fbpx

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

โทร :
, 02-379-4555
, 02-379-4575

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

(คำถามที่พบบ่อย)

คำถามที่พบบ่อยๆในงานเรซิ่น

วิธีการค้นหาง่ายๆ แค่กดคีย์บอร์ด Ctrl+F แล้วใส่คำค้นหาลงไป 

เรซิ่นห้ามเปียกฝน เรซิ่นไม่ใช่เบสน้ำ  เป็นเบสเรซิ่น ถ้ามีน้ำมาผสม จะทำให้งานไม่แห้งค่ะ

ทำงานเรซิ่น ระวังละอองฝนหรือความชื้นจะทำให้งานไม่แห้ง หรือ เป็นฝ้าขาวนะคะ

ทางแก้ไข ใช้ไฟอบ เข้าห้องอบ ออกห่างละอองฝน ☂️☂️

อุณหภูมิที่ลดลง ( อากาศเย็นขึ้น ) มีผลต่อการแห้ง ของชิ้นงานเรซิ่น สามารถเพิ่มส่วนผสมโคบอล ตัวเร่งได้บ้าง ประมาณ+0.5% ถ้าเพิ่มมากไป งานเรซิ่นจะร้อน แตกร้าวได้

#เรซิ่นกลัวน้ำที่สุด .ใยแก้วก็เช่นกัน  ทุกๆอย่างที่จะนำมาผสานกับเรซิ่น ห้ามเปียกน้ำ ไม่ว่าจะเป็นสารเสริมแรง ผงทัลคัม ผงเบา ผงคัลเซียม ใยผ้า ฯลฯ

1.ต้องมีต้นแบบ

2.นำต้นแบบไปทำแม่พิมพ์ ( โมลด์ โมลด์ไฟเบอร์กล๊าส )

3.เมื่อได้โมลด์มา แล้วมาทำชิ้นงาน

มีหลายวัสดุให้เลือกใช้ ตามความถนัดค่ะ อาทิเช่น .โฟมขาว พียูโฟม อีพ็อกซี่ปั้น ดินน้ำมันสิงโต

อ่านรายละเอียดและดูภาพประกอบได้ที่  click

เพราะเป็นเคมีคนละเบสค่ะ  ถ้ายังเป็นของเหลวอยู่แล้วโดนกัน จะไม่แห้ง ( ไม่มีวิธีแก้ไข  เททิ้งอย่างเดียว )

อย่างเช่น เรซิ่น ก็จะโดนน้ำไม่ได้

ถ้าอยากจะใช้ร่วมกันได้ มีกรณีเดียวคือ ต้องปล่อยให้ชั้นงานอีพ็อกซี่เรซิ่นแห้งก่อน แล้วค่อย ต่องานด้วยโพลีเอสเตอร์เรซิ่น

เรซิ่นใส มี2ชนิด ทั้งอีพ็อกซี่เรซิ่น และ โพลีเอสเตอร์เรซิ่น  โดยที่ชิ้นงานจะมีความใสเหมือนกัน  ต่างกันตรงวิธีการทำงาน ลองอ่านคุณสมบัติแล้วตกผลึกกับงานตัวเอง แล้วโทรมาปรึกษาได้ค่ะ

ได้ค่ะ แต่ต้องเตรียมพื้นผิว ให้สะอาด ล้างคราบมัน และขัดกระดาษทรายเปิดหน้า ให้ผิวสัมผัสพร้อมรับผสานเรซิ่นให้ดีนะคะ

หรือว่าจากชิ้นงานต้นแบบโฟมขาวเอามาทาเคลือบแล้วถอดแบบเป็นไฟเบอร์ก่อน แต่ทีนี้ผมสงสัยว่างานมีความระเอียดสักนิดนึงแปะแล้วทาไฟเบอร์มันจะเก็บรายระเอียดได้หมดไหมครับ

ตอบ 1. ซิลิโคนเทลงโฟมขาวได้ตรงเลยค่ะ น้ำยางซิลิโคนไม่กัดโฟมขาวค่ะ  แต่ต้องทาวาสลีนกันติดก่อนนะคะ

ตอบ 2. เรซิ่นเป็นของเหลว มันเข้าเก็บรายละเอียดงานได้ดีอยู่แล้วค่ะ อยู่ที่ต้นแบบ อยู่ที่แม่พิมพ์เราว่าเก็บรายละเอียดครบหรือไม่ค่ะ

สเปรย์กาว 3 M ใช้พ่นแค่ล็อคลายผ้าไม่ให้ผ้าลายแตกค่ะ ไม่พ่นเพื่อให้มันเกาะงานนะคะ ห้ามใช้กาวเพื่อยึดงานแบบนั้น

ผสมสีดำทึบ ตามสีผ้า ลงที่ชั้นเรซิ่นรองพื้นด้วยค่ะ เราไม่พ่นสี ไม่งั้นถ้าสีลอกร่อน งานก็ออกมาทั้งชิ้น

อาซิโทน ระเหยไว เวลาเปิดใช้แล้วต้องปิดให้สนิท
ถ้าเลอะมือ ใช้ทิชชู ชุบอาซิโทนแล้วเช็ดมือ
ถ้าเลอะแปรงหรือลูกกลิ้ง ใช้ทิชชูหรือกระดาษหนังสือพิมพ์บีบเรซิ่นที่ติดแปรง ติดลูกกลิ้ง แล้วเทอาซิโทนไว้ 2 ขวด ขวดที่ 1 จุ่มล้าง บี้ๆ ขยี้ๆแรงๆ ให้เรซิ่นออกให้หมด แล้วค่อยมาล้างต่อที่ขวดอาซิโทนที่ 2 แล้วนำมาผึ่งลมให้แห้ง

ถ้าใช้ใยแก้ว เบอร์ 450 ใช้ 3 ชั้น ขึ้นไปค่ะ จะได้ความหนา 3 มิล.โดยประมาณ

แล้วแต่ทักษะที่เราถนัดค่ะ กล่าวคือ

ถ้าถนัด ตัด ขัดแต่ง ก็ใช้โฟม จะเป็นโฟมขาว หรือ โฟมเหลือง(พียูโฟม) ค่อยมาเลือกอีกที

ถ้าถนัดพอกปั้น แต่ง ก็ใช้ดินน้ำมันมังกร หรือ ขี้ผึ้งหรืออีพ็อกซี่ปั้น

อ่านคุณสมบัติวัสดุและคำแนะนำแต่ละชนิดตามลิ้งค์นี้ค่ะ  click

ต้องการให้มันติดกันหรือไม่คะ

ถ้าต้องการให้ติดกัน เททับกันได้เลยค่ะ แต่ห้ามเลอะน้ำ หรือน้ำมัน… มิฉะนั้น ยางจะไม่แห้งค่ะ ( กรณีที่เทยางเป็นโมลด์ไว้ แต่ความหนายังไม่ได้ตามต้องการ เราสามารถเทยางตัวเดิมทับได้ค่ะ )

ถ้าไม่ต้องการให้ติดกัน เช่นกรณีทำโมลด์ประกบ ด้านหน้า-หลัง คือไม่ต้องการให้มันติดกัน เราต้องทาด้วยวาสลีนค่ะ สรุปว่า ส่วนไหนที่ไม่ต้องการให้ยางติดกันให้ทาวาสลีน

ใช้แค่ A B ได้เลยค่ะ A เป็นเรซิ่นหลัก B เป็นฮารด์เรซิ่น อัตราส่วนมีแจ้งไว้ที่บรรจุภัณฑ์ค่ะ

เจลไทม์ ระยะเวลาทำงาน 30นาที. แห้งสนิทที่24ชม.ค่ะ

อัตราส่วน 1:1 โดยการชั่งน้ำหนัก คือ A B อย่างละน้ำหนักเท่าๆกัน เช่น A 100กรัม B100กรัม โดยการชั่งน้ำหนักเท่านั้น เพราะทั้ง A และ B นั้น ความเข้มข้นไม่เท่ากัน การชั่งน้ำหนักจะเป็นการกำหนดสัดส่วนได้ชัดเจนกว่าการตวงค่ะ… ขอบคุณคำถามดีๆนะคะ ^^

ใช้เรซิ่นไฟเบอร์ผสมโคบอล ผสมตัวเร่งทา วางใยแก้ว ทำซ้ำแบบนี้ 3-5 ชั้น ได้งานหนา 3-5 มิล ชั้นสุดท้าย เราจะเรด้วยเจลโค้ทเพื่อให้ได้งานที่ผิวเนียนเรียบก็ได้นะคะ การผสมงานเจลโค้ทเหมือนกับการผสมเรซิ่นค่ะ

1.ทำตย.สัตว์ให้แห้ง

2.ต้องมีแม่พิมพ์ที่ทำจากยางซิลิโคน เพื่อทนความร้อนและยืดหยุ่นถอดงานง่าย

3.เรซิ่นใส เลือกว่ามีงบหรือทนกลิ่นได้ไหม  มีเรซิ่นใส2ชนิด ลองพิจารณาคุณสมบัติในลิ้งค์นี้นะคะ  click

ขายเป็นขวดค่ะ   ประเภทสีเป็นสีที่ตั้งต้นจากเบสเรซิ่นโดยเฉพาะค่ะ  สำหรับใช้ผสมเรซิ่นเฉพาะ จะละลาย แตกตัวง่าย และไม่ก่อให้เรซิ่นเกิดปัญหาไม่แห้งค่ะ

มีค่ะ น้ำยางซิลิโคนสำหรับทำแม่พิมพ์  เพื่อใช้หล่อเรซิ่น มีหลายชนิด ต่างกันตรงการเก็บรายละเอียดของงาน และจำนวนครั้งในการถอดแบบ…  ดูตามลิ้งค์นี่นะคะ  click

ใช้ใยแก้ว ใยไฟเบอร์กล๊าสธรรมดาก็พอค่ะ  ถ้าอยากให้เรียบก็ใช้ใยผ้า ใยสานได้ค่ะ ไม่ต้องใช้ถึงคาร์บอนไฟเบอร์ค่ะ เพราะเป็นการซ่อมงานหลังคาธรรมดา  ชิ้นงานเดิมเป็นเหล็ก ข้อมูลใยผ้าตามลิ้งค์นี้ค่ะ click

เมื่อเรซิ่น ผสมกับตัวเร่งแล้ว มีเวลาทำงาน 5-10 นาทีค่ะ  ทำทันเท่าไร ผสมเท่านั้น ปฏิกิริยาเกิดตั้งแต่วินาทีแรกที่ใส่ตัวเร่งค่ะ

เรซิ่นถ้ายังไม่ผสมโคบอล เก็บได้นานกว่าที่ให้ร้านผสมโคบอลค่ะ  ระยะเวลาขึ้นอยู่กับการเก็บรักษา ต้องระวังไม่ให้โดนแดด ไม่ควรเก็บในที่อากาศร้อน ค่ะ

ขัดกระดาษทราย เปิดหน้าผิวเป็นเรื่องที่ต้องทำในการจะให้ผิวสัมผัสมันยึดเกาะได้ดีค่ะ เลือกเบอร์กระดาษทรายขัดไล่ตามบทความนี้ได้เลยค่ะ  click

เราสามารถผสมสีลงไปในเรซิ่นไฟเบอร์ ได้เลยนะคะ  ด้วยสีเบสเรซิ่นโดยเฉพาะตามนี้ค่ะ  click  การผสมสีลงเรซิ่นเลย ทำให้การทำสีสวยงามขึ้นชัดขึ้น สีขึ้นตามที่เราต้องการง่ายค่ะ

เรซิ่นมีหลายเกรดมาก  ควรเลือกใช้ให้ถูกกับงาน จะได้คุณสมบัติงานตามที่ต้องการครับ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์  click

เรซิ่นหล่อทึบ กับ เรซิ่นไฟเบอร์กล๊าส ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้ด้วยการ  ยกตัวอย่างงานหล่อตัน เรซิ่นที่ใช้จำไม่แตกร้าวง่าย แต่ถ้าเอาเรซิ่นไฟเบอร์ใช้หล่อ มันจะร้อนและแตกร้าวได้ง่าย

โคบอล คือ ตัวทำให้เรซิ่นกับตัวเร่ง ทำปฏิกิริยากัน ถ้าไม่มีโคบอล เรซิ่นจะไม่แห้งครับ  //  ผงเบา ผงทัลคัม เป็นสารเสริมแรง ไว้ใช้ผสมกับเรซิ่น เพื่อคุณสมบัติที่แตกต่างตามต้องการ   ผงพวกนี้ มันทึบแสง บางงานที่ไม่ต้องการความโปร่งแสง ก็ควรใส่ผงพวกนี้ลงไปด้วยครับ

มีสีสำหรับผสมเรซิ่นโดยเฉพาะครับ ตามลิ้งค์ click  มีให้เลือกสีทึบแสง สีโปร่งแสงครับ

ปั้นได้จากอีพ็อกซี่ปั้น ดินเหนียว ดินน้ำมันมังกร ตามที่เราถนัดเลย เพราะแต่ละวัสดุมีเวลาแห้ง มีการวอรม์ดินแตกต่างกัน เลือกใช้ตามชอบ และศึกษาคุณสมบัติให้เข้าใจก่อนเลือกใช้ แนะนำว่า ควรมีการวางแผนการทำงานล่วงหน้า ว่าปั้นเสร็จแล้วเราจะเอาไปทำอะไร ทำโมลด์เป็นโมลด์แบบประกบ หรือ ถลก… ฯลฯ….   ติดต่อทางเพจนี้ขอความรู้เค้าเลยครับ 

คลิ๊กเลย

สีสเปรย์ครับ… สเปรย์กระป๋อง หรือ แอร์บรัช ตามถนัดเลยครับ หรือจะเพ้นท์มือก็ตามฝีมือที่มีครับ….  ^^

เรซิ่นมีหลายชนิด แต่อย่างไร ก็ควรมีเครื่องชั่งไว้กำหนดอัตราส่วนครับ ไม่งันงานอาจงอก เรซิ่นไม่แห้ง หรือเรซิ่นแตกร้าวได้…

ได้ค่ะ  อาซิโทนใช้ล้างมือที่เลอะเรซิ่น เลอะน้ำยางซิลิโคนได้ดีค่ะ ทั้งสะอาดและปลอดภัย เย็นไม่แสบผิวค่ะ ข้อมูลอาซิโทนเพิ่มเติมทางลิ้งค์นี้ค่ะ   click

หุ้ม คือการเอาผ้าไปหุ้มบนเหล็ก หรือ ชิ้นส่วนพลาสติกของรถ  แล้วเร เรซิ่นทับ

เพียว คือการสร้างชิ้นงานขึ้นมาเป็นคาร์บอนไฟเบอร์  ถ้าเป็นระบบเพียวด้วยแวคคัมอินฟิวชั่น น้ำยาเรซิ่นจะเดินผ่านทุกอณูของผ้าคาร์บอน ทำให้ได้ความแข็งแรง น้ำหนักเบา แต่แข็งแรงมากๆค่ะ

อ่านเพิ่มเติม คลิก

เรซิ่นผสมปูนปลาสเตอร์ได้ค่ะ

เรซิ่น100กรัม เร่ง20+- ได้ค่ะ   ลองดูได้เลยนะคะ  เพราะบางครั้งอากาศก็มีผลต่อการเร่งให้เกิดปฏิกิริยาค่ะ

ออกมา สว่างไม่เท่ากันอยู่แล้วนะคะ  อยู่ที่สีที่รองพื้น…    แต่การรองพื้นงานหุ้มคาร์บอน เราใช้สีผสมเรซิ่นผสมในเจลโค้ทนะคะ เราไม่ใช้สีสเปรย์พ่นค่ะเพราะอาจร่อนได้ที่ชั้นรองพื้น…

– แม่พิมพ์สำหรับหล่อเรซิ่น ต้องทำจากน้ำยาซิลิโคน ตามลิ้งค์นี้ค่ะ   click

– เมื่อได้แม่พิมพ์แล้ว  ค่อยหล่องานด้วยเรซิ่นชุดนี้ค่ะ  ( เพิ่มผงเรืองแสงต่างหาก ตามชอบใจนะคะ ) ตามลิ้งค์นี้ค่ะ  click

ผสมตัวเร่งเยอะเกิน ทำให้แห้งเร็ว ทำงานไม่ทัน  ร้อน แตกร้าวได้ง่าย ชิ้นงานไม่แข็งแรง  ผิวงานเปราะบาง กร่อนง่ายค่ะ

ทำไม่ได้ค่ะ  เพราะเรซิ่นตอนเกิดปฏิกิริยาจะมีความร้อน  ความร้อนนี้จะทำให้ดอกไม้สดเราเหี่ยวเฉา เปลี่ยนสี เปลี่ยนรูป และนานๆไป จะขึ้นราจากด้านใน เสียหาย ไม่สวยงามค่ะ

ในส่วนเคลือบโฟมนั้น… มีเรซิ่นเคลือบโฟมขาว กก.180บาท ให้ใช้ค่ะ  เป็นโพลีเอสเตอร์  ราคาถูกกว่าอีพ็อกซี่ค่ะ

ลองดูวิธีการ และคุณสมบัติเทพๆ ในคลิปนี้นะคะว่ามันไม่กัดโฟมเลยค่ะ  click

 

– ซึมบ้างค่ะ   เวลาเซทตัว 25-30นาที ก็เริ่มเจล   ( เรซิ่นมันหนืดๆ มันไม่เหลวเหมือนน้ำ  การซึมก็ไม่มากเท่าไรค่ะ  )  แนะนำให้ลอง… สนุกน๊าา

อีพ็อกซี่ตัวนี้ มันเซทตัวเร็ว…  ถ้าเป็นตัวที่เซทตัวช้าก็จะได้งานต่างออกไปค่ะ

click

โมโนสไตรีนค่ะ เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเรซิ่น เรานิยมใช้ทำให้เรซิ่นเหลวมากขึ้น จะได้ทางานได้ง่ายค่ะ

โฟมขาว ต้องทำให้ไม่กลัวเรซิ่นกัดก่อนค่ะ  แล้วค่อยทำโมลด์… งั้นพี่ส่ง2คลิปนะคะ ลองดูและทำความเข้าใจ ถ้ามีคำถามใดๆ ฝากคำถามไว้ได้ค่ะ

1.คลิปเคลือบโฟมขาว  https://youtu.be/_MqTWq9MxmY
2.คลิปทำโมลด์+ชิ้นงานแฟริ่ง https://youtu.be/jOB1X0PhYY8

1.ลืมใส่ตัวทำให้แข็งของยางซิลิโคน

– ใส่ตัวทำให้แข็ง ลงไป หากทายางซิลิโคนไปบนต้นแบบแล้ว ให้ขูดหรือตักยางซิลิโคนออกมาผสมตัวทำให้แข็งของยางซิลิโคนลงไปให้มากกว่าปกติเล็กน้อย แล้วทาลงไปใหม่โดยขยี้แปรงผสมยางซิลิโคนใหม่ กับยางซิลิโคนที่เหลือติดผิวให้เข้ากัน

2.ใส่ตัวทำให้แข็งคนละชนิด

– สารเคมีที่ใช้ในงานเครื่องประดับพลาสติก มีลักษณะเป็นของเหลวใสเหมือนกับตัวทำให้แข็งของยางซิลิโคนหลายชนิด เช่น ตัวทำให้แข็งของโพลิเอสเตอร์เรซิ่น อะซิโทน โมโนสไตรีน คือ ใสเหมือนกัน ดังนั้นขวดสารเคมีชนิดต่างๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันควรติดฉลากเขียนชื่อให้ หากผสมสารเคมีอื่นผิดลงไป และได้ทายางซิลิโคนที่ผสมผิดนี้ไปที่ผิวต้นแบบแล้วต้องล้าง ยางซิลิโคนเก่าออกให้หมด ด้วยอาซิโทน แล้วจึงผสมยางซิลิโคนถ้วยใหม่กับตัวทําให้แข็งของยางซิลิโคนในอัตรา ส่วนที่ถูกต้องแล้วเทใหม่

1.ใส่ตัวทําให้แข็งของยางซิลิโคนน้อย

– ก่อนใช้ยางซิลิโคนควรศึกษาและทราบข้อมูลการใช้ของยางซิลิโคน เกี่ยวกับอัตราส่วนของตัวทําให้แข็งฯ ที่จะผสมลงไป และควรทดลองผสมเพื่อหาข้อมูลก่อนนําไปใช้จริง

  โดยปกติอัตราส่วนของตัวทําให้แข็งฯ ที่ผสมลงไปอยู่ระหว่าง 2-10% ซึ่งแตกต่างกัน แล้วแต่ชนิดของยางซิลิโคน

   อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดจะหาได้จากการทดลองแล้วจับเวลาของการหยุดไหลตัว ด้วย ตนเอง เวลาที่เหมาะสมกับการทํางานควรอยู่ระหว่าง 5-10 นาที

   วิธีเร่งให้ยางซิลิโคนแข็งตัวเร็วขึ้น มีวิธีแก้ไขดังนี้ 

   * หากยางซิลิโคนยังไหลย้อยอยู่ให้ตักออกมาและผสมตัวทําให้แข็งของยางซิลิโคนเพิ่มขึ้นอีกแต่ไม่เกินกําหนด

2.ยางซิลิโคนเสื่อมคุณภาพ

– ยางซิลิโคนควรเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิต่ำ ไม่ควรเปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จะทําให้ยางซิลิโคนเสื่อมคุณภาพ 

กวนผสมยางซิลิโคนกับตัวทําให้แข็งไม่ทั่ว

– เนื่องด้วยยางซิลิโคนมีความข้นมาก ดังนั้นการกวนผสมกับตัวทําให้แข็ง  จึงควรกวนตัวทำให้แข็ง เข้ากันดีตลอดประณีตเป็นพิเศษ หรือใส่สีผสมเรซิ่นไปเล็กน้อยในขั้นตอนการใส่ตัวเร่งแข็ง ไม้กวนควรแข็งแรง ขณะกวนควรปาดยางซิลิโคนบริเวณขอบ ภาชนะที่ผสมบ่อยๆ

หากทายางซิลิโคนไปที่ต้นแบบแล้ว ตรวจเช็คผิวยางซิลิโคนปรากฏว่าแข็งตัวเป็นบางจุด

ควรต้องปล่อยทิ้งให้แข็งตัวต่อไป หรือ ปาดยางซิลิโคนทิ้ง ล้างต้นแบบให้สะอาดด้วยอาซิโทน

ต้นแบบแห้งหยาบ

– ทาวาสลีนบนต้นแบบก่อนใช้งาน

ยางซิลิโคนที่ใช้มีคุณภาพต่ำ

– ไม่มีวิธีแก้ไข แต่ในครั้งต่อไปควรเลือกใช้ยางซิลิโคนที่มีคุณภาพดี

ใส่ตัวทําให้แข็ง ๆ มากเกินไป

– ลดปริมาณตัวทําให้แข็ง ในครั้งต่อไป

ยางซิลิโคนบางเกินไป

– แม่แบบยางซิลิโคนสําหรับหล่อชิ้นงานลักษณะแผ่นหรือรูปนูนที่มีขนาดใหญ่มีความกว้างมาก ยางซิลิโคนสําหรับหล่อต้องมีความหนาเพิ่มขึ้นและมีปีกช่วยเสริม หรือเสริมความแข็งแรงด้วยผ้าก๊อต 

ยางซิลิโคนร้อนขยายตัว เพราะการใช้งานหล่อหลาย ๆ ครั้งติดกัน

– ต้องรอหรือทําให้แม่แบบยางซิลิโคนเย็นตัวเสียก่อนโดยการจุ่มน้ำหรือใช้ลมเป่า ส่วนที่นูนจะหดกลับเหมือนเดิม หากทำตามขั้นตอนแล้ว  ไม่หาย ต้องทำแม่แบบใหม่

ยางซิลิโคนยังไม่แข็งตัวสนิท ผิวยังเหนียวเหนอะ แล้วรีบทําแม่แบบนอกไฟเบอร์กลาส ทับลงไปหรือยางซิลิโคนเสื่อมคุณภาพ
– ต้องทิ้งให้ยางซิลิโคนแข็งตัวสนิทเสียก่อน โดยใช้นิ้วแตะดูไม่เหนียวเหนอะ จึงลงมือทําแม่แบบประคองไฟเบอร์กล๊าสได้ หากแม่แบบประคองไฟเบอร์กลาส ติดกับแม่แบบยางซิลิโคนแล้ว  ต้องใช้มีดค่อย ๆ แซะให้แยกออกจากกัน ต้องระวังอย่าให้ซิลิโคนขาด แล้วทำแม่แบบประคองไฟเบอร์กล๊าสใหม่

1.ลืมใส่ตัวโคบอล และหรือตัวทําให้แข็ง (ของโพลิเอสเตอร์เรซิน)

– การเลือกใช้โพลิเอสเตอร์เรซินชนิดใดควรทราบข้อมูลเบื้องต้นของโพลิเอสเตอร์เรซินชนิดนั้น ๆเสียก่อน เช่น เป็นโพลิเอสเตอร์เรซินชนิดที่ผสมโคบอล หรือยังหากเป็นชนิดที่ผสมตัวโคบอล ไว้แล้วเมื่อใช้งานก็ไม่ต้องใส่โคบอลลงไปอีก หากเป็นชนิดที่ยังไม่ได้โคบอลตัวโคบอล ต้องผสมโคบอล ลงไปก่อน 0.1-0.2%  แล้วกวนให้เข้ากันก่อนผสมตัวทําให้แข็งลงไป หากเทโพลิเอสเตอร์เรซินลงใน แม่แบบแล้วให้เทออกแล้วเติมตัวโคบอล (หากเป็นโพลิเอสเตอร์เรซินชนิดที่ไม่ได้ผสมโคบอลไว้ และตัวทําให้แข็งลงไป แล้วเทกลับในแม่แบบ

2.ใส่ตัวทําให้แข็งผิด(สารเคมีผิดชนิด)
– สารเคมีที่ใช้ในงานเครื่องประดับพลาสติกที่มีลักษณะเหมือนกับตัวทําให้แข็งโพลิเอสเตอร์เรซิน มีหลายชนิดเช่นตัวทําให้แข็งยางซิลิโคน อะซีโทน โมโนสไตรีน ดังนั้นก่อนใช้ควรตรวจเช็คให้แน่นอนเสียก่อน หรือควรเลือกใส่ในภาชนะแตกต่าง สีกัน หรือปิดฉลากเขียนชื่อสารเคมีแต่ละชนิดให้แน่ชัดเพื่อป้องกันการผิดพลาดหากใส่สารเคมีผิดชนิด ให้เทโพลิเอสเตอร์เรซินออกจากแม่แบบแล้ว ล้างแม่แบบด้วยอะซิโทนให้สะอาดแล้วทำใหม่

1.ใส่ตัวทําให้แข็งน้อย

– ควรทดสอบอัตราส่วนการใช้ตัวทําให้แข็งที่เหมาะสม (ตัวช่วยเร่งฯ ควรใช้ตามกําหนด) แข็งตัวช้า หากโพลิเอสเตอร์เรซินเทลงในแม่แบบแล้วยังเหลวไม่แข็งตัวภายใน 30 นาที ให้เทออกผสมตัวทําให้แข็งลงไป หากโพลิเอสเตอร์เรซินเริ่มแข็งตัวแล้วต้องปล่อย ทิ้งให้แข็งตัวต่อไปหรือใช้ความร้อนช่วยเร่งก็ได้

2.อากาศเย็นหรือมีความชื้น

– ในสภาวะที่มีอากาศเย็นกว่าปกติ ควรต้องเพิ่มปริมาณตัวทําให้แข็ง หรือให้ความร้อนกับชิ้นงาน หากมีความชื้นควรป้องกันโดยปฏิบัติงานในที่มิดชิด ป้องกันความชื้นได้วิธีแก้ไขเหมือนกับข้างต้น

1.ผสมตัวทําให้แข็ง (และหรือตัวเร่ง) ไม่เข้ากันกับเนื้อ กว่าปกตินิดหนึ่ง โพลิเอสเตอร์เรซิน

– การผสมควรกวนให้เข้ากันโดยตลอด หากผสมเทลงในแม่แบบแล้ว ควรทิ้งให้นานกว่าปกตินิดหนึ่ง โพลิเอสเตอร์เรซินส่วนที่ยังไม่แข็งตัวจะแข็งตัวเอง เพราะความร้อนที่เกิดจากการแข็งตัวบริเวณส่วนอื่นจะช่วยเร่งให้แข็งตัวเร็วขึ้น

2.ส่วนผสมของโพลิเอสเตอร์เรซินแต่ละถ้วย (แต่ละสี) มีอัตราการแข็งตัวไม่เท่ากัน

– ในงานหล่อผลิตภัณฑ์บางชนิดอาจจะต้องใช้โพลิเอสเตอร์เรซินหลายสีเทรวมกันเพื่อให้เกิดลวดลาย ด้วยปริมาณของโพลิเอสเตอร์เรซินที่ผิดกัน สีที่ใช้คนละสีกันดังนั้นอัตราการแข็งตัวของโพลิเอสเตอร์เรซินสีต่าง ๆ จึงไม่พร้อมกัน ในบางกรณี 

  อัตราส่วนผสมของตัวทําให้แข็งในโพลิเอสเตอร์เรซินสีแต่ละสีควรเปลี่ยนแปลง ให้เหมาะสมเพื่อจะทําให้เกิดการแข็งตัวพร้อม ๆ กัน โดยยึดหลักดังนี้

  • โพลิเอสเตอร์เรซินสีที่มีปริมาณน้อยควรใส่ตัวทําให้แข็งให้มากกว่าโพลิเอสเตอร์เรซินสีที่ปริมาณมาก เพราะโพลิเอสเตอร์เรซินที่มีปริมาณมากจะแข็งตัวเร็ว กว่าโพลิเอสเตอร์เรซินที่มีปริมาณน้อย
  • ต้องคํานึงถึงชนิดของสีที่ผสมประกอบเข้าไปด้วยควรใช้สีที่เป็นเฉพาะของเรซินเท่านั้น
  • โพลิเอสเตอร์เรซินที่ผสมผงทัลคัมหรือผงหินจะแข็งตัวเร็วกว่าโพลิเอสเตอร์เรซินธรรมดา

ในกรณีที่เกิดขึ้นนี้แก้ไขได้โดยวิธีที่กล่าวมาแล้ว แต่หากเทโพลิเอสเตอร์เรซินลง

ในแม่แบบไปแล้วต้องปล่อยทิ้งให้แข็งตัวเอง

ใส่ตัวทําให้แข็งมากเกินควร

– ควรใช้ตัวทําให้แข็งให้เหมาะสมกับปริมาณของโพลิเอสเตอร์เรซินที่จะใช้ทั้งนี้เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างโพลิเอสเตอร์เรซินกําลังจะแข็งตัวจะสะสมกัน จะเพิ่มมากขึ้นชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนโมลด์หน้าเปิดความร้อนสะสมจะเฉลี่ยกันออกไป และความร้อนที่เกิดขึ้นสามารถระบายได้เร็วกว่า เพราะมีผิวหน้ากว้างกว่าชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นก้อน            

   วิธีลดความร้อนที่เกิดขึ้นหลังจากโพลิเอสเตอร์เรซินเริ่มแข็งตัว ทําได้โดยใช้ลม เป่า จุ่มน้ำ หรือตั้งในที่มีความเย็น

  ชิ้นงานที่สามารถถอดออกจากแม่แบบได้ง่ายเช่น ชิ้นงานแผ่นแบน ชิ้นงานรูป นูนและชิ้นงานรูปลอยตัวชนิดเป็นก้อนกลมไม่มีส่วนละเอียดยื่นมาก ควรรีบถอด ออกจากแม่แบบทันทีเมื่อโพลิเอสเตอร์เรซินแข็งตัวแล้ว เพราะจะช่วยระบายความ ร้อนที่เกิดขึ้นจากภายใน ป้องกันเนื้อชิ้นงานแตกร้าว อีกทั้งจะยืดอายุการใช้งาน ของแม่แบบยางซิลิโคนและสามารถนําแม่แบบไปหล่อชิ้นงาน

ชิ้นต่อไปได้อีกชิ้นงานที่เนื้อแตกร้าวแล้วไม่มีวิธีแก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากต้องป้องกันไว้ก่อน

การแข็งตัวของเนื้อโพลิเอสเตอร์เรซินไม่เท่ากัน

-ในการหล่อชิ้นงานรูปลอยตัวชิ้นงานต้นที่เทโพลิเอสเตอร์เรซินลงในแม่แบบครั้งเดียวจนเต็มมักจะมีผิวลักษณะนี้เกิดขึ้นเสมอ ทั้งนี้เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นในเนื้อของ ชิ้นงาน จะเกิดจากภายในก่อนและเริ่มแข็งตัวเกิดการหดตัวขึ้นแล้วดึงเนื้อโพลิเอสเตอร์เรซินจากผิวนอกหดกลับเข้ามาแยกตัวจากแม่แบบยางซิลิโคนทั้ง ๆ ที่เนื้อ โพลิเอสเตอร์เรซินบริเวณผิวยังไม่แข็งตัวดียังเหลวเหนียวเหนอะอยู่ จึงทําให้เกิด ผิวหยาบขึ้นบางจุด วิธีแก้ไขมีดังนี้

  • การหล่อชิ้นงานตันไม่ควรเทโพลิเอสเตอร์เรซินครั้งเดียวเต็มแม่แบบ (ยกเว้นชิ้นงานรูปแผ่นแบนและรูปนูน) ควรทิ้งผิวหน้าชิ้นงานให้หนา 2-3 ม.ม. ให้โพลิเอสเตอร์เรซินแข็งตัวเสียก่อนจึงเทภายในให้เต็ม
  • หากเป็นชิ้นงานที่ต้องการเนื้อใสตลอด การหล่อกลวงที่ผิวหน้าก่อน หนา 2-3 ม.ม. หรือมากกว่านี้ แล้วเทเต็มจะทําให้เนื้อชิ้นงานไม่ใสดี ดูแล้วเหมือนมี เกราะใสอยู่ภายนอกอีกชั้นหนึ่ง จึงจําเป็นต้องหล่อโดยเทโพลิเอสเตอร์เรซินลงใน

แม่แบบครั้งเดียวตําหนิผิวหยาบนูนที่เกิดขึ้น สามารถใช้กระดาษทรายน้ำขัดออกให้เรียบแล้วจึงพ่นแล็กเก้อร์ใสทับผิว

       -หรืออีกวิธีหนึ่งที่ ขอแนะนำก็คือให้ผสมตัวเร่งแข็ง ในอัตราส่วนที่น้อยมากๆ แต่จะต้องตั้งชิ้นงานไว้ในที่ๆซึ่งแข็งแรง ไม่มีการสั่นไหวเด็ดขาดและนานหลายวัน กว่าจะแข็งตัว แต่จะแก้ปัญหาการหดตัวได้ดีครับ

เกิดจากร่องแนวรอยผ่า

– ชิ้นงานรูปลอยตัวที่ต้องแบ่งแม่แบบยางซิลิโคนย่อมเกิดเส้นนูนตามแนวรอยผ่าเสมอ เส้นนูนจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับความประณีตใน แบบยางซิลิโคน

การแบ่งแม่แบบยางซิลิโคน

ควรขัดเส้นนูนออกด้วยกระดาษทรายน้ำหรือเครื่องขัดอื่น ๆ ให้เรียบเสียก่อน แล้วจึงตกแต่งผิวให้สวยงามด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ขัดด้วยยาขัด พ่นหรือทาด้วย แล็กเก้อร์ใส พ่นหรือทาด้วยสี หรือวัสดุตกแต่งสีชนิดอื่น ๆ

  ในปัจจุบันโรงงานหล่อโพลิเอสเตอร์เรซิน โดยเฉพาะโรงงานหล่อพระหรือรูป เคารพต่าง ๆ จะหลีกเลี่ยงการใช้แม่แบบผ่า แต่จะใช้แม่แบบถลก โดยบางครั้งจะ

ต้องตัดแยกชิ้นส่วนออกนําไปแยกหล่อแล้วนํามาต่อติดกันภายหลัง

หล่อชิ้นงานไม่เต็มเพราะมีฟองอากาศ เพราะไม่เข้าใจวิธีการหล่อดีพอหรือยังหล่อไม่ชํานาญพอ

– การหล่อชิ้นงานบางชนิดจะมีปัญหาเรื่องฟองอากาศมาก วิธีแก้อาจทําได้คือ

  • หล่อกลิ้งชิ้นงานในส่วนที่คาดจะเกิดฟองอากาศให้เต็มเสียก่อนจึงค่อยเทหล่อเต็มภายหลัง
  • เอียงแม่แบบแล้วค่อย ๆ เทโพลิเอสเตอร์เรซินลงไป โดยผสมตัวทําให้ แข็งน้อย ๆ ประมาณ 0.3% ให้โพลิเอสเตอร์เรซินปรับระดับสูงขึ้นพร้อมทั้งไล่ฟอง อากาศออกด้วย
  • เทโพลิเอสเตอร์เรซินลงในแม่แบบในตู้สุญญากาศ ซึ่งวิธีนี้ทําได้รวดเร็ว และประหยัดเวลามาก
  • ใช้แปรงหรือพู่กันจุ่มโพลิเอสเตอร์เรซินแล้วขยี้ให้ทั่วบริเวณนั้น ๆ ก่อน เทโพลิเอสเตอร์เรซินให้เต็ม หากชิ้นงานที่หล่อออกมาแหว่งหรือเป็นรูฟองอากาศให้ผสมโพลิเอสเตอร์เรซินเทอุด ทับลงไป ทิ้งให้แห้งแข็งตัวแล้วจึงขัดตกแต่งต่อไป หมายเหตุ ในการหล่อชิ้นงานควรเก็บโพลิเอสเตอร์เรซินที่ผสมแล้ว (แต่ยังมิได้ใส่ ตัวทําให้แข็ง) ไว้บ้าง เพื่อการเทเติมส่วนที่แหว่งหรือเป็นรูในภายหลัง ส่วนที่เติมจะได้มีสีเหมือนเดิม

ยางซิลิโคนยังไม่แข็งตัวสนิทแล้วรีบนําไปหล่อโพลิเอสเตอร์เรซิน

– แม่แบบยางซิลิโคนที่จะนําไปหล่อชิ้นงาน ควรต้องทิ้งให้แข็งตัวสนิทเสียก่อน อย่างน้อย 24 ชม. หรือควรกวนยางซิลิโคนกับตัวทําให้แข็งฯ ให้เข้ากันดีก่อน เพื่อป้องกัน การไม่แข็งตัวในบางจุดชิ้นงานที่ยางซิลิโคนติดผิวสามารถนําไปขัดตกแต่งได้ตามวิธีการที่ได้อธิบายไว้แล้ว แต่แม่แบบยางซิลิโคนจะมีรอยตําหนิต้องทําใหม่ 

  -ทาวาสลีนบางๆบนแม่แบบยางซิลิโคนให้ทั่วก่อนใช้งาน

1.แม่แบบเป็นยางซิลิโคน

– แม่แบบยางซิลิโคนที่ใช้หล่อแม้ว่าจะทําจากต้นแบบที่มีผิวเรียบเป็นมัน แต่ชิ้นงานที่หล่อออก มาจะมีเพียงผิวเรียบเท่านั้น อาจจะมันในบางส่วน ไม่เหมือนกับแม่แบบไฟเบอร์กลาส ซึ่งโดยปกติจะใช้หล่อชิ้นงานขนาดใหญ่ผิวเรียบกว้าง เช่น แผ่นหินอ่อนเทียม อ่าง อาบน้ำหรืออ่างล้างหน้าหินอ่อนเทียม ฯลฯ ชิ้นงานที่หล่อออกมาจะมีผิวเรียบเป็นมันกว่า

วิธีแก้ไขให้ชิ้นงานมีผิวเป็นมัน คือ

      1.ขัดด้วยกระดาษทรายน้ำเบอร์ละเอียดแล้วจึงทาหรือพ่นด้วยแล็กเก้อร์ใส

      2. ขัดผิวให้เรียบพอก่อนนําไปขัดมันด้วยล้อผ้าขัดติดมอเตอร์
– ขัดผิว ด้วยกระดาษทรายน้ำหยาบเบอร์ เช่น 120-150 แล้วขัดเบอร์ละเอียด 300-500-1000-2000-2500 ตามลําดับ แล้วตรวจเช็คผิวดู หากผิวเรียบดีจะไม่มีร่องลึกและ รอยเส้นขนแมว จากนั้นจึงนําไปขัดผิวมันด้วยล้อผ้าขัด ติดมอเตอร์พร้อมด้วยดิน ขัดสีขาว ขั้นสุดท้ายขัดหรือเช็ดด้วยผ้าสะอาดเนื้อนิ่มอีกครั้งหนึ่งเพื่อขจัดคราบดิน ขัดให้หมดไป

     3.เปลี่ยนชนิดยางซิลิโคน เป็น ยางซิลิโคนใส รุ่นนางฟ้า(click) จะแก้ปัญหานี้ได้ โดยผิวของแม่พิมพ์ จะเหมือนผิวของต้นแบบ มากที่สุด

1. แม่แบบสะเทือนขณะโพลิเอสเตอร์เรซินเริ่มแข็งตัว

– ขณะหล่อแก้วเทียม แม่แบบควรตั้งให้ได้ระดับ โต๊ะวางต้องแข็งแรงไม่สั่นสะเทือน เพราะเมื่อโพลิเอสเตอร์เรซินเริ่มจะแข็งตัวเป็นวุ้นแม่แบบสั่นสะเทือนจะทําให้เนื้อชิ้นงานขุ่นไม่ใสชิ้นงานที่หล่อออกมาแล้วเนื้อขุ่นไม่มีวิธีแก้ไข

2. ลมเป่าโพลิเอสเตอร์เรซินให้ไหวตัวขณะที่โพลิเอสเตอร์เรซินกําลังจะแข็งตัว

– บริเวณหล่อชิ้นงานไม่ควรมีลมพัดหรือเป่าโพลิเอสเตอร์เรซิน จะไหวตัวทําให้เนื้อขุ่น

3. ถ้วยผสมและไม้กวนโพลิเอสเตอร์เรซินสกปรก

–  หากถ้วยผสมและไม้กวนสกปรกจะทําให้เนื้อโพลิเอสเตอร์เรซินไม่ใส ควรเลือกใช้ถ้วยที่สะอาดเท่านั้น
4. ขั้นตอนการขัดผิวไม่ถูกต้อง

– ใช้กระดาษทรายขัดไล่เบอร์จากเบอร์หยาบไปเบอร์ละเอียด

แม่แบบยางซิลิโคนใช้หล่อชิ้นงานหลายครั้งติดต่อกัน ยางซิลิโคนจะร้อน โพลิเอสเทอร์เรซินที่ติดกับยางซิลิโคนจะแข็งตัวก่อน

– ปล่อยทิ้งไว้โพลิเอสเตอร์เรซินภายในจะแข็งตัวเอง

ขณะกวนอีพอกซี่เรซินกับตัวทําให้แข็งไม่ควรกวนผสมแบบตีไข่เพราะจะเกิดฟองอากาศมาก

– ไม่สามารถแก้ไขได้การกวนที่ดีไม่ควรยกไม้กวน หากต้องการกําจัดฟองอากาศออกให้หมด ต้องนําส่วนผสมใส่ในหม้อหรือตู้ดูดอากาศหรือตู้สุญญากาศ 

ชิ้นถูกกระทบกระเทือนขณะอีพอกซี่เรซินกําลังจะแข็งตัว

– ปล่อยทิ้งชิ้นงานให้แข็งตัวสนิท จึงขัดผิวด้วยกระดาษทรายน้ำโดยไล่เบอร์ จากหยาบไปเบอร์ละเอียด ตอนจบงานสามารถใช้ครีมขัดเงาลงขัดรอบสุดท้ายได้เลยเพื่อความเงางาม

ชิ้นงานมีขนาดใหญ่ ใช้เนื้ออีพอกซี่เรซินมาก และชิ้นงานมี ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่หรือมีผิวขรุขระ

– แก้ไขเหมือนข้อ ด้านบนชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่หรือมีผิวขรุขระ ควรเคลือบอีพอกซี่เรซิน 2 ชั้น ชั้นแรกควรเคลือบบาง ๆปล่อยให้แข็งตัวพอควรไม่ไหลมีผิวเหนียวเหนอะ จึงเคลือบอีพอกซี่เรซินชั้นที่สองทับลงไปจะทําให้เคลือบผิวชิ้นงานได้มีคุณภาพดีกว่าเคลือบครั้งเดียว(หรือจะปล่อยให้แข็งตัวก่อนแล้วจึงแก้ไขเหมือนข้อ ด้านบนก็ได้)

เรซิ่นอันตรายไหม 

เป็นคำถามที่พบบ่อยมาก เมื่อเวลาที่คนไหนจะต้องเข้ามาทำงานในวงการนี้  

 ก่อนอื่น เราต้อง แยก ออกก่อนว่า เรซิ่นที่นิยมใช้ในบ้านเรา มีอยู่ 2ชนิด หลักๆคือ 

1.โพลีเอสเตอร์เรซิ่น 

คือ เรซิ่นที่เวลาจะใช้งาน จะต้องมี องค์ประกอบหลัก 3ตัว 1.โพลีเอสเตอร์เรซิ่น 2.โคบอลท์ 3. ตัวเร่ง ไม่ครบ3 องค์ประกอบ จะไม่เซ็ต   

-ตัวนี้มีกลิ่นฉุน ถ้าสูดดมตรงๆ นานๆ ก็จะเป็นอันตรายต่อระบบหายใจได้ 

-ด้วยความที่โพลีเอสเตอร์ จะมีตัวโมโนเมอร์เป็นส่วนประกอบ เวลาโดนผิวหนังก็จะมีอาการ แสบคันได้ 

-อัตรส่วน ผสม ถ้าใส่ตัวเร่ง และโคบอลท์ ปริมาณมากๆ ถึงจะทำให้เรซิ่นแห้งไว แต่ก็เสี่ยงต่อความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างการเซ็ตตัว ถึงขั้นอาจจะทำให้ชิ้นงานแตกหักเสียหายได้

-โคบอลท์(cobolt) กับตัวเร่ง( Hardener) เวลาเก็บ จะต้องระวังให้มาก เพราะถ้า 2ตัวนี้โดนกันโดยตรง สามารถ ระเบิดลุกเป็นไฟได้

2.อีพ็อกซี่เรซิ่น 

คือเรซิ่นที่จะมีองค์ประกอบเพียง2ตัว A กับB เมื่อจะใช้งานเพียงแค่ผสมตามอัตราส่วนที่กำหนดก็จะเซ็ตตัวได้เลย

-เป็นเรซิ่นที่ไม่มีกลิ่น  สีค่อนข้างใส  เวลาใช้งาน ช่วงที่กำลังเซ็ตตัว ก็ให้ความร้อนสูงเช่นกัน รวมทั้งมีไอระเหย ออกมาด้วย ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมโดยตรง 

-การสัมผัส อีพอกซี่เรซิ่น โดยตรง อาจทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนังได้

  อันตรายทั้งหมดที่กล่าวมา เราสามารถ ป้องกันได้โดย การ

-ใส่ถุงมือยาง

-ใส่หน้ากาก กันกลิ่น

-ทำงานในพื้นที่ ที่มีการระบายอากาศ  ที่ดี  

-เรียนรู้อัตราส่วน การใช้งานที่เหมาะสม

 เพียงเท่านี้ เราก็ สามารถ สนุก เรียนรู้ สร้างสรรค์ผลงาน จากเรซิ่นได้อย่างปลอดภัย แล้วครับ

 

 

   เรซิ่น ทำอะไรได้ บ้าง 

     ด้วยความที่เรซิ่น มีคุณสมบัติเป็น พลาสติกเหลว เมื่อแข็งตัวแล้ว มีความแข็งมาก /น้อย ตามชนิดของเรซิ่น ก็เลยทำให้สามารถนำมาทำประโยชน์ได้มากมาย โดยจะของแบ่งเป็น 3กลุ่มใหญ่ๆดังนี้
  • กลุ่มงานหล่อ อาจจะหล่อใสหรือหล่อทึบก็ได้  เช่น ของเล่น งานArt toy  หล่อพระ  หล่อเครื่องประดับใสๆ  หรือทำเป็นชิ้นส่วนทดแทนงานพลาสติก หรือไม้ ก็ได้ เป็นต้น1ชุดปั๊มรอยเท้าเด็ก Alginate คืออะไร ทำไมถึงนิยม นำมาป๊ัมรอยเท้าเด็ก

     

    3 ขั้นตอน ทำดอกกุหลาบในปิรามิด ของขวัญแทนใจที่ไม่มีวันโรยรา

     

    3 ขั้นตอน ทำดอกกุหลาบในปิรามิด ของขวัญแทนใจที่ไม่มีวันโรยรา
  • กลุ่มงานเคลือบผิว เช่นงานรูปวิทยาศาสตร์ เคลือบผิวไม้ เคลือบพื้นผิวต่างๆ เรซิ่นก็สามารถปรับแต่งสูตรส่วนผสมให้เหมาะสมกับทุกพื้นผิว และสภาพการใช้งานที่ต้องการ  ได้เป็นอย่างดี011 2 1271954214 464443168784229 2184669842040385556 n  LINE ALBUM FRP lining 220212 0
  • กลุ่มงานคอมโพสิต  เช่นถ้านำเรซิ่นไปผสานกับเส้นใยไฟเบอร์กลาส เราก็จะได้ ชิ้นงานไฟเบอร์กลาส เช่นงาน กันชน/หลังคา รถยนต์ หรือ หลังคาแผ่นใสตามอาคาร บ้านพัก   และถ้า นำเรซิ่นไปผสานกับเส้นใยคาร์บอน เราก็จะได้ ชิ้นงานคาร์บอน  ที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรงมากรีวิวงานคาร์บอน9