เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ :))
เรซิ่นกับฟองอากาศ
ทำไมเราจึงกล่าวคำว่า งานเรซิ่นกับฟองอากาศเป็นของคู่กัน
ตอบ : เพราะเรซิ่นเป็นของเหลว ที่ต้องผสมตัวเร่ง เพื่อให้แข็งตัว และ ทุกการเคลื่อนที่ของของเหลว จะเกิดฟองอากาศ
สวัสดีครับวันนี้เราจะมาพูดถึงเรซิ่นกับฟองอากาศกันว่าที่มาของการเกิดฟอง มาจากอะไรได้บ้างและควรทำอย่างไรเมื่อเกิดฟองอากาศในงานของเรากัน
ต้องแยกออกก่อนนะครับว่าเรซิ่นแต่ละเบส ตัวไหนใช้ได้กับวิธีไหน เพราะบางตัวไวไฟครับ อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ต้องศึกษาก่อนที่จะใช้วิธีนั้นๆว่าตัวนี้ใช้กับวิธีการนี้ได้ไหม
ก่อนอื่นเลย เราต้องแยกก่อนว่าเรซิ่นที่เราจะใช้ เป็นเบสโพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรือ อีพ็อกซี่เรซิ่นเบส เพราะถ้าเป็นโพลีเอสเตอร์ (อัตราส่วนผสม 100/1-2%) หากอยากจะให้เซตตัวเร็ว-ช้าแค่ไหนจะอยู่ที่เราใส่ตัวเร่งครับ
ส่วนอีพ็อกซี่เรามีในส่วนของพาร์ท A:B อัตราส่วนจะแม่นยำ เช่น 1/1 , 2/1 , 3/1 เขาจะเซตตัวด้วยตัวเองไม่เกิน 1 ชม.
แต่การเกิดฟองของทั้ง 2 ตัวนี้ ก็เกิดจากสาเหตุเดียวกัน เรามาดูกันก่อนดีกว่าครับ ว่าการเกิดฟองอากาศ เกิดจากอะไร และการแก้ไขจัดการกับฟองอากาศของทั้ง 2 ตัวนี้ แตกต่างหรือเหมือนกันตรงไหน
ฟองเกิดจากอะไร
- เกิดจากการคนผสม ทุกของเหลวเมื่อมีการเคลื่อนที่ จะมีฟองอากาศเกิด
- เกิดจากชิ้นงานที่เราใส่ไว้ด้านในมีรู มีโพรงอยู่ด้านในก็สามารถทำให้เกิดฟองอากาศได้
- แค่เท หรือมีการเคลื่อนที่ของของเหลวก็เกิดฟองอากาศแล้ว
วิธีการไล่ฟองเรซิ่นโพลีเอสเตอร์
- ถ้าเป็นชิ้นงานเรียบไม่หนา ในขณะที่เรซิ่นยังไม่เซ็ตตัว สามารถใช้ไม้จิ้มฟันจิ้มไปที่ฟองอากาศได้
- ใช้หลอดเป่าไปที่ฟองอากาศ วิธีนี้ก็จะใช้ได้แต่กับงานที่ไม่หนา พื้นหน้างานเปิดกว้างและเรียบ
- ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 25-30 นาที ฟองก็สามารถหายไปได้ แต่ถ้าเราเอามาคนอีกครั้งสุดท้ายฟองก็ยังคงเกิด และถ้าตั้งทิ้งไว้อีก เรซิ่นอาจแข็งตัวก่อนที่เราจะได้ใช้งาน นอกจากเราจะใช้ตัวเร่งที่น้อยมากๆจาก 10 หยดอาจจะเหลืออยู่แค่ 2-3 หยด แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการที่แห้งช้า อาจจะต้องรอถึง 2-3 วันเลยครับ ตอนที่เทเรซิ่นถ้าเกิดมีฟองเราอาจจะเขี่ยได้ทันก่อนที่จะแข็งตัว เทเสร็จเราก็ต้องตั้งไว้ในพื้นที่ที่เรียบ และไม่ควรขยับชิ้นงานนะครับ
- ถ้าเป็นชิ้นงานที่หนามากๆ สามารถใช้ถังแวคคั่มไล่ฟองอากาศ แต่ก็ต้องลดจำนวนการใส่ตัวเร่งเพื่อเพิ่มเวลาในการเซตตัว เรซิ่นไม่แข็งคาถังแบบยังไม่เทลงโมลด์ครับ
วิธีการไล่ฟองของเรซิ่นอีพ็อกซี่
1.ใช้ปืนไฟ ช่วยไล่ฟองอากาศ เพราะเรซิ่นชนิดนี้ไม่ไวไฟ และ เมื่อโดนไฟ จะอ่อนตัว ทำให้ความหนืดลดลง ทำให้ฟองอากาศแตกออกไปได้ด้วยเหตุผลนี้ จะใช้ปืนไฟไล่ฟอง (มีเปลวไฟ เป่าผ่านๆ ไม่จ่อไฟนาน เพราะสีงานอาจคล้ำ เข้มได้) หรือ ใช้ไดร์เป่าลมร้อน (มีแรงลม ทำให้ของเหลวกระพือ หากงานชิดขอบผนัง ต้องระวังแรงลมนี้ทำให้ควบคุมขอบยาก งานไม่สวย) (ใช้สำหรับงานไม่หนา)
2.ใช้ถังแวคคั่ม เอาเรซิ่นที่ผสมA กับB แล้ว ใส่หม้อแวคคั่ม ดูดฟองออกให้หมด แล้วถึงจะมาเทใส่แม่พิมพ์ สําหรับคนที่ต้องการให้ใสให้สุด ไม่ให้มีฟองอากาศเลยเนี่ย เราแนะนําหม้อดึงดัน หลังจากแวคคัมเสร็จเปลี่ยนฝาเพรสเชอร์ แล้วอัดอากาศกลับเข้าไปเลย อันนี้ไม่เหลือฟองแน่นอน
เป็นยังไงกันบ้างครับ วิธีการแก้ปัญหาการเกิดฟองอากาศจากเรซิ่นทั้ง 2 ชนิด การไล่ฟองที่ทุกคนได้อ่านไปนั้น ใช้กับงานเรซิ่นที่ต้องการความใสนะครับ แต่ถ้าเป็นชิ้นงานที่มีความทึบ เราไม่จำเป็นจะต้องกังวลเรื่องฟองอากาศเลยครับ เพราะสีทึบ หรือ ความทึบแสง จะบังฟองอากาศ
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"