คุณจะทิ้งเรซิ่นอย่างไร สามารถทิ้งเรซิ่นลงในถังขยะได้เลยไหม ?
ชุดเรซิ่นต้องมีการจัดการที่ดี และเหมาะสม เช่นเดียวกันกับสารเคมีตัวอื่น ๆ ที่ทุกคนเจอในบ้านของตัวเอง
5 สิ่งควรรู้ เกี่ยวกับการกำจัดเรซิ่น
1. ห้ามเท เรซิ่น/สารเคมี ลงในท่อระบายน้ำหรือห้องน้ำของคุณ
เพราะ อาจจะสร้างความเสียหายให้กับท่อระบายน้ำของคุณได้
นอกจากนี้ สารเคมีเหล่านี้ อาจจะเป็นมลพิษทางน้ำ หรือทางทะเลได้ ซึ่งคุณอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ถ้าหากคุณเทสาร
เหล่านั้นลงในทางน้ำ
2. หากคุณมีเรซิ่นเหลวหรือสารเพิ่มความแข็งที่คุณไม่ต้องการอีกต่อไป ให้นำทิ้งในถังขยะที่เป็นสีแดง (ถังขยะที่เป็นพิษ) ในพื้นที่
ของคุณ
ถังขยะสีแดง เป็นการรวบรวม กระป๋องสี สีสเปรย์ แบตเตอรี่ ยาฆ่าแมลง และอื่นๆ ที่เป็นพิษ เพราะจะมีการนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี
และเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
ควรบรรจุขวดเรซิ่นของคุณอย่างไร ก่อนที่จะนำไปที่ถังขยะสีแดง(ถังขยะที่เป็นพิษ)
ควรมีฉลากบนภาชนะ หรือ เขียนกำกับว่าเป็นอะไร ลงในหีบห่อที่อนุญาตอย่างมิดชิด เพื่อให้เจ้าหน้าที่เก็บขยะ สามารถจัดการ
สิ่งของได้อย่างปลอดภัย
หมายความว่า อย่ามอบขวดที่มีเรซิ่นเหนียวอยู่ข้างนอก ควรนำขวดใส่ในถุงพลาสติกและปิดให้มิดชิดก่อนทุกครั้ง
3. ถ้าหากคุณมีภาชนะเรซิ่นเปล่า ให้ปิดฝาให้แน่นก่อนทิ้งลงในถังขยะ
หากคุณใช้เรซิ่นจนหมดขวด หรือ ใช้ส่วนประกอบของเรซิ่นหมด ให้ปิดฝาให้แน่น เพื่อเป็นการป้องกัน หรือหากมีเรซิ่นหรือ
สารเพิ่มความแข็งเพียงเล็กน้อยในแต่ละขวด คุณสามารถเทจากขวดหนึ่งลงในอีกขวดหนึ่ง(ประเภทเดียวกัน) จากนั้นปล่อยให้แข็งตัว ถ้าหาก ไม่สามารถเทจากขวดหนึ่งไปอีกขวดหนึ่งได้ สามารถทิ้งไปพร้อมกับถุงขยะในครัวเรือนได้เลย แต่ต้องปิดให้มิดชิดทุกครั้ง
4. เมื่อเรซิ่นของคุณแห้งสนิทแล้ว คุณสามารถทิ้งลงในถังขยะได้
สามารถทิ้งลงในถังขยะได้ เพราะคุณสามารถนำเรซิ่นไปทิ้งที่ถังขยะได้ทันที เมื่อเรซิ่นนั้นแห้งสนิท และถูกห่ออย่างมิดชิดเรียบร้อย
5. หากคุณกำลังทำงานกับเรซิ่นผสมและไม่ต้องการใช้ทั้งหมด ปล่อยให้เรซิ่นแห้งก่อนทิ้งลงในถังขยะ
เพราะหาก ไม่ปล่อยให้เรซิ่นแห้งสนิทก่อนทิ้งลงในถังขยะ อาจจะเกิดความอันตรายได้
นอกจากนำไปทิ้ง ยังสามารถนำเรซิ่นที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น
นำเรซิ่นที่เหลือใช้ นำไปหยอดตามรอยแตกที่พื้น
นำเรซิ่นไปใส่ถังสี ไว้เรื่อยๆ รอให้เรซิ่นแข็งตัว แล้วเอามากลึง ตัดทำขาโต๊ะ ที่ทับหนังสือ รองแก้ว ฯลฯ ขาย 10บาท 20บาท
หรือไม่ก็แจกญาติ ๆ
หาแม่พิมพ์ว่างๆ สักอัน พอเหลือแบบเหลวก็หยอดไปเรื่อยๆ ถ้าเต็มพิมพ์ก็ได้ชิ้นงานแบบไม่มีต้นทุน
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : Resinsjthailand
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
คุณอาจจะสนใจบทความนี้…
เรซิ่น คืออะไร ? ทำความรู้จักกันก่อนจะไปเริ่มทำงานเรซิ่น