fbpx

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

โทร :
, 02-379-4555
, 02-379-4575

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ให้เหมาะกับ 10 ประเภทของเรซิ่น

การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ให้เหมาะสมกับ 10 ประเภทเรซิ่น

สารบัญ

เนื้อหา

คู่มือสำหรับการเลือกเรซิ่นง่าย ๆ สำหรับมือใหม่ หรือ มืออาชีพ เพื่อให้ตรงกับความต้องการในแต่ละประเภทของเรซิ่น

รวมทั้งข้อควรระวังในการใช้งาน รวมทั้ง วิธีการทิ้งเรซิ่น แนวทางในการเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ จะเป็นยังไง

การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละประเภทของเรซิ่น

ด้วยบทความนี้ ผมอยากจะแนะนำให้กับทุกคนได้รู้จักกับการเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ให้มากขึ้น ก่อนที่คุณจะเริ่มต้น บทความนี้จะได้รู้ว่า

  • เรซิ่นคืออะไร
  • เรซิ่นแต่ละประเภทแตกต่างกันยังไง
  • ข้อควรระวังในการใช้เรซิ่น
  • การเก็บรักษาเรซิ่นยังไงให้มีอายุนานที่สุด และที่สำคัญ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดสำหรับการเริ่มต้นสำหรับมือใหม่ หัดหล่อเรซิ่น ที่ต้องการจะเข้าสู่วงการเรซิ่น ให้ประสบความสำเร็จ มีอยู่ในบทความต่อไปนี้ครับ

[สารบัญ] ต้องการดูเนื้อหาอะไร

เรซิ่น หรือ โพลีเอสเตอร์เรซิ่น ถือเป็น 1 ใน 3 ประเภทของเรซิ่นที่เอสเจ จัดจำหน่าย ( โพลีเอสเตอร์, อีพ็อกซี่ , ไวนิลเอสเตอร์เรซิ่น ) 
โดยโพลีเอสเตอร์อยู่ในรูปแบบของเหลว หนืดเหนียว  มีกลิ่นฉุน มีสีใสโปร่งแสง 

การเลือกเรซิ่นมักถูกนำมาใช้สร้างสรรค์งานต่าง ๆ ทั้งงานหล่อตุ๊กตา งานเคลือบรูป หรืองานไฟเบอร์กลาส งานหุ้มผ้าคาร์บอน ไฟเบอร์ โดยต้องมีส่วนผสม เรซิ่น(A) + โคบอลต์(B) + ตัวเร่ง(C)  A + B + C  มีอะไรบ้าง ทำไมต้อง A B C  เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาแข็งตัว  เมื่อแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถกลับคืนมาเป็นของเหลวอีก หากคุณสมบัติการไม่คืนตัวนี้เป็นคุณสมบัติที่ดีเด่นของเรซิ่นนั้น สามารถใช้การเลือกใช้เรซิ่นเพื่อสร้าง ซ่อม ผสานเป็นกาว

เราสามารถลด หรือเพิ่ม อัตราส่วนผสมของโคบอลต์ และ ตัวเร่ง เพื่อลดเวลาทำงาน เร่งเวลาเซทตัว  [ ทางที่ดี เราควรใช้ปริมาณตามอัตราส่วนของแต่ละชนิดเรซิ่นที่กำหนดไว้ เพื่อความแข็งแรง ไม่เหลืองไว ไม่กรอบแตกง่ายของชิ้นงาน ] 

เราสามารถผสมสิ่งใดๆ ลงเรซิ่นได้บ้างครับ..?? 

สามารถ นำไปผสมกับสารเสริมแรงชนิดต่าง ๆ เช่น ผงแคลเซียม ผงทัลคัม ผงใยแก้ว มวลสารสำหรับหล่อพระ ทราย ดิน ข้าวสาร ฯลฯ โดยมีหลักการในการเลือกสารเสริมแรงมาผสมคือ สิ่งนั้น ๆ ต้องแห้ง ไม่มีความชื้น เพราะเรซิ่นกลัวความชื้น หากมีความชื้นใดๆในระหว่างการเซตตัว จะทำให้เรซิ่นเซตตัวผิดปกติ อาจไม่แข็งแรง อาจไม่เซตในเวลาที่เคยเซตตัว

เราผสมผงมวลสาร ต่าง ๆ เพื่อสิ่งใดบ้าง

  • เพื่อความทึบแสง
  • เพื่อความมีเนื้องาน
  • เพื่อประหยัดต้นทุนเรซิ่น เพราะผงผสมต่าง ๆ ราคาย่อมเยากว่าเรซิ่น 
  • เพื่อความแข็งแรง ความไม่ไหลย้อยในแนวตั้งของผงเบา 
  • เพื่อให้ผิวงานเรซิ่น เรียบ ไม่มีหลุม 

เคมีเสริมสำหรับเรซิ่น เพื่อคุณสมบัติต่างๆ → เคมีเสริม 

ก่อนจะเลือกเรซิ่น เรามาทำความรู้จัก เรซิ่นคืออะไร กันก่อนนะครับ

การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่

เรซิ่น คืออะไร

เรซิ่น คือ สารที่ได้จากยางเหนียวของต้นไม้หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นมา โพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นชนิดนึงของเทอร์โมเซ็ทติ้ง พลาสติก (Thermosetting plastic มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า Thermoset plastic) เป็นพลาสติกเหลวที่ได้จากการสังเคราะห์ มีความหนืดข้น เป็นวัตถุไวไฟชนิดหนึ่ง คล้ายน้ำมันเครื่อง กลิ่นฉุน สามารถแข็งตัวด้วยโคบอลและตัวเร่ง การเซตตัวมี ความร้อนสูง มีการหดตัว 1-5% หลังเซทตัวเต็มที่ เรซิ่นสามารถหล่อขึ้นรูปทรงได้อิสระมากมายหลากหลายรูปแบบ มีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรม ในชีวิตประจำวันของเราต้องเกี่ยวข้องกับพลาสติกไม่อย่างใดก็อย่างนึง เรซิ่น คืออะไร?

เหมาะสำหรับการทำงานเรซิ่นที่เฉพาะทางมาก ๆ เพราะ เรซิ่นจะใช้ทดแทนกันได้ค่อนข้างยาก และ แห้งไวพอสมควร 

การเลือกเรซิ่น ที่เหมาะกับเราควรจะต้องทราบว่า ประเภทของเรซิ่นมีกี่แบบ แต่ละแบบเหมาะกับงานไหน เพื่อน ๆ บางคนอาจจะไม่รู้ว่า
เรซิ่น หรือ โพลีเอสเตอร์เรซิ่น มีกี่แบบ แต่ละแบบ มีคุณสมบัติที่ตรงกับงานไหนบ้าง

เรซิ่นแต่ละประเภท มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เป็นพลาสติกเหลว มีความหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง มีสีใส มีกลิ่นฉุน แข็งตัวด้วยการผสมกับตัวเร่ง เป็นวัตถุไวไฟมีคุณสมบัติแข็ง ใส เงา มีการหดตัวเมื่อทำชิ้นงานเสร็จ ประมาณ 2-3% อยู่ที่การผสมสารเร่งแข็ง ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติก แต่น้อยกว่าโลหะ

โพลีเอสเตอร์เรซิ่น 10ชนิด มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อการเลือกใช้งาน

1. เรซิ่นหล่อทั่วไป

มีคุณสมบัติ หล่อชิ้นงานใหญ่ หล่อหนา หล่อตัน หล่องานทั่วไปได้ดีเพราะ มีความร้อนระหว่างเซตตัว น้อยกว่าเรซิ่นชนิดไฟเบอร์กล๊าส ทำให้ลดโอกาสการแตกร้าวได้มาก

2. เรซิ่นหล่อใสพิเศษ

เป็นเรซิ่นชนิดที่โปรโมทโคบอลต์ มาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ทำให้มีเสถียรภาพสูง มีความใสคงที่  สามารถนำไปหล่อชิ้นงาน เช่น หล่อชิ้นงานที่ระลึก หล่อตุ๊กตา หล่อองค์พระ ชิ้นงาน Art toy เครื่องประดับอื่น ๆ โดยจะเป็นของเหลวขึ้นรูปได้ตามจินตนาการได้อย่างดีทีเดียว

3. เรซิ่นไฟเบอร์กลาส (Fiberglass resin)

เป็นเกรดสำหรับงานไฟเบอร์กลาสทั่วไป เหมาะกับงานที่ไม่หนา เพราะจะแตกร้าว ใช้ผสานกับใยแก้วเป็นวัสดุคอมโพสิตเป็นที่นิยม  สามารถนำไปใช้สร้าง หรือ ซ่อมชิ้นงานได้ตามจินตนาการ ซึ่งการสร้าง จะต้องมีต้นแบบก่อน เพื่อนำมาทำแม่พิมพ์ แล้วถึงได้ชิ้นงานไฟเบอร์กลาสที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ใยแก้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงได้  ใยแก้วมีหลายแบบ เลือกอย่างไรมาดูกัน

4. เรซิ่นหล่อนิ่ม

มีคุณสมบัติเป็นเกรดหล่อสำหรับทำงานหล่อทั่วไป จะได้ชิ้นงานที่หยุ่นตัวได้นิด ๆ หากหล่อหนา คล้ายกับ Soft ไวนิล ซึ่งจะมีความทนทาน เหนียว ไม่แตกร้าวง่าย

5. เรซิ่นเคลือบรูป

มีคุณสมบัติผิวเงา สวย  ใช้ทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์ใช้เคลือบชิ้นงาน เคลือบดอกไม้ งานที่ต้องการเคลือบผิวให้เงางาม
แต่มีข้อเสียคือ อายุการเก็บรักษาไม่นาน ถ้าแบ่งบรรจุขวด จะเก็บไม่เกิน
2 สัปดาห์ สามารถนำไปหล่อชิ้นงานขนาดเล็กได้ แห้งแล้วผิวไม่เหนอะหนะ  งานหุ้มคาร์บอนหน้าสุดท้าย สามารถดัดแปลงใช้เรซิ่นตัวเคลือบรูปนี้ได้เพื่อให้การขัดงานไม่เปลืองกระดาษทราย 

6. เรซิ่นเคลือบโฟมขาว

เรซิ่นนี้จะมีหน้าที่ปกป้องโฟมขาว จากโซลเว้นท์ แลคเกอร์ ทินเนอร์ สีโป๊ว ฯลฯ ทำให้โฟมขาวไม่ละลาย แข็งแรง ทำชิ้นงานที่เป็นม๊อกอัพได้ตามสบาย ประหยัดต้นทุนและเวลาในการทำงาน สำหรับงาน
ม็อกอัพที่ต้องการชิ้นงาน 1 ชิ้น ไม่จำเป็นต้องทำแม่พิมพ์ สามารถเคลือบโฟมขาว แล้ว ผสานต่อด้วยเรซิ่นไฟเบอร์กล๊าส + ใยแก้ว คลิปการทำรถไฟชินคันเซนด้วยเรซิ่นเคลือบโฟมขาว

7. ไวนิลเอสเตอร์เรซิ่น (Vinyl Ester Resins)

เป็นเรซิ่นคุณภาพพิเศษโดยปรับปรุงให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น ทำให้มีประสิทธิภาพในการทนทานก่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้หลายชนิดในช่วงที่กว้างขึ้น ซึ่งถูกออกแบบทำให้มีความเหนียวที่เหนือกว่า

ลดปัญหาการแตก รอบการทำงานสั้นลง และมีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยเราสามารถกำหนดส่วนผสม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ มี FDA มีอายุการจัดเก็บเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการควบคุมการจัดเก็บ

8. เรซิ่น อินฟิวชั่น

เหมาะกับการทำงาน เพียวคาร์บอน ใช้ระยะเวลาเซทตัว 45นาที มีเวลานานพอสำหรับปล่อยน้ำยาเข้าระบบได้ทั่วถึง สามารถเพิ่มลด ปรับปริมาณโคบอลต์ และ ตัวเร่งได้ ราคาประหยัด มีเสถียรภาพสูง สามารถนำไปผสมตัวเร่งแล้วใช้งานได้ทันที เนื่องจากได้รับการผสมโคบอลต์ มาแล้วจากโรงงาน
อินฟิวชั่น คืออะไร… 

9. เรซิ่น355e

เป็นไฟเบอร์กล๊าสเกรดสำหรับทำงานคาร์บอนไฟเบอร์ มีเสถียรภาพสูง อัตราการหดตัวน้อย ทำให้ไม่ดึงรั้งผ้าคาร์บอน // เป็นพลาสติกเหลว ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติก แต่น้อยกว่าโลหะ เมื่อเสริมแรงด้วยผ้าคาร์บอน มีน้ำหนักเบา ไม่เปราะ

10. เรซิ่น355+(Plus) 

ไม่เหลืองง่าย ทนแดด เป็นสูตรเพิ่มสารเคลือบปกป้องจากรังสียูวี ชนิดนี้สำหรับทำงานคาร์บอนไฟเบอร์ มีเสถียรภาพสูง

การเลือกเรซิ่นให้ตรงกับประเภทงาน นอกจากจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้ชิ้นงานที่เราทำ มีประสิทธิภาพสูงสุด 

วัสดุ อุปกรณ์เสริม ในงานเรซิ่น

การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่

รูปภาพจาก : acryliciessen

นอกจากการเลือกเรซิ่นให้ตรงกับประเภทงานแล้ว อัตราส่วนการผสม เพราะหากเราผสมอัตราส่วนผิดพลาด อาจส่งผลทำให้น้ำยาไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวช้า เพราะฉะนั้น เพื่อน ๆ ควรผสมตามอัตราส่วนให้ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตระบุไว้ ซึ่งทางด้าน Resin Sj
มีสูตรคำนวณเรซิ่น ออนไลน์ เพื่อให้ชิ้นงานออกมาราบรื่น เพื่อน ๆ จึงควรผสมอัตราส่วนให้ถูกตามที่ผู้ผลิตระบุหรือแนะนำเสมอ

วิธีการ-อัตราส่วนผสมตัวเร่ง โคบอลต์ กับ เรซิ่น

 มีคำถาม ข้อสงสัยว่า หากไม่ผสมโคบอลต์เรซิ่นจะแห้งไหม  ขอตอบว่าการใช้งานโพลีเอสเตอร์ ต้องมีส่วนผสม เรซิ่น(A) + โคบอลต์(B) + ตัวเร่ง(C)  A + B + C  มีอะไรบ้าง ทำไมต้อง A B C  หากใครยังไม่เข้าใจ รับชมคลิปเพิ่มเติม คลิก

  1. A = โพลีเอสเตอร์ มีทั้งชนิดโปรโมทโคบอลต์แล้วจากโรงงานและแบบยังไม่ผสมโคบอลต์ [นอกเหนือจากเรซิ่นหล่อใสพิเศษ
    SJ 666 แล้ว] นำเรซิ่น ผสมกับ ตัวเร่ง 2%
  2. B = โคบอลต์ 0.5-2%  คนเข้ากันให้ดี โคบอลต์ที่ดีจะกระจายตัวง่าย เรซิ่นทุกชนิดที่เมื่อผสมโคบอลต์แล้วจะมีสีชมพูเข้ม ออกม่วง [ สามารถแจ้ง ResinSj ให้ผสมโคบอลต์ให้ฟรีได้ การผสมโคบอลต์อาจทำให้อายุการเก็บรักษาน้อยลง กรุณาสั่งซื้อเรซิ่นในจำนวนที่ต้องการใช้งาน ไม่ควรซื้อเก็บ ] 

  3. C = ตัวเร่ง 1-2% วิธีสังเกตุปฎิกิริยาที่เกิดหลังจากการคนผสม คือ เรซิ่นที่ผสมตัวเร่งแล้ว จะมีสีเหลืองอมน้ำตาล มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณตัวเร่งที่ใส่ลงไป  

ความอันตราย ไฟลุกของโคบอลต์ ที่ผสมกับตัวเร่งโดยตรง

5ข้อควรระวังการใช้เรซิ่น

5 ข้อควรระวังการใช้ เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น)

การจัดการกับความปลอดภัย ระหว่างใช้งาน เรซิ่น

ถือเป็นข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัยของเรซิ่นเหล่านี้ จะช่วยให้การทำงานของคุณสนุกขึ้น มีความพึงพอสนใจมากขึ้น 

ข้อควรระวังการใช้ เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น)

  • เมื่อเข้าตาควรพบแพทย์โดยด่วน หากถูกส่วนอื่นของร่างกายควรเช็ดถูทำความสะอาดด้วยอะซีโตน

  • เรซิ่นมีหลายชนิด การใช้งานย่อมต่างกัน หากใช้ผิดชนิดจะทำให้งานเสียหายได้ เช่นงานหล่อต้องการหนา แต่ใช้เรซิ่นไฟเบอร์ทำ จะทำให้งานแตกร้าวได้ 

  • ถ้าผสมกับตัวทำให้แข็งในปริมาณที่มากๆ จะทำให้มีกลิ่นฉุน และเกิดความร้อนสูง อาจเกิดไฟลุกได้

  • ไม่ควรเก็บไว้ในที่ร้อนหรือถูกแดดทำให้เรซิ่นเสื่อมเร็ว ลักษณะการเสื่อมของเรซิ่นที่สังเกตุได้ด้วยตาเปล่าคือ สีเปลี่ยนไป, จับตัวเป็นก้อนเจลทำให้ผสมตัวเร่งไม่ได้ การจับตัวแบบนี้เป็นการจับตัวที่ไม่เสถียร แข็งบ้างไม่แข็งบ้าง

  • ไม่ควรเปิดฝาภาชนะทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้แข็งตัวและเสื่อม เรซิ่นที่เก็บรักษาดีแล้ว จะมีอายุใช้งานไม่เกิน 2 เดือน

และที่สำคัญ ขออนุญาติเน้นย้ำอีกครั้ง

  1. ห้ามนำโคบอลต์ ผสมกับ ตัวเร่ง กันโดยตรง เวลาใช้งาน ให้นำโคบอลต์ใส่ลงในเรซิ่นก่อน แล้วทำการคนโคบอลต์ให้เข้ากับเรซิ่น
    ให้ดี แล้วค่อยนำตัวเร่งมาผสมลงไป

  2. เมื่อนำโคบอลต์มาผสมลงในโพลีเอสเตอร์เรซิ่นแล้ว จะทำให้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น มีอายุการเก็บรักษาที่สั้นลง

ถ้าไม่ระวังความปลอดภัยในการใช้เรซิ่น จะเกิดอะไรขึ้น

จากการสำรวจปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุด ที่เกิดจากการใช้เรซิ่นทั้งหลาย แต่เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้

  • โรคผิวหนัง

จากผลสำรวจ มีผู้คนน้อยกว่า 10%, มีปฏิกิริยาหลังจากสัมผัสกับเรซิ่น หรือสารชุบแข็งมากจนเกินไป ทำให้เกิดผื่น หรือ ในทางการแพทย์ เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบเฉียบพลันจากการสัมผัส หรืออาจจะเกิดความรู้สึกไม่สบายรุนแรง แต่อาการจะหายไปหลังจากหยุดสัมผัสกับเรซิ่น ประมาณ 24 ชั่วโมง แต่หากสัมผัสบ่อยครั้ง อาจทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบติดต่อเรื้อรังได้ จะมีอาการที่รุนแรงกว่าและยาวนานกว่า หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะลามไปสู่โรคเรื้อนกวาง(สะเก็ดเงิน) อาการบวม ตุ่มพอง และคัน

  • โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (อาการแพ้)

อาการนี้มักเป็นการแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ โอกาสในการเกิดโรคผิวหนังอักเสบ จะขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกัน และความถี่ในการสัมผัส ของแต่ละคน หากสัมผัสมากเกินไป ภูมิคุ้มกันจะเกิดปฏิกิริยาไวมากขึ้น และความเสี่ยงจะสูงขึ้น เมื่อ คุณมีผิวขาว เคยสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ หรือ มีอาการแพ้อื่นๆ เป็นต้น

ไม่จำเป็นว่าจะต้องสัมผัสหลายครั้งถึงจะเกิดอาการแพ้ แต่บางครั้งมักจะเกิดจากการสัมผัสเพียงครั้งเดียว เพราะบางคนเกิดอาการแพ้ภายในไม่กี่วัน แต่บางคนอาจจะใช้เวลาหลายปี ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ การหลีกเสี่ยงการสัมผัสสารโดยตรง การเลือกใช้ถุงมือไนไตร (ถุงมือกันเคมี ) เป็นวิธีลดความเสี่ยงในการสัมผัส

การสูดดมไอระเหยของเรซิ่นทั้งหลาย อาจจะดูไม่เกิดอาการส่วนใหญ่ แต่หากสูดดมไอระเหยเป็นเวลานาน อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคืองได้ ในบริเวณผิวที่บอบบาง เช่น เปลือกตา อาจเกิดอาการคัน บวม หลังจากสัมผัสไอระเหยที่มีความเข้มข้นสูง

ดังนั้น หากคุณเกิดการระคายเคืองแย่ลงหรือมีการระคายเคืองยังคงอยู่ หลังจากเลี่ยงการสัมผัสเรซิ่นเป็นเวลาหลายวัน เพราะไม่มียาแก้แพ้สำหรับอาการแพ้เรซิ่น แต่บางอาการที่เกิดผลกระทบเรซิ่น สามารถรักษาได้ด้วยยาได้

เมื่อเกิดอาการแพ้ และ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีแนวโน้มมากขึ้นในการสัมผัสในอนาคต ไม่ว่าในอนาคตจะสัมผัสมากหรือน้อยก็ตาม มันเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำไม่ได้ แต่ต้องงดใช้งานเรซิ่นจนกว่าอาการทั้งหมดจะหายไป โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งหมดอย่างเคร่งครัด 

  • การระคายเคืองอย่างรุนแรงและการเผาไหม้ของสารเคมี

ด้วยตัวเร่งแข็ง ของเรซิ่น จะมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรงปานกลาง และสารมักจะเกิดจากการระคายเคืองและความเจ็บปวดเล็กน้อย แผลไหม้อาจทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสี หรือมีแผลเป็นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม อย่าทิ้งตัวเร่งแข็งไว้บนผิวหนังของคุณ เพราะมันจะแสบลึกๆ  และกำจัดออกยากมาก  ควรรีบเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างเรซิ่น ( อาซิโทน ) 

  • ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจจากเรซิ่นที่มีความเข้มข้นสูง หากหายใจเข้าไปอาจจะเสี่ยงการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและอาการแพ้ 

ถ้าหากคุณเป็นนักสูบบุหรี่ตัวยง หรือ ปอดของคุณมีความเครียด คุณจะมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจจากเรซิ่นได้มากที่สุด

การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่

รูปภาพจาก : Artincontext

นอกจากจะรู้การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ให้เหมาะสมกับประเภทเรซิ่นแล้ว วิธีการเก็บรักษาเรซิ่นก็สำคัญไม่ต่างกันเลยนะครับ 

เราได้แบ่งเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น) เป็น 2 แบบ คือ

  1. เรซิ่นที่มีสีใส คือ น้ำยาที่ยังไม่ผสม โคบอลต์ มีสีใส อมเหลือง อ่อนๆ เวลาจะใช้ต้องผสม โคบอลต์ (ตัวม่วง) ก่อน ถึงจะใช้งานได้
  2. เรซิ่นที่มีสีชมพู คือ น้ำยาที่ผสม โคบอลต์ มาจากโรงงานแล้ว จะมีสีชมพูอ่อน ๆ สะดวกต่อการนำมาผสมตัวเร่งใช้งานได้ทันที

นั่นหมายความว่า การที่เราจะเลือกเรซิ่น เราควรจะดูที่สีของน้ำยาเรซิ่นอีกทีหนึ่งว่า ในชิ้นงานนั้น เราต้องการที่เค้าผสม โคบอลต์ให้เลยไหม หรือชิ้นงานนั้น ควรใช้กับประเภทของเรซิ่นแบบเฉพาะเจาะจง เพราะการที่น้ำยาเรซิ่นผสมกับ โคบอลต์แล้ว จะมีอายุการเก็บรักษานานที่สุด คือ 2 สัปดาห์ แต่ถ้ายังไม่ได้ผสมกับ โคบอลต์ จะมีอายุการเก็บรักษานานถึง 1 -6 เดือน ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บ ให้ห่างร้อน
ห่างแสงแดด

สิ่งที่ควรรู้ไม่ต่างกันคือ การจัดเก็บเรซิ่น เพื่อยืดอายุเรซิ่นให้นานที่สุด มีทั้งหมด ดังนี้

7วิธีการเก็บรักษาเรซิ่น

7 วิธีการเก็บรักษาเรซิ่น

การจัดเก็บเรซิ่นอย่างถูกต้อง จะช่วยให้เรซิ่นของคุณมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น และนี่คือ คำแนะนำบางประการเกี่ยวกับการเก็บรักษาเรซิ่นของคุณเพื่อให้ใช้งานได้นานที่สุด

  1. เก็บไว้ในภาชนะเดิมที่มีลักษณะตั้งตรง เรซิ่นมักจะจำหน่ายในภาชนะที่เข้ากันได้กับสารเคมี และจะคงความเสถียรไว้เมื่อเวลาผ่านไป

  2. เก็บในที่เย็นและมืด ด้านล่างของตู้รองเท้าในร่ม  ไม่ควรเก็บในตู้เย็นเพราะกลิ่นเหม็นฉุนจะไปปนกับอาหาร

  3. ห้ามเก็บในที่แสงแดดส่องถึงโดยตรง เพราะ แสงยูวีสามารถเร่งให้เรซิ่นของคุณเกิดการเหลือง และ หนืด

  4. เก็บขวดเรซิ่นไว้ในถุงพลาสติก หรือ ภาชนะพลาสติกขนาดใหญ่ หากมีสิ่งใดรั่วไหล ก็จะเก็บความยุ่งเหยิง และมีกลิ่นเหม็น
    [ หากเรซิ่นเลอะ ให้รีบเช็ดทำความสะอาดด้วยอาซิโทน ]

  5. จัดเก็บในที่ ๆ เรซิ่นจะไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เช่น โรงรถ ห้องใต้หลังคา หรือช่องแช่แข็ง 70 องศาฟาเรนไฮต์เหมาะอย่างยิ่งสม 

  6. เขียนวันหมดอายุ วันที่เริ่มเปิดใช้ บนภาชนะเรซิ่นของคุณ เมื่อคุณได้ซื้อเรซิ่น เพราะวิธีนี้จะช่วยให้คุณใช้งานได้อย่างทันท่วงที
    เนื่องจากคุณได้ทำเครื่องหมายไว้

  7. ทำความคุ้นเคยกับอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้ ในขณะที่อีพ็อกซี่เรซิ่นส่วนใหญ่มีอายุการเก็บรักษาหนึ่งปี
    ส่วนประเภทอื่น ๆ เช่น โพลีเอสเตอร์และโพลียูรีเทนจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่ามาก หากคุณจะซื้อเรซิ่นสักขวดนึง ควรมีการคำนวณปริมาณเรซิ่นที่คุณสามารถใช้ได้อย่างสะดวกสบายภายในครึ่งอายุการเก็บรักษาเท่านั้น 

 

ยิ่งเก็บรักษาได้ดี ยิ่งยืดอายุการใช้งานของเรซิ่นได้ด้วยนะครับ

5 ข้อควรระวัง ผลกระทบต่ออายุการเก็บรักษาเรซิ่น