การทำเรซิ่นไม่ว่าจะเป็นงานเล็ก งานใหญ่ สิ่งหนึ่งที่ทุกคนอาจจะต้องพบเจอคือ เรซิ่นเหนียว ไม่ยอมแข็งหรือเซ็ตตัวสักที
อาจจะทำให้เสียเวลาและเสียเงิน เพราะการทำเรซิ่นแล้วเหนียว อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นมากที่สุด ตอนนี้ทุกคนอาจจะต้องการรู้ว่าทำไมเรซิ่นถึงเหนียว? เรามาดูสาเหตุที่ทำให้เรซิ่นเหนียวกัน โดยเราจะต้องแบ่งเรซิ่น ออกเป็น 2 ชนิด ก่อน คือ
1. อีพ็อกซี่เรซิ่น
2. โพลีเอสเตอร์เรซิ่น
1.) อัตราส่วนเรซิ่น และตัวเร่งแข็งไม่ถูกต้อง
การผสมเรซิ่นและตัวเร่งแข็งให้ตรงกับอัตราส่วนนั้นๆ ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น และเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำ โดยใช้ ถ้วยผสมเรซิ่น และ
เครื่องชั่งดิจิตอล เพื่ออัตราส่วนในการผสมเรซิ่นที่แม่นยำที่สุด ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญอย่างมาก! โดยจะต้องยึดถือ อัตราส่วนที่ทาง ผู้ผลิตกำหนดเป็นสำคัญ
2.) การผสมเรซิ่นไม่ทั่วถึง
สิ่งที่ไม่ควรพลาดในการทำงานเรซิ่น คือการผสมเรซิ่นให้เข้าถึงกันด้วยการใช้ ไม้คนส่วนผสมเรซิ่น มีลักษณะแบนเรียบ ยาว เพื่อให้มั่นใจ ในการผสมเรซิ่น ไม่ควรยกไม้คนเรซิ่นขึ้น หรือ ลง และต้องขูดด้านข้างถ้วย แล้วคนให้เข้ากันหลายๆ ครั้ง หรืออาจจะตรวจเช็คให้มั่นใจด้วยการ เทจากถ้วยA ไปยัง ถ้วยB แล้วคนซ้ำ อีกที
3.) ใช้เรซิ่นและตัวเร่งแข็ง ต่างผู้ผลิตกัน
เรซิ่นและตัวเร่งแข็ง มักจะได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะของแต่ละผู้ผลิต เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ในแต่ละชนิด ของเรซิ่นนั้นๆ ดังนั้นควรจะใช้เรซิ่นและตัวเร่งแข็งที่มาจากผู้ผลิตเดียวกันจะดีกว่า
4.) เรซิ่น หรือถ้วยผสม มีการปนเปื้อน
สิ่งหนึ่งที่ควรระวังเลยคือ น้ำ หรือสารเคมีบางชนิด เพราะเมื่อเรซิ่น ปนเปื้อน เคมีอื่นใด เราไม่สามารถ ระบุได้เลยว่าผลของสารเคมีนั้น จะเปลี่ยนแปลง คุณสมบัติ ของเรซิ่นนั้น ๆ ไปในทางไหนครับ
5.) ลืมใส่ตัวเร่งแข็งหรือ ตัวม่วง [สำหรับโพลีเอสเตอร์เรซิ่น]
โพลีเอสเตอร์เรซิ่นจะมีกระบวนการในการทำงานคือ เรซิ่น +โคบอลต์ +ตัวเร่งแข็ง เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี หรือที่เรียกว่า เซ็ตตัวได้ แต่ถ้าหากลืมใส่ตัวใดตัวหนึ่งไป จะไม่สามารถทำงานได้หรือจะไม่แข็งตัวได้ เพราะฉะนั้นในการทำงานเรซิ่น ควรมีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำ ไม่งั้นทุกคนอาจจะลืมว่าเราใส่ตัวเร่งแข็งไปหรือยัง หรือใส่ไปในปริมาณที่เท่าไหร่แล้ว
ไม่ว่ายังไง ควรมีสมาธิในการทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ที่อาจจะส่งผลเสียภายหลังตามมา เนื่องจากเรซิ่นเป็นสารเคมีชนิดนึง ที่ควรพึงระวังไว้อยู่แล้ว ดังนั้น
*** โพลีเอสเตอร์เรซิ่น บางชนิด จะมีลักษณะการแข็งตัวที่หน้าผิวมักจะมีความเหนียวอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับความผิดพลาดใดๆ แต่แก้ไขได้โดยการเช็ดหน้างานด้วย อาซิโทน / ผงซักฟอก หรือกัดด้วยโซดาไฟ หรือสามารถเติม โมโนแว็กซ์ ลงไปในชั้นสุดท้าย ของการทำงาน จะช่วยได้ดีครับ ***
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
คุณอาจจะสนใจบทความนี้…