ความชื้นสัมพัทธ์ที่บ่งบอกถึงปริมาณไอน้ำในอากาศยิ่งมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลต่อการเซ็ทตัวเรซิ่น
ความชื้นกับงานเรซิ่น ถือว่าเป็นคู่ปรับกันมาก
เพราะ ความชื้นในอากาศ คือ ปริมาณไอน้ำในอากาศ เกิดจากการระเหยของน้ำ โดยจะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศ ยิ่งน้ำระเหยมากเท่าไหร่ความชื้นในอากาศมากขึ้นเท่านั้น และ ความชื้นในบริเวณนั้นก็ยิ่งสูงขึ้น สถานที่ร้อนมักจะชื้นมากกว่าสถานที่เย็นเพราะความร้อนทำให้น้ำระเหยได้เร็วขึ้น หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดฝน น้ำค้างหรือหมอก ปริมาณของไอน้ำที่จำเป็นต่อการเพิ่มความอิ่มตัวเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดลงมันจะไปถึงจุดอิ่มตัวในที่สุดโดยไม่ต้องเพิ่มหรือสูญเสียมวลน้ำ ปริมาณของไอน้ำในอากาศอาจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ดูเหมือนว่าการระเหยของน้ำเป็นสิ่งที่ไม่ดี น้ำของเหลวมีประโยชน์และจำเป็นสำหรับทุกชีวิต เชื่อหรือไม่ว่าการระเหยของน้ำและมอยเจอร์ทำหน้าที่สำคัญของโลกธรรมชาติ เมื่อน้ำของเหลวระเหยกลายเป็นไอน้ำ ถือเป็นการเสร็จสิ้น หนึ่งในสามของวัฏจักรของน้ำที่สำคัญทั้งหมด วัฏจักรของน้ำเป็นวิธีธรรมชาติในการแจกจ่ายน้ำไปยังสิ่งที่ต้องการ หากน้ำไม่ระเหยเราจะไม่มีเมฆและฝนจะไม่ตก
สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้ว่าอากาศร้อนสามารถกักเก็บน้ำได้มากกว่าอากาศเย็น
ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 40%
เพราะความชื้นยิ่งมาก ยิ่งมีผลต่อการเซ็ทตัวของเรซิ่นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทำให้ชิ้นงานอ่อนตัว ไม่แข็งแรง ตามคุณสมบัติที่ควรจะได้ ดังนั้น ควรทำชิ้นงานเรซิ่นในเวลาที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ <40% เพื่อควบคุมความชื้นให้เหมาะสมที่สุด ต่อการหล่องานเรซิ่น
คำแนะนำ
***หลีกเลี่ยงการผสมเรซิ่นกับตัวเร่ง ในช่วงฝนตก/หลังฝนตก***
ความชื้น มีผลกับเรซิ่นอย่างไร มาดูความหมายกัน
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
คุณอาจจะสนใจบทความนี้…
เรซิ่น คืออะไร ? ทำความรู้จักกันก่อนจะไปเริ่มทำงานเรซิ่น