เนื่องจากการทำงานครั้งแรก มักจะประสบปัญหาไม่มากก็น้อย ทางเรามองเห็นปัญหานี้ จึงทำบทความขึ้นมาเพื่อสอนทำงานเรซิ่น ปิดช่องโหว่ในการทำงานครั้งแรกที่ไม่สมบูรณ์แบบ ให้เป็นสมบูรณ์แบบในครั้งแรกที่ลองทำ แต่อย่างไรก็ตามความชำนาญในการทำงานต้องพึ่งประสบการณ์อย่างมาก ดังนั้นจงตั้งใจทำงานทุกชิ้นที่ได้ทำจะดีที่สุด
สอนทำงานเรซิ่น
เลือกดูหัวข้อตามใจชอบได้เลย :))
งานเรซิ่น คือ
งานเรซิ่น เป็นงานที่มีความยืดหยุ่น และใช้วัสดุทำงานได้หลากหลายประเภท และสนุกมาก แต่สำหรับผู้เริ่มต้นอาจดูน่ากลัว หรือทำยากเกินไป เพราะทุกการเริ่มต้นมักจะยากเสมอ ซึ่งนี่คือคำแนะนำทีละขั้นตอน เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นทำงานเรซิ่นได้ง่ายขึ้น
เมื่อคุณมีวัสดุเรซิ่นที่ต้องทำเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว คุณสามารถเริ่มกระบวนการผสมเรซิ่น และสารทำให้แข็ง (หากคุณใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น แต่ถ้าใช้อีพ็อกซี่เรซิ่น ให้ข้ามวัสดุเรซิ่นชิ้นนี้ไป) หลังจากนั้น ทำการผสมอัตราส่วนตามคำแนะนำของผู้ผลิตที่มอบมาให้ตามแต่ละสูตรของแต่ละยี่ห้อ แต่ทุกคนไม่ต้องกังวล เรามีขั้นตอนการทำงานเรซิ่นแบบละเอียด เพื่อให้งานเรซิ่นของเราสมบูรณ์แบบ มาดูกันเถอะ
15 ขั้นตอนการทำงานเรซิ่นแบบละเอียด
ขั้นตอนที่ 1 รวบรวมวัสดุที่จำเป็นทั้งหมด
- เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรือ อีพ็อกซี่เรซิ่น)
- สารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป)
- ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่น
- อะซิโตน เผื่อคุณต้องการทำความสะอาดสิ่งที่หกหรือหยด
- ถุงมือไนโตรเจนกันสารเคมี
- สีผสมเรซิ่น กากเพชร หรือสารเติมแต่งอื่นๆ
- แม่พิมพ์หรือ แบบสำหรับเทเรซิ่นลงไป
- อุปกรณ์เสริมสำหรับงานอีพ็อกซี่เรซิ่น (เมื่อต้องการให้งานสมบูรณ์แบบที่สุด)
ขั้นตอนที่ 2 ทำความเข้าใจกับคำแนะนำของผู้ผลิตในการผสมเรซิ่นกับสารทำให้แข็ง(เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป)
ทำไมถึงให้อ่านและทำความเข้าใจกับคำแนะนำของผู้ผลิต เนื่องจากอัตราส่วนผสมจะแตกต่างกันไปของแต่ละผู้ผลิต และยังแตกต่างกันไปตามประเภทของเรซิ่นที่คุณใช้ทำงานในประเภทนั้นๆอีกด้วย และนี่เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เรซิ่นของคุณแข็งตัวได้อย่างสมบูรณ์แบบตามคำแนะนำของผู้ผลิตนั้นๆ และจะไม่ส่งผลให้เกิดความผิดพลาด หรือข้อบกพร่องในชิ้นงานนั้นๆอีกด้วย
ขั้นตอนที่ 3 เตรียมพื้นที่ทำงาน
ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอากาศถ่ายเทสะดวก สะอาด และตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีแสงสว่างเพียงพอเพื่อให้คุณมองเห็นฟองอากาศหรือความไม่สมบูรณ์ในเรซิ่น
***ที่สำคัญ ควรมีอุปกรณ์ป้องกันตัวตอนทำงานเรซิ่นด้วยนะ เช่น สวมถุงมือไนโตรเจนกันสารเคมีเรซิ่น และหน้ากากกันสารเคมีของ 3M เพื่อป้องกันการสูดดมสารเคมีในระยะยาว ซึ่งอาจจะมีผลเสียในระยะยาวก็ได้นะ
ขั้นตอนที่ 4 เตรียมอุปกรณ์ทำความสะอาด
กระดาษเช็ดมือ ที่ขูด และน้ำยาทำความสะอาดไว้ใกล้ๆ เผื่อคุณต้องการทำความสะอาดสิ่งที่หก หรือ หยด
ขั้นตอนที่ 5 เตรียมพื้นผิวชิ้นงาน
การเตรียมพื้นผิวที่คุณจะทำงานนั้น เช่น เช็ด และทำความสะอาดให้มั่นใจว่า ชิ้นงานนั้นไม่มีน้ำ น้ำมันเคลือบบนชิ้นงานอยู่ หรือใช้กระดาษทรายขัดพื้นผิวชิ้นงานให้เรียบเนียน กรณีที่ผิวของชิ้นงานขรุขระ
ขั้นตอนที่ 6 ตวงเรซิ่นตามปริมาณที่ถูกต้อง
ตวงเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น) และสารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป) ในปริมาณที่ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิตนั้นๆ โดยการใช้ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่น
ขั้นตอนที่ 7 เตรียมนาฬิกา 1 เรือน
เพื่อที่จะจับเวลา ติดตามการทำงานของเรซิ่น เนื่องจากเรซิ่นจะมีระยะเวลาการทำงานที่ค่อนข้างจำกัด เช่น โพลีเอสเตอร์เรซิ่น จะแห้งไว หรือช้า ขึ้นอยู่กับการผสมโคบอลต์ และตัวเร่งแข็ง หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น จะมีระยะเวลาที่ตรงตัว 20-30นาทีเซ็ตตัว ดังนั้น การจับเวลาเพื่อติดตามการทำงานเรซิ่น เป็นขั้นตอนที่ไม่ควรพลาด หากพลาด คุณจะเสียทั้งเวลาในการทำงานใหม่ และเสียทั้งเงินที่เรซิ่นทำการแข็งตัวก่อนที่จะทำงานเสร็จสมบูรณ์
ขั้นตอนที่ 8 ผสมเรซิ่น ให้เข้ากัน
ผสมเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หรืออีพ็อกซี่เรซิ่น) และสารทำให้แข็ง (เมื่อใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น หากใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นให้ข้ามวัสดุนี้ไป) ให้เข้ากัน ใช้ถ้วยผสมเรซิ่น และไม้คนเรซิ่นแยกต่างหากสำหรับแต่ละส่วนประกอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน (กรณีที่ทำชิ้นงานที่มีหลากหลายสี)
**อย่าลืมขูดด้านข้าง และก้นถ้วยผสมเรซิ่น เพื่อให้แน่ใจว่า เรซิ่นและสารทำให้แข็งทั้งหมดผสมกันได้ทั่ว หากต้องการเพิ่มสี หรือพื้นผิวให้กับเรซิ่น สามารถผสมได้ในขั้นตอนนี้เลย ไม่ว่าจะเป็น ผสมสีเรซิ่น ผสมกากเพชร ผสมกับสารเสริมแรงเรซิ่น เช่น ผงทัลคัม ผงเบา ผงแคลเซียม
ขั้นตอนที่ 9 หากคุณใช้แม่พิมพ์ (โมลด์)
กรณีที่คุณใช้แม่พิมพ์ หรือโมลด์ แนะนำให้ใช้สารช่วยคลายตัว เช่น ซิลิโคนออยล์ สเปรย์ซิลิโคน BOSNY หรือ วาสลีนทาแบบ กันติดแม่พิมพ์ยางซิลิโคน ไม่ทำให้ชิ้นงานเป็นรอยและขุ่นมัว ทำให้ถอดแบบออกจากแม่พิมพ์ยางซิลิโคนง่ายขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เรซิ่นเกาะติด
ขั้นตอนที่ 10 เทเรซิ่นที่ผสมกันจนทั่วแล้ว
ทำการเทเรซิ่นที่ผสมกันจนทั่วแล้ว ลงไปในแม่พิมพ์ แบบบล็อก หรือจะใช้เคลือบพื้นผิว โดยการใช้ไม้พาย หรือแปรง1” เพื่อเกลี่ยเรซิ่นหากจำเป็น (ซึ่งสามารถใช้ไล่ฟองอากาศได้นะ หากทำการเคลือบพื้นผิว)
ขั้นตอนที่ 11 การกำจัดฟองอากาศเรซิ่น
ขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญ คือการ กำจัดฟองอากาศเรซิ่น ที่อาจจะเกิดขึ้นบนพื้นผิวของเรซิ่นเรา ไม่ว่าจะเกิดจากการที่เราคนเรซิ่นในขั้นตอนที่ 6 แรงเกินไป โดยการใช้ปืนไล่ฟองอากาศบนผิวอีพ็อกซี่เรซิ่น หรือจะเป็น 4วิธีไล่ฟองอากาศเรซิ่น
ขั้นตอนที่ 12 ปล่อยให้เรซิ่นแข็งตัวสมบูรณ์แบบ
หลังจากไล่ฟองอากาศในเรซิ่นเรียบร้อย ให้ทำการรอให้เรซิ่นแข็งตัวตามระยะเวลาที่แนะนำ โดยปกติคือ 24 ชั่วโมง ก่อนที่จะทำออกจากแม่พิมพ์ หรือแบบบล็อก ที่เราทำงาน
ขั้นตอนที่ 13 ถอดเรซิ่นออกจากแม่พิมพ์
เมื่อเรซิ่นเกิดการแข็งตัวแบบสมบูรณ์แล้ว ให้นำออกมาจากแม่พิมพ์ แบบบล็อก หรือพื้นผิวที่ทำการเคลือบ หากคุณใช้เคลือบพื้นผิว
ขั้นตอนที่ 14 ใช้กระดาษทรายขัดพื้นผิวของเรซิ่นตามต้องการ
ด้วยการขัดไล่เบอร์จากหยาบไปถึง ละเอียด (แต่หากคุณใช้อีพ็อกซี่เรซิ่น คุณสามารถข้ามขัดตอนนี้ได้เลย เนื่องจากอีพ็อกซี่เรซิ่น เมื่อแข็งตัวแบบสมบูรณ์แล้ว ผิวงานจะไม่เหนอะเหมือนกันโพลีเอสเตอร์เรซิ่น)
ขั้นตอนที่ 15 ใช้ครีมขัดเงาขัดพื้นผิวของเรซิ่น
หากทุกคนต้องการให้เรซิ่นมีความเงา สวยงามขึ้น เราแนะนำให้ใช้ครีมขัดเงาเพื่อให้มีความเงาเพิ่มขึ้น (แต่หากไม่ต้องการให้เงา ทุกคนอาจจะข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย)
***หมายเหตุ***
โปรดจำไว้ว่า การทำงานกับเรซิ่นมีความซับซ้อน และอาจจะทำให้ยุ่งเหยิงได้ ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณต้องมีพื้นที่ทำงานที่สะอาด และมีอากาศถ่ายเทสะดวก นอกจากนี้ เรซิ่นอาจเป็นอันตรายได้หากกลืนกิน หรือหายใจเข้าไป ดังนั้นโปรดใช้ข้อความระวังเพื่อความปลอดภัยที่เหมาะสม และอ่านคำแนะนำของผู้ผลิตก่อนใช้งานเสมอ
การฝึกฝนทำงานให้สมบูรณ์แบบนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับพรสวรรค์เพียงแต่อย่างเดียว ยิ่งคุณทำงานกับเรซิ่นมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งรู้สึกสบายและมั่นใจมากขึ้นเท่านั้น ขอให้สนุกและสร้างสรรค์ !
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"