fbpx

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

โทร :
, 02-379-4555
, 02-379-4575

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin] คืออะไร ทำไมถึงไม่มีกลิ่นฉุน

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin] คืออะไร?

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin] คือ สารเคมีที่มีคุณสมบัติให้ความแข็งและความงาม ไม่มีกลิ่นฉุน ผสมง่าย เกิดความร้อนน้อย หดตัวน้อย ใช้ระยะเวลา
ในการทำชิ้นงาน 2-6 ชั่วโมง หรือ แข็งแรงสมบูรณ์ที่ 24 ชั่วโมง สำหรับความแข็งแรงสูงสุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนผสม part A : part B

ไม่ต้องใช้ความร้อนในการทำให้อีพ็อกซี่เรซิ่นเซทตัว แข็งตัว ทำให้ใช้งานง่าย ลดขั้นตอนการทำงาน ประหยัดเวลาทำงานได้เยอะ
เมื่อเซทตัวแล้ว มีความแข็งแรง มีสีค่อนข้างใส ไม่แตกหักง่าย ไม่ละลายน้ำ

Thermosetting polymer
เลือกอ่านหัวข้อตามนี้ได้เลยครับ :))

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin] จัดอยู่ในกลุ่ม Thermosetting Polymer ความหมายคือ เมื่อผ่านกระบวนการผลิต ในครั้งแรกแล้วจะมีความแข็งแรงทนทานมาก ไม่คืนรูปและไม่สามารถนำมารีไซเคิลใหม่ได้ 

อีพ็อกซี่ เป็น Copolymer ที่หมายถึงโพลีเมอร์ที่ประกอบด้วยโมโนเมอร์ตั้งแต่2ชนิดขึ้นไป โดยปกติ Epoxy Resin ได้จากการทำปฎิกิริยาของ Bisphenol A กับ Epichlorohydrin Monomer และ สารเพิ่มความแข็ง ( Hardender ) ประเภท Polyamine 

ระยะเวลาการเซทตัว ขึ้นอยู่กับ ปริมาณการใช้งานในครั้งนั้นๆ เช่นการผสม part A + part B ปริมาณมาก จะทำให้เกิดปฎิกิริยาได้เร็ว และ มีความร้อนสะสมมากกว่า 

สามารถเร่งให้เซตตัวได้เร็วขึ้นด้วยความร้อน ยกตัวอย่าง เครื่องอบงานเรซิ่น ได้ถูกปรับอุณหภูมิอยู่ที่ 70 องศา ย่นระยะเวลา จาก 24ชม. เหลือ 4ชั่วโมงได้

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy resin] คืออะไร

ประโยชน์ของอีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin ] ใช้ทำงานอะไรได้บ้าง?

อีพ็อกซี่เรซิ่นเรามีประโยชน์ในการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบและหลายอุตสาหกรรม แต่หลัก ๆ มีดังนี้

1.การเคลือบผิว [ coating ]

ด้วยคุณสมบัติใส เงา เรียบ ผิววาววับ กันน้ำได้ดี มีความทนทาน และสามารถเคลือบได้บนวัสดุหลายประเภท ใช้เคลือบผิวอาคาร
พื้นอาคาร พื้นโรงงาน เคลือบกันสารเคมี ทั้งในอุตสาหกรรมอาหารที่น้ำมันและอาหารหกใส่ อาจทำให้พื้นลื่นได้ การเคลือบผิวด้วย
อีพ็อกซี่เรซิ่น จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสะอาดนี้ได้ง่าย ป้องกันเชื้อโรค เชื้อรา และ แบคทีเรีย ใช้เคลือบภายในถังบรรจุสารเคมี เคลือบเพื่อใช้เป็นแบบแม่พิมพ์หล่อชิ้นงาน ใช้ผสมในสีเพื่อเพิ่มการยึดเกาะ แข็งแรง ทนการขีดข่วนได้ดี เคลือบผิวแล้วชิ้นงาน
แข็งแรง รับแรงกระแทกได้ดี

2.การหล่อขึ้นรูป [ casting ]

ใช้หล่อเป็นฉนวนไฟฟ้าในการผลิตมอเตอร์ หม้อแปลง หล่อจิ๊ก (Jig)

3.ใช้เป็นกาวที่ใช้ติดสิ่งของ

ยึดไม้ เหล็ก ไฟเบอร์ แก้ว พลาสติก คอนกรีต ปูน เครื่องสุขภัณฑ์ ตัวเรือนเครื่องประดับ [ ลงสียาเย็น ]

สีผสมเรซิ่น

4.ผสมสีได้หลากหลาย

ด้วยความที่สามารถผสมสีเป็นเฉดต่าง ๆ ได้ ทำให้เป็นที่นิยมในช่างฝีมือและศิลปิน ที่ใช้ทักษะการให้สี และ การเซ็ตตัวในระยะเวลา
มาสร้างสรรค์ชิ้นงานที่สวยใส ด้วยความที่มีเนื้อเคมีทำให้ชิ้นงานที่สร้างสรรค์ มีมิติ แปลกตา และไม่ซ้ำใคร

5.ผสมสีเพื่อตีเส้นพื้นโรงงาน

แบ่งสัดส่วนพื้นที่ชัดเจน รับน้ำหนักรถโฟลค์ลิฟท์ ไม่แตก หรือกระเทาะง่าย

6.เหมาะกับงานภายในอาคาร

เพราะคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทก การขูดขีด เสียดสี ทนกรดและเบส ทนความร้อนได้ดี [ ไม่ได้ทนUV ข้อจำกัดเรื่องนี้ทำให้เหมาะกับงานภายในอาคาร ]
เพราะมีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทาน อีพ็อกซี่เรซิ่นที่ได้จะมีความแข็งแกร่ง มีความแข็งเหมือนเหล็ก เมื่อเซ็ตตัวแล้วคงรูปไม่หดตัวสามารถเจาะหรือตัด กลึงเกลียวได้

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy resin] คืออะไร

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin] มีกี่แบบ และมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?

เราแบ่งตามคุณสมบัติการทำงาน และความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชิ้นงาน

1.Resin Glass 011

เรซิ่นกลาส 011 เป็นอีพ็อกซี่เรซิ่นที่ทนความร้อนได้ดี ใช้งานง่ายด้วยอัตราส่วนผสม 1:1 โดยการชั่งน้ำหนัก มีความใส เนื้อมีความหนืด เหมาะกับงานที่ต้องการความหนา ชิ้นงานที่ได้มีมิติสวยงาม

เรซิ่นกลาส011 เรียกว่าเป็น Epoxy Resin เคลือบแข็งอเนกประสงค์ ก็ว่าได้เหตุผลดี ๆ คือ

ทนความร้อนได้ ตั้งแต่ 150-200 องศา ด้วยระยะเวลาเซตตัว 30นาที ( นับว่าเร็ว ) ทำให้สามารถเลือกสีผสม ลากเส้น วาดลวดลาย โดยเนื้ออีพ็อกซี่ผสมสีไม่ปนกัน ทำให้เกิดลวดลายดั่งเนรมิตที่ตั้งใจไว้

ผิวแกร่งรับแรงกระแทกได้ดี เหมาะกับงานขึ้นรูปใส ๆ งานเคลือบใส หรือผสมสีชนิดโปร่งแสงนำมาผสานไม้ ที่มีลวดลายเฉพาะ
สร้างชิ้นงานที่ทันสมัย

ด้วยความหนืดที่เหมาะสม สามารถเลือกอีพ็อกซี่เรซิ่นกล๊าส011 เพื่อทำงานพื้น3มิติได้ดี อีกทั้งคุณสมบัติที่ดีที่มีอัตราการหดตัว
น้อยมาก ทำให้ขอบงานสวยงาม ชิ้นงานกำหนดได้ดั่งใจ ไม่ต้องเผื่อการหดตัวนัก

มีแรงตึงผิวสูง ทำให้เวลาเคลือบผิวเรียบตึง ไม่เป็นหลุม ไม่เป็นร่อง

อีพ็อกซี่เรซิ่นมักมีวิธีใช้ที่แตกต่างกัน ตาม อัตราส่วนผสม และคุณสมบัติดังที่จะเอ่ยถึงในรายละเอียดการใช้งานต่อไปนี้

สามารถทำชิ้นงานได้หลากหลายประเภทมาก เช่น เคลือบไม้อัดเพ้นท์ลายง่าย ๆ , เรซิ่นผสานไม้ และหล่อโต๊ะเรซิ่นผสานไม้

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy resin] คืออะไร

2.เรซิ่นกลาส 021

เรซิ่นกลาส 021 มีคุณสมบัติ คล้ายกับ เรซิ่นกลาส 011 แต่จะมี ความยุ่งยากกว่า เนื่องจาก เรซิ่นกลาส021 จะมีอัตราส่วน 2:1 

อัตราส่วนผสม 2 : 1 นี้  ทั้งสี และ ความใส อาจลดคุณสมบัติลงไปเมื่อเทียบกับอัตราส่วนผสม 1 : 1 

เป็นเรซิ่นที่มีราคาย่อมเยา เหมาะกับงานทึบแสง ที่ไม่เน้นความสวยงาม
ความใส

3.อีพ็อกซี่เคลือบแข็ง

ใช้งานง่าย ด้วยอัตราส่วนผสม 1 : 1 โดยการชั่งน้ำหนัก ไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน สามารถทำงานในพื้นที่มิดชิดได้

อีพ็อกซี่เรซิ่นเคลือบแข็ง มีคุณสมบัติคล้ายกับอีพ็อกซี่เรซิ่น 011 แต่เหนือกว่าในด้านความแข็งแรงของผิว อีกทั้งยังมีความใสของเรซิ่น เหมาะสมกับชิ้นงานที่ต้องการความทนทานในการเสียดสี กระแทก หรือกดทับพื้นผิว

4.อีพ็อกซี่เคลือบนิ่ม

อีพ็อกซี่เรซิ่นเคลือบนิ่ม มีคุณสมบัติคล้ายกับอีพ็อกซี่เรซิ่นทั่วไป แต่เหนือกว่าในด้านความยืดหยุ่น เหมาะสมกับชิ้นงานที่ต้องการเคลือบให้ชิ้นงานมีความนูนเงา เข้าโค้ง และยืดงอได้ เมื่อนำมาเคลือบชิ้นงานที่ให้ตัวได้ เช่น พลาสติก สติ๊กเกอร์ ผ้า สามารถอ่อนตัว โค้งตัวตามวัสดุ โดยที่ผิวหน้าชิ้นงานไม่มีร่องรอยความเสียหาย จากการใช้งาน

คุณสมบัติเช่นนี้ อาจเหมาะกับ งานที่ต้องการหล่อเพื่อรับแรงกระแทกบ้าง อาจไม่เทียบเท่ายางหล่อ แต่ก็ได้ความสวยงาม ความสามารถผสมสี แต่งสี และ ขึ้นรูปได้มากกว่าวัสดุอื่นๆ

5.อีพ็อกซี่เคลือบโฟมขาว

อีพ็อกซี่เรซิ่นเคลือบโฟมขาว เหมาะกับการใช้งานกับโฟมขาวโดยเฉพาะ ไม่กัดโฟมขาว เหมือนพวกโซเว้นท์ต่าง ๆ ( อาซิโทน ทินเนอร์ แลคเกอร์ สีสเปรย์กระป๋อง ฯลฯ ) ชิ้นงานแข็งแรง และ ไม่ทำลายเนื้อโฟม

ปกติ โฟมขาว จะถูกกัดทำลายได้ง่าย แม้กระทั่งสีสเปรย์กระป๋อง เมื่อพ่นลงโฟมขาวก็ยังทำให้โฟมละลาย ผิวโฟมถูกกัดกร่อน

6.อีพ็อกซี่ อินฟิวชั่น ชนิด 60 นาที 

อีพ็อกซี่เรซิ่นอินฟิวชั่น 60 นาที ใช้กับผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ ทั้งงานแฮนด์เร และ งานอินฟิวชิ้นงานขนาดเล็กที่ต้องการความแข็งแรงสูง จบงานได้ไว เรซิ่น
เซ็ตตัวในระยะเวลา 60นาที

เหมาะกับงาน แวคคั่ม อินฟิวชั่น  เพราะได้ความหนา และ ความแข็งแรง
ชิ้นงานมีเนื้อเรซิ่นเยอะ มีมิติชัดเจน ความแข็งแรงเมื่อเทียบกับเรซิ่นโพลีเอสเตอร์เบส จะมีความแข็งแรงมาก ขัดแทบไม่ลง เป็นรอยขีดข่วนได้ยาก

อีพ็อกซี่อินฟิวชั่น ไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน สามารถทำงานได้แม้ในห้องแอร์

7.อีพ็อกซี่ อินฟิวชั่น ชนิด 180 นาที

อีพ็อกซี่เรซิ่นอินฟิวชั่น 180 นาที เหมาะกับชิ้นงานขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรงสูง และใช้เวลาในการดูดน้ำยาเข้าแม่พิมพ์นาน แบบ 60 นาที อาจดูดไม่ทัน

เหมาะกับงาน แวคคั่มเป็นอย่างมาก เพราะได้ความหนา และ ความแข็งแรง ชิ้นงานมีเนื้อเรซิ่นเยอะ มีมิติชัดเจน ความแข็งแรงเมื่อเทียบกับเรซิ่นโพลีเอสเตอร์เบส จะมีความแข็งแรงมาก ขัดแทบไม่ลง เป็นรอยขีดข่วนได้ยาก

อีพ็อกซี่ อินฟิวชั่นนี้ ไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน สามารถทำงานได้แม้ในห้องแอร์

8.Epoxy ปั้นโมเดล

อีพ็อกซี่เรซิ่นปั้นแบบ มีลักษณะคล้ายกับดินน้ำมัน มี 2 part คือ A, B ด้วยอัตราส่วน 1 : 1 สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น ปั้นเป็นต้นแบบโมเดล หรือตกแต่งโมเดลเพิ่มเติม ใช้เป็นแป้งโป้ว อุดรอยรั่ว หรือใช้เป็นกาวเอนกประสงค์ก็ได้ แต่จะเป็นกาวที่ไม่เหลว ไม่ไหลย้อย ใช้งานง่าย มีระยะเวลาทำงาน 1 ชั่วโมง ระยะเวลาในการเซทตัว 1 ชั่วโมง 30 นาที ระยะเวลาแห้งสนิท 4 ชั่วโมง

อีพ็อกซี่ปั้นโมเดล Kamen rider Super one & V-Machine

Epoxy ปั้นโมเดล

Epoxy resin คืออะไร

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin] ราคา

ราคาของอีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin] ถูกแพงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เบื้องต้นอาจขึ้นอยู่กับ

  • ความแข็งแรงของชิ้นงานที่ได้
  • การใช้งานง่าย/ยาก ตามอัตราส่วนผสมที่ชัดเจน 1 : 1 อาจมีราคาสูง กว่า 2 : 1
  • ความใสของเรซิ่น
  • การหล่อหนา-บาง ฯลฯ
อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy resin] คืออะไร
Warning

Epoxy Resin อันตรายไหม ?

อีพ็อกซี่เรซิ่น คือเคมีชนิดหนึ่ง ซึ่งสารเคมีต้องควรระวังเป็นอย่างดี ดังนี้

  • เก็บให้พ้นมือเด็ก
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนัง สามารถสวมถุงมือที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการสัมผัสอีพ็อกซี่เรซิ่นโดยตรง ล้างมือทันทีหลังใช้งาน
  • อาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับดวงตา
  • การสูดดม ถึงแม้อีพ็อกซี่เรซิ่นนี้ ไม่มีกลิ่นเหม็นฉุน แต่ยังมีไอระเหยตอนเกิดปฏิกิริยา พื้นที่ทำงาน ความีการระบายอากาศได้ดี

หลังจากที่รู้รายละเอียดสินค้าแต่ละตัวของ อีพ็อกซี่เรซิ่นแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การคำนวณ ตามอัตราส่วนของอีพ็อกซี่เรซิ่น 1:1 หรือ เพื่อที่จะไม่ให้ยุ่งยาก ทางเรามี คำนวณอีพ็อกซี่ ออนไลน์ ที่ไม่ต้องยุ่งยาก และใช้งานได้ฟรี

คำแนะนำการใช้งานอีพ็อกซี่

คำแนะนำการใช้งาน อีพ็อกซี่เรซิ่น

เมื่อการเก็บรักษาได้ดี จะเก็บได้นานขึ้น

  1. เมื่อห่างความร้อน ห่างแสงแดด เนื่องจากแสงแดดมีความร้อน ซึ่งเร่งให้เกิดปฏิกิริยา และค่อยๆเสื่อมสภาพ ควรเก็บในที่แห้ง
    มีอากาศถ่ายเท เก็บให้ห่างจากอาหาร เก็บในพื้นที่ ที่เป็นส่วนตัว ระวังบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาติเข้าถึงได้
  2. การปิดฝาเรซิ่นให้สนิท เนื่องจากหากเรซิ่นสัมผัสอากาศ อาจมีความชื้นสัมพัทธ์ = มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เรซิ่นมี
    อายุการใช้งานสั้นลงได้
  3. อุณหภูมิที่เย็น จะป้องกันไม่ให้เรซิ่นแข็งตัว ยืดอายุอีพ็อกซี่เรซิ่นได้ยาวนานขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องเก็บในตู้เย็น เพราะอาจมี
    การระเหยของสารเคมี และกลิ่น ไปปนเปื้อนกับของกินในตู้เย็น จึงไม่แนะนำให้เก็บเรซิ่นในตู้เย็น
  4. การเสื่อมสภาพของเรซิ่น ชนิดอีพ็อกซี่เรซิ่นนี้ สีจะเริ่มเปลี่ยนไป และ ความหนืดจะเพิ่มขึ้น อาจมีการจับตัวเป็นก้อนเจล
    แต่เป็นการจับตัวที่ไม่เสถียร ควบคุมไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถผสมให้เข้ากันกับอีกส่วนได้

อีกทั้ง เรซิ่นที่มีการเก็บรักษาไม่มี การเซตตัวอาจเปลี่ยนแปลงช้าลงได้

คำแนะนำผู้ใช้งานอีพ็อกซี่เรซิ่น

1. เตรียมพื้นที่ให้สะอาด

ก่อนเริ่มทำงาน กรุณาเตรียมพื้นที่ให้สะอาด ปราศจากฝุ่น เพราะหากระหว่างที่เรซิ่นเซทตัว ฝุ่นผงละอองที่ลอย ปลิวไปติด
จะแห้งคาอยู่ในชิ้นงาน ไม่สามารถนำออกได้โดยง่าย ต้องใช้การเจียรออก เป็นการเพิ่มขั้นตอนการทำงานแบบไม่จำเป็น

2. โต๊ะทำงานสามารถปรับระดับได้ 

สาเหตุเพราะ อีพ็อกซี่เรซิ่นมีระยะเวลาเซตตัวนาน หากระนาบพื้นไม่ได้ ชิ้นงานที่ได้ จะเอียงมีความหนาไม่เท่ากันในแต่ละด้าน

3. ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม

อุณหภูมิพื้นที่ทำงาน ที่เหมาะสม อยู่ที่ประมาณ 25 องศาเซลเซียส อีพ็อกซี่ทั้ง Part A และ B ควรมีอุณหภูมิเดียวกัน
อุณหภูมิที่เย็น จะทำให้อีพ็อกซี่เรซิ่น ทำงานได้ยาก หนืด การกวนผสมทำได้ยากกว่า มีฟองอากาศมากกว่า หากอีพ็อกซี่เรซิ่นของท่านใด เก็บในที่เย็น ควรอุ่นขวดในน้ำอุ่น 10 นาที

3.1 ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมในการทำงานเรซิ่น ไม่ควรเกิน 50

เนื่องจากความชื้นยิ่งมาก ยิ่งมีผลต่อการเซ็ทตัวของเรซิ่นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทำให้ชิ้นงานอ่อนตัว ไม่แข็งแรง ตามคุณสมบัติที่ควรจะได้ ดังนั้น ควรทำชิ้นงานเรซิ่นในเวลาที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ <50% เพื่อควบคุมความชื้นให้เหมาะสมที่สุด ต่อการหล่องานเรซิ่น*** หลีกเลี่ยงการผสมเรซิ่นกับตัวเร่ง ในช่วงฝนตก/หลังฝนตก ***

4. ผสมอีพ็อกซี่เรซิ่นให้พอประมาณ

ควรผสมอีพ็อกซี่เรซิ่น ในปริมาณเท่าที่จำเป็นจะใช้งาน ในระยะเวลาที่เหมาะสมตามแต่อีพ็อกซี่แต่ละชนิดกำหนดไว้ ในงานที่ต้องการความหนาชิ้นงาน สามารถทะยอยเทอีพ็อกซี่เรซิ่นหลังจากชั้นแรกผ่านไป 4-8ชั่วโมง เพื่อให้ชิ้นงานชั้นก่อนหน้า ระบายความร้อนออก ลดความเสี่ยงชิ้นงานแตกร้าว

อัตราส่วนผสมอีพ็อกซี่เรซิ่น

5. อัตราส่วนผสมอีพ็อกซี่เรซิ่น

อัตราส่วนผสมจะถูกกำหนดให้อิงกับน้ำหนัก โดยการชั่งน้ำหนักเท่านั้น เพราะความหนาแน่น มวล และ ความหนืดของเคมีถูกเซตมาจากแหล่งผลิต ที่ได้รับการยอมรับ ไม่ควรปรับปริมาณการใช้งาน Part A , B ให้ต่างจากที่กำหนดไว้ที่ฉลากบรรจุภัณฑ์

ผสมเรซิ่นให้เข้ากัน

6. ผสมให้เข้ากันให้ดี 

เพราะอีพ็อกซี่เรซิ่นมีความใส เราไม่สามารถมองเห็นว่าเราผสมกันได้ดีแล้วหรือยัง โดยเน้นการคนที่ขอบภาชนะ ก้นด้านล่างของภาชนะ หากผสมกันไม่ดี อาจมีบางส่วนไม่แห้ง หรือ แห้งแล้วแต่ไม่แข็งแรงตามคุณสมบัติที่ต้องการ

6.1 วิธีการป้องกันการคนผสมไม่เข้ากัน

เราจะมีภาชนะสำหรับผสม 2ใบ เมื่อผสมในภาชนะแรกแล้ว 1-2 นาที ถ่ายใส่ภาชนะที่ 2 ขูดขอบ โกยจากก้นภาชนะออกมา แล้วคนต่ออีก1นาที
การสังเกตุ การเข้ากันได้ดีของอีพ็อกซี่เรซิ่น ของเหลว part A มีความหนืดต่างจาก part B ของเหลวที่ความหนืดต่างกัน 2ชนิด เมื่อนำมาผสมคนรวมกัน จะมีเยื่อๆ เมื่อเริ่มคนผสมใหม่ๆ เรซิ่นจะขุ่น เราต้องคนจนเรซิ่นใส การสังเกตุคือ เยื่อๆที่ยังเหลืออยู่ = ยังคนผสมไม่เข้ากันดี เวลานำไม้พายขูดด้านข้าง หรือ ก้นภาชนะ จะมีเยื่อๆ เป็นเส้นใย ออกมา ให้เราคน กวนผสมต่อไป

7. การไล่ฟองอากาศ

  • เริ่มตั้งแต่การคนผสม เราใช้ไม้พาย ที่มีหน้าสัมผัสกว้าง เพื่อคนให้เข้ากันได้ดีแล้ว
  • การไม่ยกไม้คนขึ้น ๆ ลง ๆ
  • การคนผสมไปในทิศทางเดียวกัน อย่างเบามือ จะช่วยให้เกิดฟองอากาศน้อย
  • การใช้เปลวไฟเป่าผ่านที่ผิวๆเรซิ่น ( ไม่ควรจ่อไฟนาน เพราะเรซิ่นอาจมีไฟลุก และ ผิวหรือสีชิ้นงานเปลี่ยนจากการไหม้ได้ ) หรือ ความร้อนจากไดร์เป่าลมร้อนเพื่อไล่ฟองอากาศที่ลอยขึ้นเหนือเรซิ่น ทำให้ฟองแตกออกเปรี๊ยะ ๆ
  • การใช้เครื่องแวคคัมไล่ฟองอากาศออกจากเรซิ่น ก็เป็นอีกไอเดียที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้
  • ในงานหล่อ ที่ไม่มีพื้นที่หน้างาน สามารถใช้เครื่องแรงดันฟองอากาศ ช่วยให้ชิ้นงานไม่มีรูฟอง ทำให้ผิวงานสวยเรียบเนียน
    ไม่เปลืองแรงขัดโป๊ว จบงานง่าย ไว ส่งงานทันกำหนด

8. ป้องกันชิ้นงานไม่ให้มีฝุ่นละอองเกาะติด

ครอบ หรือคลุมชิ้นงานระวังไม่ให้มีฝุ่นละอองลอยตกลงไปในงาน ระยะเวลาการเซทตัว แข็งแรงสูงสุดอยู่ที่ 24-72 ชั่วโมง ตามแต่งานที่ต้องการรับน้ำหนัก หากเป็นงานหล่อธรรมดา สามารถแกะชิ้นงานได้ที่ 6 ชั่วโมง จาก 24 ชั่วโมง หากเป็นงานเคลือบที่ต้องรับน้ำหนัก แนะนำว่า เวลาที่จะพร้อมใช้งานอยู่ที่ 72 ชั่วโมง งานเคลือบธรรมดา สามารถแตะ กด แบบไม่เป็นรอยนิ้วมือที่ 4 ชั่วโมงขึ้นไป ตามอุณหภูมิในวันทำงาน

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy resin] คืออะไร

5 อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นสำหรับงานอีพ็อกซี่เรซิ่น

ถือว่าเป็น อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นมาก ๆ สำหรับงานอีพ็อกซี่เรซิ่น ที่จะช่วยให้การทำงานง่าย ประหยัดเวลา และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไอเดียชิ้นงานสวย ๆ สำหรับ อีพ็อกซี่เรซิ่นโดยเฉพาะ

สร้างชิ้นงานด้วยหินอ่อน

สร้างชิ้นงานลายหินอ่อนด้วยอีพ็อกซี่เรซิ่น

ลายหินอ่อนเป็นตัวเลือกที่นิยมมาก ๆ ในทุกยุค ทุกสมัย ในการนำมาตกแต่ง เพื่อสร้างความสวยงามให้แก่สถานที่ต่าง ๆ ซึ่งลวดลาย
ที่เกิดขึ้น มักจะเกิดจากธรรมชาติ ที่ทำให้ลายดูมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ดังนั้น หินอ่อนจึงมีราคาที่ค่อนข้างสูง อ่านเพิ่มเติม
สำหรับใครที่สนใจการทำลายหินอ่อนด้วยอีพ็อกซี่เรซิ่น ที่มีน้ำหนักเบา ราคาจับต้องได้ แข็งแรง ทนทาน

6 คำถามที่พบบ่อยในงานอีพ็อกซี่เรซิ่น

อีพ็อกซี่เรซิ่น คือ พลาสติกชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่ม Thermosetting Polymer จะมีความแข็งแรงทนทานอย่างมาก สามารถทนความร้อนได้ตั้งแต่ 150-200 องศา เซลเซียส เรามาดู คำถามที่พบบ่อยที่สุดในอีพ็อกซี่เรซิ่น กันเถอะ

  1. ชิ้นงานมีผิวขรุขระ – มีรอยเหมือนเปลือกส้ม
    ชิ้นถูกกระทบกระเทือนขณะอีพอกซี่เรซิ่นกําลังจะแข็งตัว ปล่อยทิ้งชิ้นงานให้แข็งตัวสนิท จึงขัดผิวด้วยกระดาษทรายน้ำโดยไล่เบอร์ จากหยาบไปเบอร์ละเอียด ตอนจบงานสามารถใช้ครีมขัดเงาลงขัดรอบสุดท้ายได้เลยเพื่อความเงางาม
  2. ชิ้นงานมีฟองอากาศ เกิดจากอะไร
    ขณะกวนอีพอกซี่เรซิ่นไม่ควรกวนผสมแบบตีไข่เพราะจะเกิดฟองอากาศมาก ตอนกวนไม่ควรยกไม้กวน หากมีฟองอากาศออกมาเล็กน้อยหลังเทลงบนโมลด์ สามารถใช้ปืนไฟแช็กทยอยไล่ฟองแบบผ่านๆ ได้ ถ้าต้องการกําจัดฟองอากาศออกให้หมด ต้องนําส่วนผสมใส่ในถังแรงดันไล่ฟองอากาศงานเรซิ่น
  3. อีพ็อกซี่เรซิ่น ใช้เวลาเจลตัว หรือแข็งตัวนานแค่ไหน
    ระยะเวลาเจลหรือแข็งตัวอยู่ที่ 30 นาที ทำงานทันแค่ไหนตรียมผสมแค่นั้น แต่วเวลาที่อีพ็อกซี่เรซิ่นแห้งสนิทจะอยู่ที่ 24 ชั่วโมงครับ
  4. เนื้อชิ้นงานอีพ็อกซี่เรซิ่นแตกร้าว เกิดจากอะไร
    โดยปกติแล้วเมื่อผสมอิพ็อกซี่เรซิ่นระหว่างพาร์ท A และ B ช่วงที่อิพ็อกซี่เรซิ่นเจลหรือแข็งตัวนั้นจะมีการคายความร้อนออกมา หากเทในจำนวนที่มากเกินไป ความร้อนที่เกินสะสมมากเกินไปจะทำให้เกิดการแตกร้าวได้ 
    ***วิธีแก้ไขเมื่อชิ้นงานแตกร้าวสามารถ ให้นำอีพ็อกซี่เรซิ่นหยอดลงในส่วนที่แตกร้าวได้ครับ***
  5. อัตราส่วนการผสมอีพ็อกซี่เรซิ่น 1 ต่อ 1 ประมาณด้วยสายตาได้ไหม
    ไม่ได้ครับ หากผสมอิพ็อกซีเรซิ่นด้วยการประมาณ จะทำให้อิพ็อกซีเรซิ่นเจลไม่เท่ากันหรือไม่แข็งตัว ทางที่ดีควรมีเครื่องชั่งไว้กำหนดอัตราส่วนไว้ดีกว่าครับ
  6. ทำยังไงให้ผิวชิ้นงานอีพ็อกซี่เรซิ่น เรียบ และเงา
    ขัดเงาด้วยกระดาษทรายไล่ระดับและครีมขัดเงา การขัดกระดาษทรายให้เริ่มต้นขัดเบอร์หยาบก่อน แล้วค่อยไล่เบอร์ละเอียด ทำอย่างนี้ กับทุกๆชั้น ทุกๆ รอบของการขัดกระดาษทรายไล่ความละเอียดให้ถึงเบอร์ 2500 แล้วค่อยปัดเงา ด้วยครีมขัดหยาบ
    ครีมขัดละเอียดอีกทีครับ คำถามที่พบบ่อยในงานอีพ็อกซี่
Epoxy resin คืออะไร
4ปัจจัยทำไมพ็อกซี่ถึงร้อน

คำถามพิเศษ “4 ปัจจัย ทำไมอีพ็อกซี่เรซิ่นถึงร้อนเกินไป ?”

มีหลากหลายสาเหตุ หลายปัจจัย ที่ทำให้อีพ็อกซี่เรซิ่นร้อน มีควันขึ้น และแห้งอย่างรวดเร็ว

ปัจจัย 1 ที่ทำให้เรซิ่นร้อนเกินไป

ชุดเรซิ่น A B จะมีปริมาณในการผสมในระดับ ต่ำสุดและสูงสุด ปริมาณขั้นต่ำช่วยให้เกิดความร้อนเพียงพอในการเริ่มบ่มให้เรซิ่นแห้ง แต่การใส่น้ำยาเรซิ่นในปริมาณการผสมสูงสุด ที่ควรตระหนักว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้แน่ใจว่าเรซิ่นจะไม่ร้อนเร็วเกินไป ในกรณีนี้
ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษสำหรับการผสมอีพ็อกซี่ในปริมาณที่เยอะมากเกินไป

ปัจจัย 2 ที่ทำให้เรซิ่นร้อนเกินไป

ในขณะที่ใช้ปืนไฟแช็กอุ่นเรซิ่น เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมสำหรับการลดฟองอากาศ ความร้อนนั้นก็เพิ่มความร้อนให้กับปฏิกิริยาด้วย
ในขณะที่อุ่นเรซิ่นด้วยปืนไฟแช็ก ควรจะระมัดระวัง และควบคุมไฟให้ดี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานอีพ็อกซี่เรซิ่น

ปัจจัย 3 ที่ทำให้เรซิ่นร้อนเกินไป

การอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่มีอากาศอบอ้าว หรือ ร้อน ก็อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่เพิ่มความร้อนให้กับอีพ็อกซี่เรซิ่นได้ เพราะฉะนั้น
ควร ทำงานในที่โล่ง กว้าง อากาศถ่ายเทสะดวก จะดีที่สุดสำหรับทุกๆคน

ปัจจัย 4 ที่ทำให้เรซิ่นร้อนเกินไป

ยิ่งใส่สารเร่งแข็งมากเท่าไหร่ ความร้อนก็จะถูกผลิตขึ้นในถ้วยพลาสติกผสมเรซิ่นที่ผสมสารเร่งแข็ง เรียบร้อย ความร้อนจึงก่อตัวขึ้นเอง จะยิ่งสะสมเร็วขึ้นเท่านั้น หากผสมสารเร่งแข็งเยอะ

Epoxy resin คืออะไร

สิ่งที่ควรรู้ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะประสบความสำเร็จในอีพ็อกซี่เรซิ่น

  1. เรซิ่นไม่คงอยู่ตลอดไป เมื่อคุณเปิดแล้ว คุณควรใช้ภายใน 30 วัน มิฉะนั้นจะเริ่มเป็นสีเหลือง อีพ็อกซี่ที่ยังไม่เปิดมีความคงตัว
    เป็นเวลาหนึ่งปีหรือนานกว่านั้น
  2. พื้นที่ทำงานของคุณต้องอบอุ่น ดังนั้นคุณจึงไม่มีปัญหาในการรักษา คำแนะนำบางประการเกี่ยวกับอุณหภูมิที่คุณควรผสม
    อีพ็อกซี่ของคุณ
  3. การวัดที่แม่นยำและการผสมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จ นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดใน การ ผสมเรซิ่น
  4. ชุดเรซิ่นแต่ละชุดมีทิศทางเฉพาะของตัวเอง ติดตามพวกเขาอย่างระมัดระวัง
  5. กำจัดของเหลวที่ผสมและไม่ผสมอย่างเหมาะสม ต่อไปนี้คือเคล็ดลับบางประการในการกำจัดอีพ็อกซี่
5สิ่งกำจัดเรซิ่น

5 สิ่งควรรู้ เกี่ยวกับการกำจัดเรซิ่น

คุณจะทิ้งเรซิ่นอย่างไร ?
สามารถทิ้งเรซิ่นลงในถังขยะได้เลยไหม ?

ชุดเรซิ่นต้องมีการจัดการที่ดี และเหมาะสม เช่นเดียวกันกับสารเคมีตัวอื่น ๆ ที่ทุกคนเจอในบ้านของตัวเอง

  1. ห้ามเท เรซิ่น/สารเคมี ลงในท่อระบายน้ำหรือห้องน้ำของคุณเพราะ อาจจะสร้างความเสียหายให้กับท่อระบายน้ำของคุณได้
    นอกจากนี้ สารเคมีเหล่านี้ อาจจะเป็นมลพิษทางน้ำ หรือทางทะเลได้ ซึ่งคุณอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ถ้าหากคุณเท
    สารเหล่านั้นลงในทางน้ำ
  2. หากคุณมีเรซิ่นเหลวหรือสารเพิ่มความแข็งที่คุณไม่ต้องการอีกต่อไป ให้นำทิ้งในถังขยะที่เป็นสีแดง (ถังขยะที่เป็นพิษ) ในพื้นที่ของคุณ
    ถังขยะสีแดง เป็นการรวบรวม กระป๋องสี สีสเปรย์ แบตเตอรี่ ยาฆ่าแมลง และอื่นๆ ที่เป็นพิษ เพราะจะมีการนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี และเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
    ควรบรรจุขวดเรซิ่นของคุณอย่างไร ก่อนที่จะนำไปที่ถังขยะสีแดง (ถังขยะที่เป็นพิษ)
    ควรมีฉลากบนภาชนะ หรือ เขียนกำกับว่าเป็นอะไร ลงในหีบห่อที่อนุญาตอย่างมิดชิด เพื่อให้เจ้าหน้าที่เก็บขยะ สามารถจัดการสิ่งของได้อย่างปลอดภัย
    หมายความว่า อย่ามอบขวดที่มีเรซิ่นเหนียวอยู่ข้างนอก ควรนำขวดใส่ในถุงพลาสติกและปิดให้มิดชิดก่อนทุกครั้ง
  3. ถ้าหากคุณมีภาชนะเรซิ่นเปล่า ให้ปิดฝาให้แน่นก่อนทิ้งลงในถังขยะ
    หากคุณใช้เรซิ่นจนหมดขวด หรือ ใช้ส่วนประกอบของเรซิ่นหมด ให้ปิดฝาให้แน่น เพื่อเป็นการป้องกัน หรือหากมีเรซิ่นหรือสารเพิ่มความแข็งเพียงเล็กน้อยในแต่ละขวด คุณสามารถเทจากขวดหนึ่งลงในอีกขวดหนึ่ง(ประเภทเดียวกัน) จากนั้นปล่อยให้
    แข็งตัว ถ้าหาก ไม่สามารถเทจากขวดหนึ่งไปอีกขวดหนึ่งได้ สามารถทิ้งไปพร้อมกับถุงขยะในครัวเรือนได้เลย แต่ต้องปิด
    ให้มิดชิดทุกครั้ง
  4. เมื่อเรซิ่นของคุณแห้งสนิทแล้ว คุณสามารถทิ้งลงในถังขยะได้
    สามารถทิ้งลงในถังขยะได้ เพราะคุณสามารถนำเรซิ่นไปทิ้งที่ถังขยะได้ทันที เมื่อเรซิ่นนั้นแห้งสนิท และถูกห่ออย่างมิดชิด
    เรียบร้อยแล้ว
    5. หากคุณกำลังทำงานกับเรซิ่นผสมและไม่ต้องการใช้ทั้งหมด ปล่อยให้เรซิ่นแห้งก่อนทิ้งลงในถังขยะ

เพราะหาก ไม่ปล่อยให้เรซิ่นแห้งสนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะ อาจจะเกิดความอันตรายได้

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน

อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy resin] คืออะไร

สามารถปรึกษาเพิ่มเติม เพื่อเลือก Epoxy resin แต่ละชนิดให้เหมาะกับงานได้ที่ เรซิ่นเอสเจ ลำสาลี – ตัวจริงเรื่องเรซิ่น

หน้าร้านเปิดให้บริการ วันจันทร์-วันเสาร์ 8.00-18.00 หยุดวันอาทิตย์

ติดต่อเรา/สั่งซื้อที่หน้าร้าน
สั่งซื้อและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่
Tel : 086-317-1747 , 023-794-555 , 023-794-575
Line : @resinsj
Website : เรซิ่นเอสเจ ลำสาลี

ทั้งสองตัวเป็นสารเคมีชนิดเดียวกัน แต่มีคุณสมบัติที่ต่างกันคือ กลิ่นการใช้งาน ความแข็งแรงของชิ้นงาน ความสะดวกในการทำงาน และการหดตัวของเรซิ่น ดูข้อมูลแบบละเอียดเพิ่มได้ที่นี่

เมื่อเรซิ่นแห้งสมบูรณ์แล้ว จะไม่มีสิ่งใดๆที่ทำให้บุบหรืองอ แต่สามารถแตกหักได้หากหล่นลงบนพื้นที่แข็ง หรือสูงมากๆ

วิธีการใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นขึ้นอยู่กับประเภทของงาน แต่ความยากง่ายจะอยู่ที่อัตราส่วนการผสมของอีพ็อกซี่แต่ละแบบมากกว่า เช่น 1:1 2:1 3:1 4:1 เป็นต้น

Picture of ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ

พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"

คุณอาจจะสนใจบทความนี้…

เรซิ่นคืออะไร มาทำความรู้จักกัน
เรซิ่น คืออะไร ? ทำความรู้จักกันก่อนจะไปเริ่มทำงานเรซิ่น
เปรียบเทียบโพลีเอสเตอร์เรซิ่นกับอีพ็อกซี่เรซิ่น
โพลีเอสเตอร์เรซิ่น กับ อีพ็อกซี่เรซิ่น ต่างกันอย่างไร?
8คำถามที่ควรถามก่อนซื้อเรซิ่น
8 คำถามที่คุณควรถามก่อนตัดสินใจซื้อเรซิ่น
15ขั้นตอน-สอนทำงานเรซิ่นสำหรับมือใหม่-ทำเรซิ่นเป็นในบทความเดียว
15ขั้นตอน สอนทำงานเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ทำเรซิ่นเป็นในบทความเดียว

สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อติดต่อ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-379-4555 , 02-379-4575 , 02-379-4604

โทรศัพท์มือถือ : 088-299-0267 , 086-317-1747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

รอบจัดส่ง