ใยแก้วแต่ละชนิด มีความหนาเท่าไหร่ เหมาะสมกับทำงานอะไร แตกต่างกันยังไง และใช้เรซิ่นชนิดไหนมาผสานเพื่อให้สมบูรณ์แบบที่สุด มาดูกัน
เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ :))
ใยแก้ว คืออะไร
คือ วัสดุที่ทำมาจากใยแก้ว ที่มีเส้นใยเล็กมาก ที่เกิดจากการหลอมละลาย และแข็งตัวของ “เซลิก้า” ซึ่งเป็นวัตถุดิบจากแก้วที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงถึง 1000 ํ ตั้งแต่ 50-900 นาที
ที่ใช้สำหรับเสริมช่วงมุมต่างๆ ตามแนวของชิ้นงาน และให้เนื้อชิ้นงานที่แข็งแรงขึ้น หรือมุมชิ้นงานที่เป็นตัวฉาก ตัวซี และยังสามารถวางตามร่องของชิ้นงานตามคุณสมบัติต่างๆของใยแก้วแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็นการพันท่อ พันถัง เพื่อช่วยเสริมแรงทางด้านแรงดันได้ดี และเส้นใยแก้วยังใช้ในงานเสริมแรงโพลิเมอร์ได้หลากหลายชนิด เรียกการเสริมแรงนี้ว่า FRP [Fiber-reinforced Plastic] และ GRP [Glass-reinforced Plastic] หรือ ที่คนไทยคุ้นชินคือคำว่า “งานไฟเบอร์กลาส” เมื่อเราใช้ผสานกับเรซิ่น เราเรียกการรวมตัวของวัตถุดิบ 2 ชนิดนี้ว่า “การคอมโพสิต” ซึ่งใยแก้วมีราคาไม่สูง และยังสามารถนำมาใช้ได้กับหลายๆ ผลิตภัณฑ์
คุณสมบัติของ ใยแก้ว ไฟเบอร์กลาส
ไม่ติดไฟ ทนความร้อนได้สูงมาก คงรูปเดิมได้ดี ไม่มีการยืดหยุ่น ไม่เน่าเปื่อย ไม่ผุกร่อน ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อน และไม่เกิดการแข็งตัวจากอากาศหนาวจัด มีความแข็งแรงกว่าเหล็กในด้านความทนทานต่อแรงดึง ใช้ผสานกับเรซิ่น อย่างไรก็ตามควรใช้งานให้เหมาะสมกับชิ้นงาน วิธีผลิต และคุณสมบัติของแต่ละประเภท
ใยแก้วสามารถใช้ทำอะไรได้หลากหลายประเภทมากครับ ไม่ว่าจะในงานเรซิ่น หรืออื่นๆ เช่น ใยแก้วท่อไอเสีย ใยแก้วกันความร้อน ใยแก้วไฟเบอร์กลาส ใยแก้วเซรามิค /ท่อไอเสีย ใยแก้วตู้ปลา
ก่อนทำความรู้จักกับใยแก้วแต่ละชนิด เรามารู้จักหน่วยการเรียกขนาดของใยแก้วกันก่อนนะครับ
ใยแก้วเบอร์ 300 หมายถึง ใยแก้วที่มีขนาด 1 ตร.ม. หนัก 300 กรัม นั่นเองครับ ที่หมายถึงความเนื้อแน่นของใยแก้วเบอร์นั้นๆนั่นเอง แต่ว่าความนิยมใช้ขนาดเบอร์ของใยแก้วแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกัน โดยใยแก้วเบอร์ 450 จะให้ความหนาอยู่ที่ 1 มิล และใยแก้วแต่ละชนิดจะใช้ทำงานที่แตกต่างกันไป เรามาดูพร้อมกันเลยครับ
รายการสินค้าใยแก้วที่มีขายในร้าน
- ใยแก้วไบแอค
- ใยแก้ว ไฟเบอร์กลาส
- ใยแก้วเซรามิค
- ใยแก้วกันสะเก็ดไฟ
- ใยกันความร้อน
- ใยผ้ากันซึม งานซีเมนต์
- ใยเส้น [Roving]
- ใยผ้าสาน [Woven Roving]
- ใยทิชชู่
- ใยล่องหน
- ตาข่ายใยแก้ว กันซึม [Fiber Mesh]
- ผงใยแก้ว [Chopped Strand
ใยแก้ว เป็นตัวเสริมความแข็งแรงให้กับเรซิ่น
เช่นเดียวกับเหล็กเส้นเสริมในงานคอนกรีต หรือเรียกว่า GRC คอนกรีตเสริมใยแก้ว โดยจะมีรูปร่างต่างกันหลายชนิด เช่น เส้นยาว เส้นสั้น แบบผืน แบบถักเป็นผืน จึงควรเลือกใยแก้วให้เหมาะกับคุณสมบัติของชิ้นงานและวิธีการผลิต
ผงใยแก้ว ใช้ทำอะไรได้บ้าง
ผงใยแก้ว จะมีสีขาว ใช้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับชิ้นงาน ลดแรงกระแทก และป้องกันการขีดข่วนจากปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่อาจจะเกิดกับผิวของชิ้นงานได้ ซึ่งนำไปผสมกับเจลโค้ท หรือเรซิ่น[ได้ทั้งโพลีเอสเตอร์เรซิ่น และอีพ็อกซี่เรซิ่น] เพื่อป้องกันผิวของชิ้นงาน
ใยแก้วแบบทอเป็นผืนผ้า
มีลักษณะเป็นใยแก้วทอสานกันจนเป็นผืนยาว มีหลายขนาด ซึ่งจะมีขนาดหรือเบอร์ ที่ระบุความเนื้อแน่น ได้ 30 60 90 100 160 200 400กรัม/ตร.ม. ที่มีคุณสมบัติช่วยรับแรงกำลังดี สามารถทำชิ้นงานได้เบาและบาง ตามเบอร์ของใยแก้ว ซึ่งสามารถเสริมความแข็งแรงบริเวณขอบของชิ้นงาน รวมถึงบริเวณผิวของชิ้นงานชั้นบนและล่างสุด นำไปใช้ทำชิ้นงานที่ต้องการน้ำหนักเบา แต่รับแรงกระแทกได้สูงๆ หรือรับน้ำหนักมากๆได้ เช่น เครื่องบินวิทยุบังคับ โดรน หรือกระดานโต้คลื่น เป็นต้น
ใยแก้วตาสาน [Wove roving]
เป็นใยแก้วที่ทอเป็นผืน มีขนาดหรือเบอร์ ที่ระบุ 400 600 800 900 1,000 1,200 กรัม/ตร.ม. ที่ช่วยรับแรงเสริมกำลังให้สูงขึ้น หรือใช้กับชิ้นงานที่ต้องการความแข็งแรงเป็นพิเศษเพื่อข่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของงานส่วนมากจะนิยมใช้กับเรซิ่นไฟเบอร์กล๊าส สลับกัน ซึ่งขนาดที่นิยมใช้มากที่สุด 3ขนาด คือ 400, 600 และ 800 กรัม/ตร.ม. นั่นเองครับ
ใยแก้วผืน หรือ Chopped strand mat
คือใยแก้วที่มีเส้นสั้น มีความยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ที่มีขนาดเบอร์ 100 200 300 450 600 และ 900 กรัม/ตร.ม. ซึ่งนิยมใช้กับงานไฟเบอร์กลาสทั่วไป ที่สามารถรับแรงได้ทุกทิศทาง โดยจะใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการทำงานประเภทนี้เลยครับ ขนาดเบอร์ที่นิยมจะแบ่งตามขนาดงานอีกที เช่น ใยแก้วเบอร์ 300 นิยมใช้กับชิ้นงานขนาดเล็ก หรือใยแก้วเบอร์ 600 นิยมใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่ เช่นถังน้ำ หรือหลังคาเป็นต้น ซึ่งส่วนมากนิยมใช้ด้วยวิธีการทามือ [Hand Lay-up] นั่นเองครับ
ใยทิชชู่
มีลักษณะเป็นผืนบางๆ น้ำหนักเบาๆ มีความคล้ายกระดาษมาก และเหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้ผิวงานเรียบ สวย ซึ่งใช้กับเรซิ่นไฟเบอร์กลาส สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของผิวงาน เช่นเครื่องดนตรี กีต้าร์ เปียโน เป็นต้น
ใยแก้ว อันตรายไหม ?
ใยแก้วเป็นวัตถุมีพิษ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถูกมือและผิวหนังจะคัน ขณะทำงานควรใช้ผ้าปิดจมูก และใส่เสื้อผ้าปกปิดผิวหนังส่วนต่างๆ และ/หรือ ทาแป้งที่ผิวหนังป้องกันการคัน ซึ่งเกิดจากเศษใยแก้วทิ่มแทงเข้าในผิวหนังเรา
วิธีแก้เมื่อเกิดอาการคัน จากใยแก้ว
-ทาแป้ง หรือใช้ผงทัลคัมได้
-ใส่ชุดแขนยาว เพื่อปิดรูขนขน
-ถ้าหากเกิดอาการคัน ให้อาบน้ำอุ่นเพื่อเปิดรูขุมขน หรืออดทนเท่านั้น
ทริคในการทำงานใยแก้ว กับโพลีเอสเตอร์เรซิ่น
ควรทาเรซิ่นทีละบริเวณ ไม่ควรเทเรซิ่นให้ทั่วไปก่อน เพราะเมื่อทำงานไม่ทันจะทำให้ชิ้นงานเสียหาย
ใยแก้วยิ่งเบอร์หนา ก็จะทาเรซิ่นยากขึ้น
และสำหรับมือใหม่ ที่ต้องการทำงานหนาๆ ควรใช้ ใยแก้วเบอร์เล็กหลายๆชั้นเพื่อให้ชิ้นงานที่หนา ดีกว่าที่จะใช้ใยแก้วเบอร์หนาไปเลย ใยแก้วยิ่งหนา ยิ่งเปลืองน้ำยา และ ควรทาเรซิ่นไล่ฟองอากาศให้หมดด้วยนะ
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
บทความที่คุณอาจจะชอบ