที่สำคัญมาก ซึ่งนิยมใช้กันแทน น้ำยาล้างเล็บ ล้างกาว หรือ เช็ดล้างเครื่องมือช่าง ทั้งลูกกลิ้ง พู่กัน แปรง ล้างมือ เป็นต้น นอกจากนี้ อะซิโตน ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ไฟเบอร์ ยา และ สารเคมีอื่น ๆ อีกด้วย 

ก่อนจะไปอ่านบทความส่วนที่เหลือ ในบทความนี้ ใช้คำว่า Acetone ทั้งคำว่า อาซิโทน และ อะซิโตน เนื่องจากมีบางคนใช้คำว่า อาซิโทน ซึ่งทั้งสองนี้คือคำเดียวกัน เลยขอให้ทุกคนเข้าใจตรงกันก่อนจะไปเริ่มอ่าน

ประวัติ และการผลิตของอะซิโตน

ในปี ค.ศ. 1905 มีการค้นพบจากกระบวนการหมักของแบคทีเรียในสภาวะไม่มีออกซิเจน (Anaerobic Bacilli) เช่นเดียวกับ

หลุยส์ พัสเตอร์ที่ค้นพบบิวทานอล (ค.ศ. 1861) และคนแรกที่ค้นพบอะซิโตนก็คือ Schardinger

ในปี ค.ศ. 1912-ค.ศ. 1914 เชม วิทแมนน์ (Chaim Weizmann) ได้แยกจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งที่มีความสามารถผลิตอะซิโตน และบิวทานอลได้ เรียกว่า ไอโซเลต และต่อมาเรียกจุลินทรีย์กลุ่มนี้ว่า Clostridium acetobutylicum โดยในระยะแรกอะซิโตน จะมีความสำคัญมาก
โดยอะซิโตนที่ผลิตได้จะใช้เป็นตัวทำละลายคอร์ไดท์ (Cordite) สำหรับเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตวัตถุระเบิด TNT (Trinitrotoluene)ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาสงครามยุติ ความต้องการลดน้อยลงทำให้โรงงานเหล่านั้นต้องปิดตัวลง แต่ช่วงเดียวกันบิวทานอลกลับมีความต้องมากขึ้นในอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ และอุตสาหกรรมสีทา

ในปี ค.ศ. 1950 ได้เริ่มมีการผลิตอะซิโตน ด้วยกระบวนการทางเคมี จากสารที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำมันปิโตรเลียม ซึ่งมีต้นทุนถูกกว่าการผลิตโดยกระบวนการหมัก ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในอเมริกาเริ่มมีการเปิดขึ้นใหม่ จนกระทั่งสิทธิบัตรโรงงานของ
วิทแมนน์ (Weizmann) สิ้นสุดลงจึงเกิดโรงงานเพื่อการผลิตอะซิโตนขึ้นอีกมากมาย ทั้งในญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรีย และอเมริกาใต้ โดยใช้แบคทีเรีย C. acetobutylicum เป็นหลักในการผลิต เช่นเดียวกับการผลิตบิวทานอล

Acetone คืออะไร

อะซิโตน คือ

ประโยชน์ของอะซิโตน (Acetone)

  1. ห้องปฏิบัติการนิยมใช้อะซิโตนสำหรับเป็นตัวทำละลายในการเตรียมสารเคมี หรือ ใช้เป็นสารทำละลายสำหรับการสกัดสารอินทรีย์จากพืชหรือสัตว์
  1. ในภาคอุตสาหกรรมนิยมใช้อาซิโทนเป็นตัวทำละลายในกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันขัดเงา กาว แลคเกอร์ เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมเคมี ผลิตยา ผลิตสี หมึกพิมพ์ และอุตสาหกรรมพลาสติก เช่น เรซิ่น Bisphenol A สำหรับเป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกหลายชนิด เช่น โพลีคาร์บอเนต โพลียูรีเทน และเรซิน เป็นต้น
  1. ประโยชน์ด้านอื่นๆ เช่นใช้สำหรับการชะล้าง และเป็นสารไล่น้ำ เป็นต้น

อะซิโตน น้ำยาล้างเล็บ ทำไมถึงอันตรายน้อย

ส่วนประกอบสำคัญหนึ่งในน้ำยาล้างเล็บคือ อะซิโตน หรือเอทิลอะซิเตต จะไม่มีสี ระเหยง่าย  เป็นตัวทำละลายอินทรีย์มีความเป็นขั้วสูงและมีพิษต่ำ จึงเหมาะกับการน้ำยาล้างเล็บ  ในทางเคมีแล้ว อะซิโตนใช้มากในห้องปฏิบัติการ และด้วยความที่เป็นสารเคมี จึงกำหนดให้อะซิโตนเป็นสารเคมีอันตราย (ชนิดที่ 3) มีคุณสมบัติเป็นของเหลว ไวไฟ ในน้ำยาล้างเล็บมีส่วนประกอบหลักนอกจากอะซิโตนเข้มข้นแล้ว ยังมีน้ำและตัวนี้ทำให้สารอื่นๆ รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้บ่อยในครีม หรือโลชั่น เป็นตัวทำละลายชนิดหนึ่งอีกด้วย นอกจากนี้ ในน้ำยาล้างเล็บยังมีน้ำหอมเพื่อกลิ่นไม่ฉุน และสีอ่อนๆ อีกด้วย แม้ว่าเมื่อเราสัมผัสอะซิโตนแล้วจะไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ง่ายๆ และไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง แต่ถ้าสัมผัสอะซิโตนเป็นเวลานานๆ จะทำให้เกิดการสะสม ส่งผลให้เกิดการอักเสบได้

อะซิโตน น้ำยาล้างเล็บ

การเก็บรักษาอะซิโตน

– อุณหภูมิสถานที่เก็บไม่ควรเกิน 30 องศาเซลเซียส

– ควรเก็บให้ห่างจากแหล่งความร้อน แสงแดด เปลวไฟ และสารที่เข้ากันไม่ได้

– ควรเก็บในภาชนะที่ปิดบรรจุมิดชิด จัดเก็บในบริเวณที่แห้ง เย็น มีการระบายอากาศที่ดี

– ควรเก็บในภาชนะที่ทำจากแก้ว หลีกเลี่ยงการเก็บในภาชนะที่ทำด้วยโลหะ ใยสังเคราะห์ และพลาสติก

–  สถานที่เก็บควรถูกต้องตามกฎหมายที่กรมโรงงานกำหนดในเรื่องการจัดเก็บวัตถุอันตราย มีป้ายเตือนอันตราย ป้ายเตือนให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ป้ายห้ามสูบบุหรี่ ระยะห่างจากแหล่งความร้อน แหล่งเชื้อเพลิง อาคารสามารถป้องกันประกายไฟ เป็นต้น

Acetone คืออะไร

อะซิโตน คือ

อะซิโตน อันตรายต่อสุขภาพ!!

เมื่อได้รับอะซิโตนเป็นจำนวนมากเกินไปเข้าสู่ร่างกาย การรักษาระยะเฉียบพลัน ให้การรักษาแบบประคับประคอง โดยการเฝ้าระวังเกี่ยวกับระดับความรู้สึกตัว และ ระดับสัญญาณชีพ เนื่องจากอะซิโตนสามารถทำให้เกิดความผิดปกติได้ทั้งระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท ผู้ป่วยที่รับสัมผัสอะซิโตนโดยการรับประทาน ควรได้รับการล้างท้องและใช้ผงถ่านกัมมันต์ (activated charcoal) ในการดูดซับพิษ รักษาอาการแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ จนร่างกายสามารถขับอะซิโตนออกมาได้เองจนหมด

  • ระบบหายใจ การหายใจหรือสูดดมเอาอะซิโตนเข้าสู่ระบบหายใจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ มีอาการแน่นหน้าอก เวียนศีรษะปวดหัว ไอ เป็นต้น ควรใช้อะซิโตนบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ทางผิวหนัง เมื่อไปสัมผัสทางผิวหนังจะทำให้ชั้นไขมันผิวหนังถูกทำลาย ผิวหนังแดง อักเสบ มีอาการปวดแสบปวดร้อน ควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และใส่ ถุงมือยางและรองเท้าบู๊ทก่อนใช้งานอะซิโตน ถ้าพลาดไปสัมผัสให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดในทันที
  • สัมผัสกับตา เมื่อพลาดสัมผัสกับตาจะทำให้ตาระคายเคือง น้ำตาไหล มีอาการตาแดง และปวดตา ควรสวมแว่นตาก่อนใช้งานอะซิโตนทุกครั้ง!
  • การกลืนกิน การกลืนกินเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารจะทำให้เกิดการระคายเคืองที่อวัยวะระบบทางเดินอาหารอย่างรุนแรงและทำให้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศรีษะ ปวดหัว ให้รีบพบแพทย์ในทันที!

อะซิโตน อันตรายต่อการเกิดอัคคีภัย !!!

อะซิโตน จัดเป็นสารไวไฟ มีจุดวาบไฟที่น้อยมากที่ -2 องศาเซลเซียส และลุกติดไฟได้เองที่ 465 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงมีโอกาสเกิดการติดไฟ และระเบิดได้ง่ายหากสัมผัสกับความร้อน และเปลวไฟ และเกิดระเบิดได้เองหากส่วนผสมของไอระเหยกับอากาศอยู่ภายใต้ขีดจำกัดความไวไฟที่ได้รับความร้อนมากเพียงพอไอระเหยสามารถไหลไปตามพื้นผิวไปยังแหล่งจุดระเบิดที่อยู่ห่างไกลและย้อนแสง นอกจากนี้อะซิโตนในอุตสาหกรรมยังมีน้ำปริมาณเล็กน้อยซึ่งจะยับยั้งการจุดระเบิดด้วย

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เนื่องจากการเผาไหม้จะทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์การเข้าไปกู้ภัยต้องใช้ชุดที่ป้องกันไฟได้ และชุดควรเป็นชุดป้องกันชนิดที่มีถังบรรจุอากาศในตัว (Self-contained breathing apparatus, SCBA)

อะซิโตน อันตรายกับงานเรซิ่น 

อะซิโตนมีความเข้มข้นน้อยกว่าน้ำ เวลาบรรจุด้วยบรรจุภัณฑ์ขนาดเท่ากัน จึงได้ปริมาณน้อยกว่าเรซิ่นและโมโนสไตรีน สำคัญ ห้ามใช้ผสมลงในเรซิ่นเพื่อทำให้เหลวขึ้นเด็ดขาด!! เพราะจะกัดทำลายเนื้อโพลีเอสเตอร์เรซิ่น  หากต้องการทำให้เรซิ่นเหลวขึ้นต้องใช้โมโนสไตรีนเท่านั้น

ส่วนใหญ่อะซิโตนจะนิยมนำมาล้างเครื่องมือทำงานเรซิ่นเพื่อถนอมเครื่องมือให้สามารถใช้ได้นานยิ่งขึ้น สามารถแช่เครื่องมือที่ใช้ทำงานเรซิ่นกับอะซิโตนได้เลยเพื่อความสะอาดของเครื่องมือ และสามารถใช้อะซิโตนล้างเครื่องพ่น ที่ใช้พ่นเรซิ่นลงบนชิ้นงานได้ด้วยการเติมอะซิโตนลงบนเครื่องพ่นแล้วฉีดพ่นเรื่อยๆจนไม่เหลือเรซิ่นในเครื่องพ่น

Picture of ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ

พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"

ข้อมูล Data Sheet เพิ่มเติม

อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ

ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ

สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604

โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”

5ข้อควรระวังการใช้เรซิ่น
5 ข้อควรระวังการใช้ เรซิ่น
การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ให้เหมาะสมกับ 10 ประเภทเรซิ่น
การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ให้เหมาะกับ 10 ประเภทของเรซิ่น
4 สิ่งที่ไม่ควรนำมาหล่อในเรซิ่น
4 สิ่งที่ไม่ควรนำมาหล่อในเรซิ่น
ไม้อัด mdf คืออะไร ทำไมถึงทนทานสูง และยังรับน้ำหนักได้เยอะ-2
ไม้อัด mdf คืออะไร ทำไมถึงทนทานสูง และยังรับน้ำหนักได้เยอะ

สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อติดต่อ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-379-4555 , 02-379-4575 , 02-379-4604

โทรศัพท์มือถือ : 088-299-0267 , 086-317-1747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

รอบจัดส่ง