คู่มือสำหรับการเลือกเรซิ่นง่าย ๆ สำหรับมือใหม่ หรือ มืออาชีพ เพื่อให้ตรงกับความต้องการในแต่ละประเภทของเรซิ่น
รวมทั้งข้อควรระวังในการใช้งาน รวมทั้ง วิธีการทิ้งเรซิ่น แนวทางในการเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ จะเป็นยังไง
การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละประเภทของเรซิ่น
ด้วยบทความนี้ ผมอยากจะแนะนำให้กับทุกคนได้รู้จักกับการเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ให้มากขึ้น ก่อนที่คุณจะเริ่มต้น บทความนี้จะได้รู้ว่า
- เรซิ่นคืออะไร
- เรซิ่นแต่ละประเภทแตกต่างกันยังไง
- ข้อควรระวังในการใช้เรซิ่น
- การเก็บรักษาเรซิ่นยังไงให้มีอายุนานที่สุด และที่สำคัญ ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดสำหรับการเริ่มต้นสำหรับมือใหม่ หัดหล่อเรซิ่น ที่ต้องการจะเข้าสู่วงการเรซิ่น ให้ประสบความสำเร็จ มีอยู่ในบทความต่อไปนี้ครับ
เรซิ่น หรือ โพลีเอสเตอร์เรซิ่น ถือเป็น 1 ใน 3 ประเภทของเรซิ่นที่เอสเจ จัดจำหน่าย ( โพลีเอสเตอร์, อีพ็อกซี่ , ไวนิลเอสเตอร์เรซิ่น )
โดยโพลีเอสเตอร์อยู่ในรูปแบบของเหลว หนืดเหนียว มีกลิ่นฉุน มีสีใสโปร่งแสง
การเลือกเรซิ่นมักถูกนำมาใช้สร้างสรรค์งานต่าง ๆ ทั้งงานหล่อตุ๊กตา งานเคลือบรูป หรืองานไฟเบอร์กลาส งานหุ้มผ้าคาร์บอน ไฟเบอร์ โดยต้องมีส่วนผสม เรซิ่น(A) + โคบอลต์(B) + ตัวเร่ง(C) A + B + C มีอะไรบ้าง ทำไมต้อง A B C เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาแข็งตัว เมื่อแข็งตัวแล้ว จะไม่สามารถกลับคืนมาเป็นของเหลวอีก หากคุณสมบัติการไม่คืนตัวนี้เป็นคุณสมบัติที่ดีเด่นของเรซิ่นนั้น สามารถใช้การเลือกใช้เรซิ่นเพื่อสร้าง ซ่อม ผสานเป็นกาว
เราสามารถลด หรือเพิ่ม อัตราส่วนผสมของโคบอลต์ และ ตัวเร่ง เพื่อลดเวลาทำงาน เร่งเวลาเซทตัว [ ทางที่ดี เราควรใช้ปริมาณตามอัตราส่วนของแต่ละชนิดเรซิ่นที่กำหนดไว้ เพื่อความแข็งแรง ไม่เหลืองไว ไม่กรอบแตกง่ายของชิ้นงาน ]
เราสามารถผสมสิ่งใดๆ ลงเรซิ่นได้บ้างครับ..??
สามารถ นำไปผสมกับสารเสริมแรงชนิดต่าง ๆ เช่น ผงแคลเซียม ผงทัลคัม ผงใยแก้ว มวลสารสำหรับหล่อพระ ทราย ดิน ข้าวสาร ฯลฯ โดยมีหลักการในการเลือกสารเสริมแรงมาผสมคือ สิ่งนั้น ๆ ต้องแห้ง ไม่มีความชื้น เพราะเรซิ่นกลัวความชื้น หากมีความชื้นใดๆในระหว่างการเซตตัว จะทำให้เรซิ่นเซตตัวผิดปกติ อาจไม่แข็งแรง อาจไม่เซตในเวลาที่เคยเซตตัว
เราผสมผงมวลสาร ต่าง ๆ เพื่อสิ่งใดบ้าง
- เพื่อความทึบแสง
- เพื่อความมีเนื้องาน
- เพื่อประหยัดต้นทุนเรซิ่น เพราะผงผสมต่าง ๆ ราคาย่อมเยากว่าเรซิ่น
- เพื่อความแข็งแรง ความไม่ไหลย้อยในแนวตั้งของผงเบา
- เพื่อให้ผิวงานเรซิ่น เรียบ ไม่มีหลุม
เคมีเสริมสำหรับเรซิ่น เพื่อคุณสมบัติต่างๆ → เคมีเสริม
ก่อนจะเลือกเรซิ่น เรามาทำความรู้จัก เรซิ่นคืออะไร กันก่อนนะครับ
เรซิ่น คืออะไร
เรซิ่น คือ สารที่ได้จากยางเหนียวของต้นไม้หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นมา โพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นชนิดนึงของเทอร์โมเซ็ทติ้ง พลาสติก (Thermosetting plastic มักจะเรียกสั้น ๆ ว่า Thermoset plastic) เป็นพลาสติกเหลวที่ได้จากการสังเคราะห์ มีความหนืดข้น เป็นวัตถุไวไฟชนิดหนึ่ง คล้ายน้ำมันเครื่อง กลิ่นฉุน สามารถแข็งตัวด้วยโคบอลและตัวเร่ง การเซตตัวมี ความร้อนสูง มีการหดตัว 1-5% หลังเซทตัวเต็มที่ เรซิ่นสามารถหล่อขึ้นรูปทรงได้อิสระมากมายหลากหลายรูปแบบ มีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรม ในชีวิตประจำวันของเราต้องเกี่ยวข้องกับพลาสติกไม่อย่างใดก็อย่างนึง เรซิ่น คืออะไร?
เหมาะสำหรับการทำงานเรซิ่นที่เฉพาะทางมาก ๆ เพราะ เรซิ่นจะใช้ทดแทนกันได้ค่อนข้างยาก และ แห้งไวพอสมควร
การเลือกเรซิ่น ที่เหมาะกับเราควรจะต้องทราบว่า ประเภทของเรซิ่นมีกี่แบบ แต่ละแบบเหมาะกับงานไหน เพื่อน ๆ บางคนอาจจะไม่รู้ว่า
เรซิ่น หรือ โพลีเอสเตอร์เรซิ่น มีกี่แบบ แต่ละแบบ มีคุณสมบัติที่ตรงกับงานไหนบ้าง
เรซิ่นแต่ละประเภท มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ เป็นพลาสติกเหลว มีความหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง มีสีใส มีกลิ่นฉุน แข็งตัวด้วยการผสมกับตัวเร่ง เป็นวัตถุไวไฟมีคุณสมบัติแข็ง ใส เงา มีการหดตัวเมื่อทำชิ้นงานเสร็จ ประมาณ 2-3% อยู่ที่การผสมสารเร่งแข็ง ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติก แต่น้อยกว่าโลหะ
โพลีเอสเตอร์เรซิ่น 10ชนิด มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เพื่อการเลือกใช้งาน
1. เรซิ่นหล่อทั่วไป
มีคุณสมบัติ หล่อชิ้นงานใหญ่ หล่อหนา หล่อตัน หล่องานทั่วไปได้ดีเพราะ มีความร้อนระหว่างเซตตัว น้อยกว่าเรซิ่นชนิดไฟเบอร์กล๊าส ทำให้ลดโอกาสการแตกร้าวได้มาก
2. เรซิ่นหล่อใสพิเศษ
เป็นเรซิ่นชนิดที่โปรโมทโคบอลต์ มาจากโรงงานเรียบร้อยแล้ว ทำให้มีเสถียรภาพสูง มีความใสคงที่ สามารถนำไปหล่อชิ้นงาน เช่น หล่อชิ้นงานที่ระลึก หล่อตุ๊กตา หล่อองค์พระ ชิ้นงาน Art toy เครื่องประดับอื่น ๆ โดยจะเป็นของเหลวขึ้นรูปได้ตามจินตนาการได้อย่างดีทีเดียว
3. เรซิ่นไฟเบอร์กลาส (Fiberglass resin)
เป็นเกรดสำหรับงานไฟเบอร์กลาสทั่วไป เหมาะกับงานที่ไม่หนา เพราะจะแตกร้าว ใช้ผสานกับใยแก้วเป็นวัสดุคอมโพสิตเป็นที่นิยม สามารถนำไปใช้สร้าง หรือ ซ่อมชิ้นงานได้ตามจินตนาการ ซึ่งการสร้าง จะต้องมีต้นแบบก่อน เพื่อนำมาทำแม่พิมพ์ แล้วถึงได้ชิ้นงานไฟเบอร์กลาสที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ใยแก้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงได้ ใยแก้วมีหลายแบบ เลือกอย่างไรมาดูกัน
4. เรซิ่นหล่อนิ่ม
มีคุณสมบัติเป็นเกรดหล่อสำหรับทำงานหล่อทั่วไป จะได้ชิ้นงานที่หยุ่นตัวได้นิด ๆ หากหล่อหนา คล้ายกับ Soft ไวนิล ซึ่งจะมีความทนทาน เหนียว ไม่แตกร้าวง่าย
5. เรซิ่นเคลือบรูป
มีคุณสมบัติผิวเงา สวย ใช้ทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์ใช้เคลือบชิ้นงาน เคลือบดอกไม้ งานที่ต้องการเคลือบผิวให้เงางาม
แต่มีข้อเสียคือ อายุการเก็บรักษาไม่นาน ถ้าแบ่งบรรจุขวด จะเก็บไม่เกิน
2 สัปดาห์ สามารถนำไปหล่อชิ้นงานขนาดเล็กได้ แห้งแล้วผิวไม่เหนอะหนะ งานหุ้มคาร์บอนหน้าสุดท้าย สามารถดัดแปลงใช้เรซิ่นตัวเคลือบรูปนี้ได้เพื่อให้การขัดงานไม่เปลืองกระดาษทราย
6. เรซิ่นเคลือบโฟมขาว
เรซิ่นนี้จะมีหน้าที่ปกป้องโฟมขาว จากโซลเว้นท์ แลคเกอร์ ทินเนอร์ สีโป๊ว ฯลฯ ทำให้โฟมขาวไม่ละลาย แข็งแรง ทำชิ้นงานที่เป็นม๊อกอัพได้ตามสบาย ประหยัดต้นทุนและเวลาในการทำงาน สำหรับงาน
ม็อกอัพที่ต้องการชิ้นงาน 1 ชิ้น ไม่จำเป็นต้องทำแม่พิมพ์ สามารถเคลือบโฟมขาว แล้ว ผสานต่อด้วยเรซิ่นไฟเบอร์กล๊าส + ใยแก้ว คลิปการทำรถไฟชินคันเซนด้วยเรซิ่นเคลือบโฟมขาว
7. ไวนิลเอสเตอร์เรซิ่น (Vinyl Ester Resins)
เป็นเรซิ่นคุณภาพพิเศษโดยปรับปรุงให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้น ทำให้มีประสิทธิภาพในการทนทานก่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้หลายชนิดในช่วงที่กว้างขึ้น ซึ่งถูกออกแบบทำให้มีความเหนียวที่เหนือกว่า
ลดปัญหาการแตก รอบการทำงานสั้นลง และมีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยเราสามารถกำหนดส่วนผสม ทำให้ลดค่าใช้จ่ายได้ มี FDA มีอายุการจัดเก็บเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการควบคุมการจัดเก็บ
8. เรซิ่น อินฟิวชั่น
เหมาะกับการทำงาน เพียวคาร์บอน ใช้ระยะเวลาเซทตัว 45นาที มีเวลานานพอสำหรับปล่อยน้ำยาเข้าระบบได้ทั่วถึง สามารถเพิ่มลด ปรับปริมาณโคบอลต์ และ ตัวเร่งได้ ราคาประหยัด มีเสถียรภาพสูง สามารถนำไปผสมตัวเร่งแล้วใช้งานได้ทันที เนื่องจากได้รับการผสมโคบอลต์ มาแล้วจากโรงงาน
อินฟิวชั่น คืออะไร…
9. เรซิ่น355e
เป็นไฟเบอร์กล๊าสเกรดสำหรับทำงานคาร์บอนไฟเบอร์ มีเสถียรภาพสูง อัตราการหดตัวน้อย ทำให้ไม่ดึงรั้งผ้าคาร์บอน // เป็นพลาสติกเหลว ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติก แต่น้อยกว่าโลหะ เมื่อเสริมแรงด้วยผ้าคาร์บอน มีน้ำหนักเบา ไม่เปราะ
10. เรซิ่น355+(Plus)
ไม่เหลืองง่าย ทนแดด เป็นสูตรเพิ่มสารเคลือบปกป้องจากรังสียูวี ชนิดนี้สำหรับทำงานคาร์บอนไฟเบอร์ มีเสถียรภาพสูง
การเลือกเรซิ่นให้ตรงกับประเภทงาน นอกจากจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้ชิ้นงานที่เราทำ มีประสิทธิภาพสูงสุด
วัสดุ อุปกรณ์เสริม ในงานเรซิ่น
รูปภาพจาก : acryliciessen
นอกจากการเลือกเรซิ่นให้ตรงกับประเภทงานแล้ว อัตราส่วนการผสม เพราะหากเราผสมอัตราส่วนผิดพลาด อาจส่งผลทำให้น้ำยาไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวช้า เพราะฉะนั้น เพื่อน ๆ ควรผสมตามอัตราส่วนให้ถูกต้องตามที่ผู้ผลิตระบุไว้ ซึ่งทางด้าน Resin Sj
มีสูตรคำนวณเรซิ่น ออนไลน์ เพื่อให้ชิ้นงานออกมาราบรื่น เพื่อน ๆ จึงควรผสมอัตราส่วนให้ถูกตามที่ผู้ผลิตระบุหรือแนะนำเสมอ
วิธีการ-อัตราส่วนผสมตัวเร่ง โคบอลต์ กับ เรซิ่น
มีคำถาม ข้อสงสัยว่า หากไม่ผสมโคบอลต์เรซิ่นจะแห้งไหม ขอตอบว่าการใช้งานโพลีเอสเตอร์ ต้องมีส่วนผสม เรซิ่น(A) + โคบอลต์(B) + ตัวเร่ง(C) A + B + C มีอะไรบ้าง ทำไมต้อง A B C หากใครยังไม่เข้าใจ รับชมคลิปเพิ่มเติม คลิก
- A = โพลีเอสเตอร์ มีทั้งชนิดโปรโมทโคบอลต์แล้วจากโรงงานและแบบยังไม่ผสมโคบอลต์ [นอกเหนือจากเรซิ่นหล่อใสพิเศษ
SJ 666 แล้ว] นำเรซิ่น ผสมกับ ตัวเร่ง 2% B = โคบอลต์ 0.5-2% คนเข้ากันให้ดี โคบอลต์ที่ดีจะกระจายตัวง่าย เรซิ่นทุกชนิดที่เมื่อผสมโคบอลต์แล้วจะมีสีชมพูเข้ม ออกม่วง [ สามารถแจ้ง ResinSj ให้ผสมโคบอลต์ให้ฟรีได้ การผสมโคบอลต์อาจทำให้อายุการเก็บรักษาน้อยลง กรุณาสั่งซื้อเรซิ่นในจำนวนที่ต้องการใช้งาน ไม่ควรซื้อเก็บ ]
- C = ตัวเร่ง 1-2% วิธีสังเกตุปฎิกิริยาที่เกิดหลังจากการคนผสม คือ เรซิ่นที่ผสมตัวเร่งแล้ว จะมีสีเหลืองอมน้ำตาล มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณตัวเร่งที่ใส่ลงไป
ความอันตราย ไฟลุกของโคบอลต์ ที่ผสมกับตัวเร่งโดยตรง
5 ข้อควรระวังการใช้ เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น)
การจัดการกับความปลอดภัย ระหว่างใช้งาน เรซิ่น
ถือเป็นข้อควรระวัง เพื่อความปลอดภัยของเรซิ่นเหล่านี้ จะช่วยให้การทำงานของคุณสนุกขึ้น มีความพึงพอสนใจมากขึ้น
ข้อควรระวังการใช้ เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น)
เมื่อเข้าตาควรพบแพทย์โดยด่วน หากถูกส่วนอื่นของร่างกายควรเช็ดถูทำความสะอาดด้วยอะซีโตน
เรซิ่นมีหลายชนิด การใช้งานย่อมต่างกัน หากใช้ผิดชนิดจะทำให้งานเสียหายได้ เช่นงานหล่อต้องการหนา แต่ใช้เรซิ่นไฟเบอร์ทำ จะทำให้งานแตกร้าวได้
ถ้าผสมกับตัวทำให้แข็งในปริมาณที่มากๆ จะทำให้มีกลิ่นฉุน และเกิดความร้อนสูง อาจเกิดไฟลุกได้
ไม่ควรเก็บไว้ในที่ร้อนหรือถูกแดดทำให้เรซิ่นเสื่อมเร็ว ลักษณะการเสื่อมของเรซิ่นที่สังเกตุได้ด้วยตาเปล่าคือ สีเปลี่ยนไป, จับตัวเป็นก้อนเจลทำให้ผสมตัวเร่งไม่ได้ การจับตัวแบบนี้เป็นการจับตัวที่ไม่เสถียร แข็งบ้างไม่แข็งบ้าง
ไม่ควรเปิดฝาภาชนะทิ้งไว้เป็นเวลานาน เพราะจะทำให้แข็งตัวและเสื่อม เรซิ่นที่เก็บรักษาดีแล้ว จะมีอายุใช้งานไม่เกิน 2 เดือน
และที่สำคัญ ขออนุญาติเน้นย้ำอีกครั้ง
ห้ามนำโคบอลต์ ผสมกับ ตัวเร่ง กันโดยตรง เวลาใช้งาน ให้นำโคบอลต์ใส่ลงในเรซิ่นก่อน แล้วทำการคนโคบอลต์ให้เข้ากับเรซิ่น
ให้ดี แล้วค่อยนำตัวเร่งมาผสมลงไปเมื่อนำโคบอลต์มาผสมลงในโพลีเอสเตอร์เรซิ่นแล้ว จะทำให้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น มีอายุการเก็บรักษาที่สั้นลง
ถ้าไม่ระวังความปลอดภัยในการใช้เรซิ่น จะเกิดอะไรขึ้น
จากการสำรวจปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยที่สุด ที่เกิดจากการใช้เรซิ่นทั้งหลาย แต่เราสามารถป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้
โรคผิวหนัง
จากผลสำรวจ มีผู้คนน้อยกว่า 10%, มีปฏิกิริยาหลังจากสัมผัสกับเรซิ่น หรือสารชุบแข็งมากจนเกินไป ทำให้เกิดผื่น หรือ ในทางการแพทย์ เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบเฉียบพลันจากการสัมผัส หรืออาจจะเกิดความรู้สึกไม่สบายรุนแรง แต่อาการจะหายไปหลังจากหยุดสัมผัสกับเรซิ่น ประมาณ 24 ชั่วโมง แต่หากสัมผัสบ่อยครั้ง อาจทำให้เกิดโรคผิวหนังอักเสบติดต่อเรื้อรังได้ จะมีอาการที่รุนแรงกว่าและยาวนานกว่า หากไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรืออาจจะลามไปสู่โรคเรื้อนกวาง(สะเก็ดเงิน) อาการบวม ตุ่มพอง และคัน
โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (อาการแพ้)
อาการนี้มักเป็นการแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ โอกาสในการเกิดโรคผิวหนังอักเสบ จะขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกัน และความถี่ในการสัมผัส ของแต่ละคน หากสัมผัสมากเกินไป ภูมิคุ้มกันจะเกิดปฏิกิริยาไวมากขึ้น และความเสี่ยงจะสูงขึ้น เมื่อ คุณมีผิวขาว เคยสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ หรือ มีอาการแพ้อื่นๆ เป็นต้น
ไม่จำเป็นว่าจะต้องสัมผัสหลายครั้งถึงจะเกิดอาการแพ้ แต่บางครั้งมักจะเกิดจากการสัมผัสเพียงครั้งเดียว เพราะบางคนเกิดอาการแพ้ภายในไม่กี่วัน แต่บางคนอาจจะใช้เวลาหลายปี ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือ การหลีกเสี่ยงการสัมผัสสารโดยตรง การเลือกใช้ถุงมือไนไตร (ถุงมือกันเคมี ) เป็นวิธีลดความเสี่ยงในการสัมผัส
การสูดดมไอระเหยของเรซิ่นทั้งหลาย อาจจะดูไม่เกิดอาการส่วนใหญ่ แต่หากสูดดมไอระเหยเป็นเวลานาน อาจทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคืองได้ ในบริเวณผิวที่บอบบาง เช่น เปลือกตา อาจเกิดอาการคัน บวม หลังจากสัมผัสไอระเหยที่มีความเข้มข้นสูง
ดังนั้น หากคุณเกิดการระคายเคืองแย่ลงหรือมีการระคายเคืองยังคงอยู่ หลังจากเลี่ยงการสัมผัสเรซิ่นเป็นเวลาหลายวัน เพราะไม่มียาแก้แพ้สำหรับอาการแพ้เรซิ่น แต่บางอาการที่เกิดผลกระทบเรซิ่น สามารถรักษาได้ด้วยยาได้
เมื่อเกิดอาการแพ้ และ รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มักจะมีแนวโน้มมากขึ้นในการสัมผัสในอนาคต ไม่ว่าในอนาคตจะสัมผัสมากหรือน้อยก็ตาม มันเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำไม่ได้ แต่ต้องงดใช้งานเรซิ่นจนกว่าอาการทั้งหมดจะหายไป โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งหมดอย่างเคร่งครัด
การระคายเคืองอย่างรุนแรงและการเผาไหม้ของสารเคมี
ด้วยตัวเร่งแข็ง ของเรซิ่น จะมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรงปานกลาง และสารมักจะเกิดจากการระคายเคืองและความเจ็บปวดเล็กน้อย แผลไหม้อาจทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสี หรือมีแผลเป็นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม อย่าทิ้งตัวเร่งแข็งไว้บนผิวหนังของคุณ เพราะมันจะแสบลึกๆ และกำจัดออกยากมาก ควรรีบเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างเรซิ่น ( อาซิโทน )
ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินหายใจจากเรซิ่นที่มีความเข้มข้นสูง หากหายใจเข้าไปอาจจะเสี่ยงการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและอาการแพ้
ถ้าหากคุณเป็นนักสูบบุหรี่ตัวยง หรือ ปอดของคุณมีความเครียด คุณจะมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาร้ายแรงเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจจากเรซิ่นได้มากที่สุด
รูปภาพจาก : Artincontext
นอกจากจะรู้การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ให้เหมาะสมกับประเภทเรซิ่นแล้ว วิธีการเก็บรักษาเรซิ่นก็สำคัญไม่ต่างกันเลยนะครับ
เราได้แบ่งเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น) เป็น 2 แบบ คือ
- เรซิ่นที่มีสีใส คือ น้ำยาที่ยังไม่ผสม โคบอลต์ มีสีใส อมเหลือง อ่อนๆ เวลาจะใช้ต้องผสม โคบอลต์ (ตัวม่วง) ก่อน ถึงจะใช้งานได้
- เรซิ่นที่มีสีชมพู คือ น้ำยาที่ผสม โคบอลต์ มาจากโรงงานแล้ว จะมีสีชมพูอ่อน ๆ สะดวกต่อการนำมาผสมตัวเร่งใช้งานได้ทันที
นั่นหมายความว่า การที่เราจะเลือกเรซิ่น เราควรจะดูที่สีของน้ำยาเรซิ่นอีกทีหนึ่งว่า ในชิ้นงานนั้น เราต้องการที่เค้าผสม โคบอลต์ให้เลยไหม หรือชิ้นงานนั้น ควรใช้กับประเภทของเรซิ่นแบบเฉพาะเจาะจง เพราะการที่น้ำยาเรซิ่นผสมกับ โคบอลต์แล้ว จะมีอายุการเก็บรักษานานที่สุด คือ 2 สัปดาห์ แต่ถ้ายังไม่ได้ผสมกับ โคบอลต์ จะมีอายุการเก็บรักษานานถึง 1 -6 เดือน ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บ ให้ห่างร้อน
ห่างแสงแดด
สิ่งที่ควรรู้ไม่ต่างกันคือ การจัดเก็บเรซิ่น เพื่อยืดอายุเรซิ่นให้นานที่สุด มีทั้งหมด ดังนี้
7 วิธีการเก็บรักษาเรซิ่น
การจัดเก็บเรซิ่นอย่างถูกต้อง จะช่วยให้เรซิ่นของคุณมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น และนี่คือ คำแนะนำบางประการเกี่ยวกับการเก็บรักษาเรซิ่นของคุณเพื่อให้ใช้งานได้นานที่สุด
เก็บไว้ในภาชนะเดิมที่มีลักษณะตั้งตรง เรซิ่นมักจะจำหน่ายในภาชนะที่เข้ากันได้กับสารเคมี และจะคงความเสถียรไว้เมื่อเวลาผ่านไป
เก็บในที่เย็นและมืด ด้านล่างของตู้รองเท้าในร่ม ไม่ควรเก็บในตู้เย็นเพราะกลิ่นเหม็นฉุนจะไปปนกับอาหาร
ห้ามเก็บในที่แสงแดดส่องถึงโดยตรง เพราะ แสงยูวีสามารถเร่งให้เรซิ่นของคุณเกิดการเหลือง และ หนืด
เก็บขวดเรซิ่นไว้ในถุงพลาสติก หรือ ภาชนะพลาสติกขนาดใหญ่ หากมีสิ่งใดรั่วไหล ก็จะเก็บความยุ่งเหยิง และมีกลิ่นเหม็น
[ หากเรซิ่นเลอะ ให้รีบเช็ดทำความสะอาดด้วยอาซิโทน ]จัดเก็บในที่ ๆ เรซิ่นจะไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เช่น โรงรถ ห้องใต้หลังคา หรือช่องแช่แข็ง 70 องศาฟาเรนไฮต์เหมาะอย่างยิ่งสม
เขียนวันหมดอายุ วันที่เริ่มเปิดใช้ บนภาชนะเรซิ่นของคุณ เมื่อคุณได้ซื้อเรซิ่น เพราะวิธีนี้จะช่วยให้คุณใช้งานได้อย่างทันท่วงที
เนื่องจากคุณได้ทำเครื่องหมายไว้ทำความคุ้นเคยกับอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้ ในขณะที่อีพ็อกซี่เรซิ่นส่วนใหญ่มีอายุการเก็บรักษาหนึ่งปี
ส่วนประเภทอื่น ๆ เช่น โพลีเอสเตอร์และโพลียูรีเทนจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่ามาก หากคุณจะซื้อเรซิ่นสักขวดนึง ควรมีการคำนวณปริมาณเรซิ่นที่คุณสามารถใช้ได้อย่างสะดวกสบายภายในครึ่งอายุการเก็บรักษาเท่านั้น
ยิ่งเก็บรักษาได้ดี ยิ่งยืดอายุการใช้งานของเรซิ่นได้ด้วยนะครับ
5 ข้อระวัง ผลกระทบต่ออายุการเก็บรักษาของเรซิ่น
นอกจาก การผสม โคบอลต์แล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เราควรระวัง ที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออายุการเก็บรักษาของเรซิ่นได้ ดังนี้
แสงแดด : จะมีผลต่ออายุของเรซิ่นเพียงนิดหน่อย (ทางอ้อม) เมื่อโดนแสงแดงเล็กน้อย เพราะ แสงจากพระอาทิตย์ จะมีความร้อนที่เร่งให้เรซิ่นเกิดปฏิกิริยา และเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ ซึ่งทางเรซิ่นเอสเจแนะนำ ให้ควรเก็บไว้ในที่มืด หรือเก็บในที่มิดชิด ไม่ควรโดนแสงแดดนานเกิน และที่สำคัญควรเก็บไว้ในภาชนะทึบแสง และปิดให้สนิทจะเป็นการช่วยทำให้เราสามารถเก็บรักษาเรซิ่นให้อยู่นานที่สุดได้
อุณหภูมิ : จะมีผลต่ออายุของเรซิ่นเพิ่มขึ้น การเปิดภาชนะทิ้งไว้ ทำให้มีการระเหยของสารเคมีในเนื้อเรซิ่น ถ้ายังไม่ได้ใช้ หรือใช้ไปแล้วส่วนนึง ควรเก็บในที่แห้ง ในอุหภูมิห้อง(เรซิ่นจะชอบอุณหภูมิต่ำ ในอุณหภูมิ 25-30 องศา) อยู่ภายในร่ม แต่ต้องเลี่ยงการโดนแสงแดด และที่สำคัญ ปิดภาชนะให้สนิทที่สุด
ความชื้นในอากาศ : ส่งผลทำให้อายุของเรซิ่นสั้นลงอย่างรวดเร็ว จึงควรปิดฝาภาชนะเรซิ่นให้สนิท เพราะถ้าหาก เรซิ่นสัมผัสโดยตรงกับอากาศที่มีความชื้นสูง เรซิ่นจะมีอายุการใช้งานสั้นลงกว่าปกติได้ และเมื่อนำออกมาใช้งานจะมีความเพี้ยน ไม่เสถียรของการเซตตัวได้
ภาชนะ : ที่เป็นประเภท โลหะ อย่างเช่น ปี๊ป หรือ ถัง จะเก็บรักษาอายุเรซิ่นให้อยู่นานกว่า ภาชนะที่เป็นพลาสติก เพราะปี๊ปและถังเป็นเหล็ก จะทึบแสง แสงไม่ผ่านเข้าถึงเรซิ่น แต่ถ้าเป็นภาชนะพลาสติกควรใช้เป็น พลาสติกที่มีความหนา ก็จะสามารถเก็บไว้ได้นานเหมือนกัน
การผสม โคบอลต์ (ตัวม่วง) : เมื่อเรซิ่นผสมโคบอลต์ เรียบร้อยแล้ว จะทำให้อายุสั้นลงอย่างรวดเร็วกว่าเรซิ่นที่ยังไม่ได้ผสม โคบอลต์ จึงไม่ควรผสม โคบอลต์ในเรซิ่นแล้วเก็บทิ้งไว้นาน แต่ควรใช้งานก่อน2สัปดาห์ หากผสม โคบอลต์แล้ว
ปัจจัยที่ควรระวังมากที่สุด ที่มีผลกระทบต่ออายุการเก็บรักษาเรซิ่น
5 วิธีสังเกตุว่า เรซิ่นหมดอายุแล้วหรือยัง
หลาย ๆ คนซื้อน้ำยาเรซิ่นมาแล้วใช้งานไม่หมด พอกลับมาใช้น้ำยาเรซิ่นขวดนี้อีกครั้ง อาจจะยังไม่รู้ว่า วิธีสังเกตุว่า เรซิ่นของเราหมดอายุแล้วหรือยัง วันนี้ ResinSj มี 5วิธีสังเกตุว่า เรซิ่นหมดอายุแล้วหรือยัง มาดูกันได้เลย
ถ้าหากเรซิ่นที่หมดอายุแล้ว จะเป็นแบบนี้
1. เรซิ่นจะเริ่มหนืดขึ้น จากที่เคยเป็นของเหลวไหลง่ายๆ จะเป็นของหนืดที่ไหลยากกว่าเดิม การหนืดขึ้นส่งผลเสียทำให้ไม่สามารถผสมกับตัวเร่งได้ทั่วถึง การเซทตัวของเรซิ่นจะไม่สมบูรณ์แบบ เซตตัวแล้วชิ้นงานอาจไม่แข็งแรง
[ เพราะปกติแล้ว น้ำยาเรซิ่นจะเป็นของเหลวใส จะเซ็ทตัวก็ต่อเมื่อ นำโคบอลต์และตัวเร่งแข็ง มาผสมตามอัตราส่วนที่เหมาะสม ]2. จับตัวกันเป็นก้อน บางส่วน บางจุด เช่นจับตัวแข็ง จับตัวเป็นเจล ตรงนั้น ตรงนี้ เป็นการจับตัวที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้การเซทตัวไม่เสถียร แข็งบ้าง นิ่มบ้าง ไม่เซทแข็งแรงสมบูรณ์
3. คุณสมบัติที่เปลี่ยนไป ชิ้นงานที่ทำจากเรซิ่นที่หมดอายุ ในงานไฟเบอร์กล๊าสอาจกรอบแตกง่าย ไม่เหนียว ไม่แข็งแรงเท่าที่เคยเป็น ในงานหุ้มคาร์บอนไฟเบอร์ หากเรซิ่นหุ้มนานๆ เราอาจใช้งานแค่เป็นเรซิ่นไฟเบอร์กล๊าสธรรมดาใช้กับใยแก้ว แทนที่จะใช้กับผ้าคาร์บอนไฟเบอร์
4. สีเหลืองขึ้น ( ในเรซิ่นหล่อใส ที่ต้องการความใส ) สีเรซิ่นที่อายุเยอะ จะมองเห็นสีเพี๊ยนไปจากเดิม ในเรซิ่นหล่อใสสีจะออกเหลือง ในเรซิ่นที่หล่อทั่วไป ที่โปรโมทโคบอลเคยเป็นสีชมพู ก็จะซีด หรือ ออกเหลืองๆ
5. แห้งช้า จนไม่แห้ง หรือ แห้งเร็ว จนควบคุมไม่ได้หลังจากคุณสมบัติเปลี่ยนไป ทำให้การแห้งตัวเซทตัวไม่เหมือนเดิม ซึ่งอาจจะทำให้เราไม่สามารถควบคุมชิ้นงานเรซิ่นนั้น ๆ อาจเกิดการแห้งช้า จนไม่แห้ง หรือ แห้งเร็ว จนควบคุมไม่ได้
แนะนำวิธีเก็บรักษาให้นานที่สุด
เอสเจแนะนำ แบบสั้น ๆ กระชับ
ควรเก็บไว้ในภาชนะที่ทึบแสง และปิดภาชนะให้สนิท
เก็บไว้ในที่มิดชิด
เลี่ยงไม่ให้โดนแสงแดด
เลี่ยงไม่ให้โดนฝน และละอองฝน
งานนี้ใช้เรซิ่นเท่าไร ?? resinSj มี วิธีการคำนวณเรซิ่นแบบง่ายๆ เพียง 4 ขั้นตอนได้เลยที่นี่
กรอกความหน้า x มิล
กรอกความกว้าง x เมตร
กรอกความยาว x เมตร
ดูปริมาณเรซิ่นที่ควรจะซื้อ ได้เลยจ้า
เพียงเท่านี้ เราก็สามารถซื้อเรซิ่นในปริมาณที่เราจะใช้ เพื่อลดความเสี่ยงที่เราซื้อมาเกิน จนทำให้เรซิ่นหมดอายุไปในที่สุด
มาตรการความปลอดภัยเมื่อทำงานกับเรซิ่น
เรซิ่นถือว่าเป็นสารหนืด และ เหนียวที่แข็งตัวเต็มที่ ในอุณหภูมิห้อง กับช่วงเวลาที่กำหนด เพราะฉะนั้น เราควรระมัดระวังในการป้องกันเฟอร์นิเจอร์ และ เสื้อผ้าของเรา จากคราบเรซิ่น และอย่าลืมที่จะ ต้องระมัดระวังเพื่อปกป้องสุขภาพของเราด้วย เรซิ่นทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้หากสัมผัสกับผิวหนัง
ดังนั้นเรา จึงควรสวมถุงมือไนโตร แบบใช้แล้วทิ้ง และ เสื้อผ้าแขนยาว นอกจากนี้ เราควรงดอาหารและเครื่องดื่มในบริเวณใกล้เคียงกับเรซิ่น ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจาก เรซิ่น (โพลีเอสเตอร์ เรซิ่น) ติดไฟได้ นอกจากนี้ แนะนำให้ใช้หน้ากากป้องกันระบบทางเดินหายใจ ถือเป็นอุปกรณ์ในการเพิ่มความปลอดภัยกับสุขภาพของเรา
เห็นไหมครับ การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ให้เหมาะสมกับประเภทของเรซิ่น ไม่ยากอย่างที่คิดเลยใช่ไหมครับ ต่อจากนี้ไปจะเป็นไอเดียงานเรซิ่นต่าง ๆ ไว้ให้ทุกคนได้รู้จักและลองทำไปด้วยกันนะครับ
5+1 ไอเดีย ทำที่บ้านได้ง่าย ๆ ดังนี้
เพิ่มมูลค่าโต๊ะไม้ด้วยเรซิ่น
การเพิ่มมูลค่าโต๊ะไม้ผสานด้วยเรซิ่น ถือเป็นงานที่คนส่วนใหญ่นิยมนำเอาไปต่อยอด จากเศษไม้ หรือ โต๊ะไม้ธรรมดา แล้วนำมาเคลือบหน้าโต๊ะให้ใส หรือตกแต่งให้สวยงาม ตามความต้องการ ด้วยการเอาเรซิ่นไปเทใส่ร่องไม้ที่เราต้องการจะเท เพื่อให้เกิดรอยที่สวยงาม หรือนำไม้มาผสานรวมกับเรซิ่น อ่านเพิ่มเติม
วิธีทำเคสเรซิ่น ง่ายๆ ทำเป็นของขวัญก็ได้ ทำใช้เองก็ดี
มาดูวิธีนำเรซิ่นไปทำเคส เรซิ่นใช้เอง ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน คลิกเลยที่นี่
How to ทำแม่พิมพ์ กิ๊บติดเรซิ่น จากดินน้ำมัน 3 ชนิด
ถือว่าเป็นของคู่กันกับ สาว ๆ ที่เหมาะสมกับมือใหม่ สำหรับสาว ๆ ไหนที่พึ่งกำลังเข้าวงการเรซิ่น อาจจะลองมาทำกิ๊บติดผมเป็นงานอดิเรกก็ถือว่าไม่แย่นะครับ เพราะสามารถนำไปใช้เองได้ หรือทำเป็นของขวัญให้พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อน ๆ ตามโอกาสต่าง ๆ เห็นไหม ทำได้หลายอย่าง แถมยังราคาประหยัดด้วย อ่านเพิ่มเติม
สร้างที่ทับกระดาษน่ารักๆ ด้วยอีพ็อกซี่เรซิ่น และ เปลือกหอย
เป็นผลงานที่ทำง่าย ที่ทับกระดาษน่ารักๆ ไม่เหมือนใคร ชิ้นเดียวในโลก ทำได้ทั้งมือใหม่ และมือเก่า ด้วยอีพ็อกซี่เรซิ่น และ เปลือกหอย อ่านเพิ่มเติม
วิธีซ่อม หลังคารั่ว และ ช่วยเพิ่มความแข็งแรง ด้วยใยแก้ว
หลังคาที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ก็ต้องมีการสึกหรอ หรือชำรุด เป็นปกติ ทั้งผ่านร้อน ผ่านฝน มากมาย ก็ต้องมีรั่ว ผุพัง เอสเจแนะนำใยแก้ว ที่ช่วยซ่อมหลังคารั่ว ทั้งเสริมความแข็งแรงให้หลังคาอีกด้วย เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นไปอีก ถือว่า ได้ทั้ง ซ่อม แข็งแรง และยืดอายุให้นานขึ้น
วัสดุ และ อุปกรณ์ในการซ่อม
เมื่อเตรียมวัสดุอุปกรณ์เสร็จแล้ว เริ่มลงมือกันเลย อ่านเพิ่มเติม
นอกจากจะสร้าง โต๊ะไม้ผสานเรซิ่น เคสโทรศัพท์ กิ๊บติดผม ที่ทับกระดาษ ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับ ถาดเสิร์ฟ หรือจะเป็นที่รองแก้วน้ำ ก็ได้ นอกจากนี้คุณสามารถใช้เพื่อ เคลือบเงาแก้วน้ำ หรือจะทำอย่างอื่นตามความคิดสร้างสรรค์ได้เลย
วิธีลบรอยขูดรถด้วยงบไม่เกิน 100 บาท
ปัญหาหลักของคนขับรถหลาย ๆ คน คือ ที่เกิดจากการชนไม่ว่าจะตั้งใจ หรือไม่ได้ตั้งใจ กลับมาดูอีกทีก็มีรอยขีดข่วนแล้ว (เราจะไม่พูดถึงรอยใหญ่ๆ หรือรอยยุบ อันนั้นงบน่าจะบานปลายเยอะเกินไป) วิธีนี้สำหรับรอยที่มาจากสีของรถคันอื่น หรือสีจากที่อื่นที่มาติดรถเรา แต่รอยบนรถเราก็ทำได้เหมือนกันแค่ต้องหาสีมาเติมใส่ให้รอยหายไป วิธีนี้จะเป็นแค่การทำให้รอยสีจากที่อื่นที่มาติดหายและรถกลับมาเงาวับเหมือนเดิม เพื่อไม่ให้เสียเวลาเราไปดูกันเลยดีกว่า คลิกเลยที่นี่
7 คำถามที่พบบ่อยในงานโพลีเอสเตอร์เรซิ่น
ทางเอสเจได้รวบรวมคำถามยอดฮิตที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยมากๆ ในงานโพลีเอสเตอร์เรซิ่นนี้เกิดจากอะไร จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
1. โพลีเอสเตอร์เรซิ่นไม่แข็งตัว เกิดจากอะไร
– องค์ประกอบที่จะทำให้โพลีเอสเตอร์เรซิ่นแข็งตัวนั้นต้องประกอบไปด้วย โคบอลต์และตัวเร่ง โดยจะมีข้อห้าม คือ ห้ามนำโคบอลต์และตัวเร่งมาผสมกันเด็ดขาด จะทำให้เกิดความร้อนสูงและควันขึ้น หรืออาจเกิดไฟได้ ไฟลุกแบบนี้เลย
2. โพลีเอสเตอร์เรซิ่นแข็งตัวช้าหรือแข็งตัวบางส่วน เกิดจากอะไร
2.1. ใส่ตัวเร่งและหรือโคบอลต์น้อยเกินควร
– ควรทดสอบอัตราส่วนการใช้ตัวเร่งให้เหมาะสม หากเทโพลิเอสเตอร์เรซิ่นลงในแม่แบบแล้วยังเหลวไม่แข็งตัวภายใน 30 นาที
ให้เทออก แล้วผสมตัวเร่งแข็งลงไปเพิ่ม หากโพลีเอสเตอร์เรซิ่น เริ่มแข็งตัวแล้วต้องปล่อย ทิ้งให้แข็งตัวต่อไปหรือใช้ความร้อน เช่นแสงแดด, ไฟอบแห้ง ช่วยเร่งให้แข็งเร็วขึ้นก็ได้
2.2. ผสมตัวเร่งแล้วกวนไม่เข้ากัน
– จะสังเกตุได้ด้วยการไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน ทางเอสเจแนะนำ ควรใช้ไม้กวนที่มีลักษณะแบนเรียบ และภาชนะที่เรียบ แล้ว
กวนไปในทิศทางเดียวกัน
2.3. ทำงานในที่มีอากาศเย็น, มีความชื้นหรือฝนตก
– ในสภาวะที่มีอากาศเย็นกว่าปกติ หรือมีความชื้นในอากาศมากกว่าปกติ ควรต้องเพิ่มปริมาณตัวเร่ง หรือให้ความร้อนกับชิ้นงาน และควรหลีกเลี้ยงการทำงานในที่ ๆ มีความชื้นสูง เพราะโพลีเอสเตอร์เรซิ่นไม่ถูกกับน้ำ และ อากาศที่ชื้นมาก ๆ
3. ชิ้นงานหน้าเหนียวเหนอะ ไม่แห้งสนิท จับเป็นรอยนิ้วมือ
– หากเจอปัญหาชิ้นงานเหนียวหน้าหรือชิ้นงานไม่ใสเท่าที่ควร ให้นำชิ้นงานไปแช่น้ำที่ผสมแฟ๊ป หรือเช็ดคราบเหนียวด้วยผ้าชุบ
อะซิโตนชุ่ม ๆ จากนั้นล้างน้ำให้สะอาด ขัดด้วยกระดาษทรายไล่เบอร์และลงครีมเคลือบเงาตามลำดับ
4. เนื้อชิ้นงานแตกร้าว เกิดจากอะไร
– เกิดจากการใช้ตัวเร่งเยอะเกินอัตราส่วนที่เหมาะสม เอสเจแนะนำ ควรใช้ตัวเร่งให้เหมาะสมกับปริมาณของโพลีเอสเตอร์เรซิ่นที่จะใช้ ทั้งนี้เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างโพลีเอสเตอร์เรซิ่นกําลังจะแข็งตัวจะสะสมกัน และจะเพิ่มมากขึ้นชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนโมลด์หน้าเปิดความร้อนสะสมจะเฉลี่ยกันออกไป และความร้อนที่เกิดขึ้นสามารถระบายได้เร็วกว่า เพราะมีผิวหน้ากว้างกว่าชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นก้อน วิธีลดความร้อนที่เกิดขึ้นหลังจากโพลีเอสเตอร์เรซิ่นเริ่มแข็งตัว ทําได้โดยใช้ลม เป่า จุ่มน้ำ หรือตั้งในที่มีความเย็น ชิ้นงานที่สามารถถอดออกจากแม่แบบได้ง่ายเช่น ชิ้นงานแผ่นแบน ชิ้นงานรูป นูนและชิ้นงานรูปลอยตัวชนิดเป็นก้อนกลมไม่มีส่วนละเอียดยื่นมาก ควรรีบถอด ออกจากแม่แบบทันทีเมื่อโพลีเอสเตอร์เรซิ่นแข็งตัวแล้ว เพราะจะช่วยระบายความ ร้อนที่เกิดขึ้นจากภายใน ป้องกันเนื้อชิ้นงานแตกร้าว อีกทั้งจะยืดอายุการใช้งาน ของแม่แบบยางซิลิโคนและสามารถนําแม่แบบไปหล่อชิ้นงาน ชิ้นต่อไปได้อีกชิ้นงานที่เนื้อแตกร้าวแล้วไม่มีวิธีแก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากต้องป้องกันไว้ก่อน
5. ผิวชิ้นงานแหว่ง หรือเป็นรูฟองอากาศ
– หล่อชิ้นงานไม่เต็มเพราะมีฟองอากาศ เพราะไม่เข้าใจวิธีการหล่อดีพอหรือยังหล่อไม่ชํานาญพอ การหล่อชิ้นงานบางชนิดจะมีปัญหาเรื่องฟองอากาศมาก วิธีแก้อาจทําได้คือ หล่อกลิ้ง ( หมุน กลิ้งแม่พิมพ์จนกว่าเรซิ่นจะเซต ) ชิ้นงานในส่วนที่คาดจะเกิดฟองอากาศให้เต็มเสียก่อนจึงค่อยเทหล่อเต็มภายหลัง เอียงแม่แบบแล้วค่อย ๆ เทโพลีเอสเตอร์เรซิ่นลงไป โดยผสมตัวทําให้ แข็งน้อย ๆ ประมาณ 0.3% ให้โพลีเอสเตอร์เรซิ่นปรับระดับสูงขึ้นพร้อมทั้งไล่ฟอง อากาศออกด้วย เทโพลีเอสเตอร์เรซิ่นลงในแม่แบบในตู้สุญญากาศ-แวคคั่ม ซึ่งวิธีนี้ทําได้รวดเร็ว และประหยัดเวลามาก
หรือใช้แปรงหรือพู่กันจุ่มโพลีเอสเตอร์เรซิ่นแล้วขยี้ให้ทั่วบริเวณนั้น ๆ ก่อน เทโพลีเอสเตอร์เรซิ่นให้เต็ม หากชิ้นงานที่หล่อออกมาแหว่งหรือเป็นรูฟองอากาศ เราแก้แต่งงานด้วยการใช้ผสมโพลีเอสเตอร์เรซิ่นเทอุด ทับลงไป ทิ้งให้แห้งแข็งตัวแล้วจึงขัดตกแต่งต่อไป หมายเหตุ ในการหล่อชิ้นงานควรเก็บโพลีเอสเตอร์เรซิ่นที่ผสมแล้ว (แต่ยังมิได้ใส่ ตัวทําให้แข็ง) ไว้บ้าง เพื่อการเทเติมส่วนที่แหว่งหรือเป็นรูในภายหลัง ส่วนที่เติมจะได้มีสีเหมือนเดิม
6. ถ้าใส่ตัวเร่งเยอะเกินได้ไหม
– การที่เราผสมตัวเร่งเยอะเกินอัตราส่วนที่ควรจะใส่ ทำให้แห้งเร็วมาก ร้อน แตกร้าวได้ง่าย ชิ้นงานไม่แข็งแรง และ ทำงานไม่ทัน ทำให้ชิ้นงานเสียหาย
7. เมื่อโพลีเอสเตอร์เรซิ่นผสมโคบอลต์กับตัวเร่งแล้วมีระยะเวลาทำงานกี่นาที?
– เมื่อเรซิ่น ผสมโคบอลต์กับตัวเร่งแล้ว มีเวลาทำงานประมาณ 10 นาที (บวกลบ) ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ควรผสมแต่พอดี เพื่อไม่ให้เรซิ่นแห้งคาถัง
การทำเรซิ่นเป็นงานเสริมอาจจะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่สามารถเพิ่มเงินให้คุณได้ เพราะ เรซิ่นถือเป็นงานที่มีราคาการซื้อขายที่สูง สาเหตุหลักเป็น การทำเรซิ่นอาจมีค่าใช้จ่ายสูง ยิ่งคุณสร้างงานศิลปะเรซิ่นที่ใหญ่กว่า นั่นเป็นเหตุผลที่การซื้อชิ้นงานศิลปะเรซิ่นที่มีมูลค่าสูงมาก
คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับเรซิ่น ที่มือใหม่มักจะถาม คืออะไร ?
ไม่มีประสบการณ์ในการทำงานเรซิ่นเลย ยากไหมครับ ?
หากคุณไม่เคยใช้ศิลปะเรซิ่นมาก่อน มันอาจจะดูน่ากลัว ดูทำยาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว เรซิ่นเป็นของเหลวที่สามารถนำมาขึ้นรูปได้ตามจินตนาการ เป็นสื่อที่เรียบง่ายที่ช่วยให้คุณตอบสนองความคิดสร้างสรรค์ ของคุณ ในแบบที่สื่อ ๆ ไม่สามารถทำแทน หากคุณประหม่า ให้เริ่มต้นจากสิ่งเล็ก ๆ และมุ่งไปสู่การหล่อชิ้นงานให้ใหญ่ขึ้น แต่รับรองได้ว่า ถ้าหากเราทำงานเรซิ่นได้ จะสนุกมาก และยิ่งฝึกฝนเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด จะทำให้ชิ้นงานดีขึ้น และทำงานง่ายขึ้นมาก
เรซิ่น เป็นอันตรายไหมคะ ?
แม้ว่าเรซิ่นจะมีสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ตราบใดที่มีเครื่องมือป้องกันเช่นการสวมถุงมือไนโตร และหน้ากากป้องกันการหายใจ เพื่อป้องกันก่อนที่จะใช้งาน จะช่วยให้ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณอย่างมีนัยสำคัญ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณทำงานในพื้นที่ลมโกรกที่มีการระบายอากาศที่ดีเสมอเมื่อทำงานกับเรซิ่น
ป้องกันชิ้นงานเรซิ่น จากฝุ่นละออง ได้อย่างไร ในขณะที่รอให้ชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์ ?
เนื่องจากงานชิ้นงานเรซิ่น ต้องใช้เวลานานในการเซตตัวเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2-24 ชั่วโมง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการปกป้องพื้นผิวจากฝุ่นและละอองอื่น ๆ คุณสามารถใช้กระดาษแข็งหรือกล่องพลาสติกปิดฝาได้ เพียงต้องแน่ใจว่ามันสะอาด คงจะไม่มีใครที่ต้องการให้ฝุ่นละออง มาเกาะกับชิ้นงานเรซิ่นของตัวเองแน่นอน
หลังจากรู้จักเรซิ่นเบื้องต้นไปแล้ว สุดท้ายนี้จะขอกล่าวถึงข้อควรระวังในการใช้เรซิ่นกันบ้างนะครับ
4 ข้อควรระวังเกี่ยวกับการกำจัดเรซิ่น
1. ห้ามเทสารเคมีลงในท่อระบายน้ำ หรือในห้องน้ำของคุณเอง
เพราะสารเคมีเหล่านั้น อาจจะสร้างความเสียหายให้กับท่อของคุณ ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่เกิดจากความร้อน หรือการที่เรซิ่นสามารถไปแข็งตัวอุดตันภายในท่อได้
นอกจากนี้ สารเคมีเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำได้อีกด้วย
ดังนั้นจะขอพาไปดูวิธีการกำจัดเรซิ่นที่ถูกต้องกันบ้างนะครับ
2. หากคุณมีเรซิ่นเหลือในภาชนะ ให้ปิดฝาให้แน่นก่อนทิ้งลงในถังขยะ
เมื่อคุณใช้เรซิ่นจนหมดแล้ว ให้ปิดฝาให้แน่นแล้วนำไปทิ้งขยะได้เลย แต่หากว่ายังมีเรซิ่น หรือ สารเพิ่มความแข็งเหลืออยู่เล็กน้อย
คุณสามารถนำมาผสมกันคล้ยกับตอนที่ทำเรซิ่นปกติ จากนั้นปล่อยให้แข็งตัว แล้วทิ้งขวดนั้นพร้อมกับถุงขยะในครัวเรือนได้เลย
3. ถ้าเรซิ่นของคุณแห้งสนิทแล้ว สามารถทิ้งลงในถังขยะได้เลย
หากคุณกำลังทำงานกับเรซิ่นผสมมาเยอะเกินไป และไม่ต้องการใช้ทั้งหมด เมื่อเรซิ่นแห้งสนิทแล้ว สามารถนำไปทิ้งลงถังขยะได้เลยครับ เพราะเรซิ่นที่แห้งสนิทแล้วจะไม่สามารถทำอันตรายใด ๆ ได้อีกไม่ต่างจากขวดน้ำหรือขยะทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ขอย้ำอีกครั้งว่าจะต้องแห้งสนิทแล้วเท่านั้นนะครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมการเลือกใช้ เรซิ่นอีกชนิดนึง [ อีพ็อกซี่เรซิ่น เลือกตัวไหนใช้งานให้เหมาะสม ] ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
เรซิ่นขายส่ง พื้นที่ใกล้เคียง /ทั่วประเทศ ให้คำปรึกษาครบวงจร
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"
คุณอาจจะสนใจบทความนี้…