fbpx

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

โทร :
, 02-379-4555
, 02-379-4575

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

วิธีทำโต๊ะไม้เรซิ่น โต๊ะแม่น้ำ Resin Wood | เรซิ่นเอสเจ

10 ขั้นตอนง่ายๆ ในการหล่อชิ้นงานเรซิ่น ผสานกับไม้ เพื่อทำหน้าโต๊ะไม้เรซิ่น จะมีรูปแบบอิสระ สวยงาม และแปลกแตกต่าง

วิธีทำง่าย ๆ เริ่มจากการเลือกใช้เรซิ่นอีพ็อกซี่ที่มีชื่อว่า Resin Glass อัตราส่วนตามบรรจุภัณฑ์ เป็นเรซิ่นที่ทำมาเพื่อให้มีการยึดเกาะ ผสานไม้ได้ดีมาก มีระยะเวลาเซทตัวที่เหมาะสม มีความเหลวที่เหมาะกับการผสมสี และผงมุกที่เลือกมาสร้างสรรชิ้นงานค่ะ เรามาดูขั้นตอนง่ายๆที่ทำได้จริง ดังต่อไปนี้กันค่ะ

ไม้ที่เราจะนำมาผสานกับเรซิ่น ให้กลายเป็น “โต๊ะไม้เรซิ่น” ต้องเป็นไม้ที่ไม่มีความชื้น (เพราะเรซิ่นจะกลัวน้ำ ไม่ชอบความชื้น ความชื้นทำให้เกิดคราบ และขึ้นฝ้าขาว)  เมื่อไม้แห้งมั่นใจแล้ว สร้างบล็อคไม้ วิธีการประกอบบล็อคไม้สำหรับหล่อเรซิ่น ตามลิงก์นี้ได้เลย คลิก!

*** ไมล่าร์เป็นแผ่นฟิลม์ใสๆ ซึ่งปกติใช้กับอุตสาหกรรมเคลือบรูปวิทยาศาสตร์ / แผ่นฟิลม์ไมล่าร์เป็นวัสดุเดียวที่แกะแล้วร่อนชิ้นงานเรซิ่นออกมาได้ง่าย และสวย ที่สุดเท่าที่แอดมินเคยเห็นมาค่ะ

-ตั้งระนาบ ให้ตรง ไม่เอียงไปด้านใด เพราะระยะเวลาเรซิ่นเซท จากของเหลวเป็นเจลนั้น ใช้เวลา ถ้าพื้นเอียง ชิ้นงานเราจะเอียงไม่เท่ากันได้ ต้องมาขัดออก เป็นการเปลืองเวลาและสิ้นเปลืองวัตถุดิบเรซิ่น

  • ในอณูของไม้ จะมีรูพรุน บางครั้งเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่เชื่อเถอะว่า มีค่ะ และ รูเหล่านี้จะสร้างปัญหาให้งานเรซิ่นของเรามาก  กล่าวคือ เมื่อน้ำเรซิ่นที่เป็นของเหลว ระยะเวลาก่อนเจล 30นาที  เรซิ่นจะไหลแทรกไปได้ทั่ว ไหลเข้าไปตามรูพรุนดันอากาศออกมาแทน ทำให้ชิ้นงานเกิดฟองอากาศ  ถ้าฟองอากาศออกมาเร็ว ชิ้นงานก็ไม่มีปัญหาใดๆ เมื่อเรามองเห็นฟองเราก็ไล่ฟองออก เขี่ยฟองออกได้ แต่บางครั้งฟองที่เกิดอาจเล็ดลอดสายตาเราได้ หรือ ฟองเกิดตอนเรซิ่นใกล้เจลแล้วลอยออกไม่ทัน ทำให้ชิ้นงานไม่สวยงาม (อาจทำได้แค่เจาะคว้านรูปแล้วหยอดเรซิ่นถมให้เต็ม)

ดั้งนั้น เราต้องกันไว้ดีกว่าแก้ วิธีป้องกันที่ดีคือ ผสมเรซิ่นอัตราส่วนตามบรรจุภัณฑ์ ทาที่ด้านข้างของไม้ เพื่อบล็อคไม่ให้ฟองเข้าหรือออกได้  รอเวลาเรซิ่นเซทตัว (อาจไม่ต้องครบ24ชั่วโมงเหมือนตอนทำชิ้นงานก็ได้  รอแค่ 1-2ชม. ให้เรซิ่นเซทไม่ไหลไปไหนแล้วก็พอค่ะ)   แล้วค่อยทำงานขั้นตอนต่อไป

*** เราใช้คีมล็อค หนีบ บีบแผ่นไม้ให้แนบแน่นกับบล็อคไม้ค่ะ เพื่อไม่ให้เรซิ่นไหลลอดเข้าไปด้านใต้แผ่นไม้ (เปลืองกับเสียเวลาต้องมาขัด)

เตรียมผสมเรซิ่น อัตราส่วนตามบรรจุภัณฑ์ ผสมสีตามต้องการ ในที่นี้เลือกใช้สีน้ำเงินใสโปร่งแสง กับ ผงมุกขาว

ผสมในเรซิ่น Part ใด Part หนึ่งค่ะ คนผสมให้เข้ากัน (อย่าเพิ่งผสม อีกpart เข้าด้วยกันนะคะ แต่งสีให้ถูกใจได้ ใจเย็นๆ ตราบใดที่ยังไม่ผสมอีกส่วนของเรซิ่น ก็จะยังไม่เกิดปฏิกิริยาค่ะ)

  • เทผสมอีกpart ของเรซิ่น เข้าด้วยกัน ตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ให้ในบรรจุภัณฑ์ คนผสมด้วยไม้พาย (ไม้คนควรมีลักษณะแบน เรียบหน้ากว้าง เพื่อให้ผิวสัมผัสกว้าง คนผสมได้ดี) ที่ต้องเน้นคือส่วนขอบและก้นภาชนะค่ะ

*** เรามีทริคเล็กๆในการมั่นใจว่าส่วนผสมเข้ากันดี ทริคนั้นคือ ถ่ายเรซิ่นที่คนผสมแล้ว ใส่ภาชนะใบใหม่ โดยไม่ต้องโกยเรซิ่นที่ติดก้นหรือขอบภาชนะใบแรกตามมาด้วย อย่าเสียดายเรซิ่นที่ติดขอบติดก้นค่ะ

**แล้วใช้เรซิ่นที่ถ่ายใส่ภาชนะใบที่2เท่านั้น (การทำเช่นนี้เพื่อป้องกันการคนผสมไม่เข้ากันค่ะ เพราะไม่มีวิธีแก้ให้น๊าาา ถ้างานแห้งบ้างไม่แห้งบ้างนี่ทิ้งอย่างเดียวเลยค่ะ)

  • เทเรซิ่นที่พร้อมแล้ว ลงบล็อคที่เตรียมไว้ ระวังไม่ให้ฝุ่นจับ สามารถเทหนาทีเดียว 2นิ้วได้ อาจมีควันจากการเกิดปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้บ้าง ในนาทีที่ 25 ควันเกิดไม่นาน แล้วก็หายไปค่ะ

ใช้ไม้สะอาดกวน หรือ วาดลวดลายตอนเรซิ่นเป็นของเหลวค่ะ วาดได้ตามจินตนาการเลยค่ะ ถ้าวาดตอนเรซิ่นเซทนิดๆ ลายจะอยูคงทน ชัดเจนกว่าตอนเรซิ่นยังเหลวอยู่ นี่คือความแปลกและแตกต่างในการทำงาน Art จากเรซิ่นค่ะ

ฟองอากาศ สีขาวๆลอยขึ้นเป็นแนว เราใช้เปลวไฟ ลนผ่านๆ พริ้วๆ (ไม่ลนค้างไว้นานๆ) ลนผ่านฟองเพื่อให้ฟองอากาศแตกเปรี๊ยะออกไปค่ะ  [ระมัดระวังในการใช้ความร้อนจากไฟนี้นะคะ และ วิธีการนี้ใช้ได้กับเรซิ่นชนิดอีพ็อกซี่เรซิ่นเท่านั้นค่ะ ห้ามใช้กับโพลีเอสเตอร์เรซิ่น เพราะ โพลีเอสเตอร์จะมีคุณสมบัติไวไฟ เจอเปลวไฟแล้วไฟลุกทันทีเลย แต่งานนี้เราใช้อีพ็อกซี่เรซิ่น จึงใช้เทคนิคไล่ฟองแบบนี้ได้]

  • ตั้งทิ้งไว้ 24 ชม.ยิ่งนานยิ่งแกร่ง

***ระวังฝุ่นละอองปลิวลงชิ้นงานนะคะ

  • เคาะบล็อคไม้ออกอย่างง่ายดายค่ะ ชิ้นงานเรซิ่นร่อนออกง่าย ชริ๊งส์! ใช้เครื่องมือเช่นค้อน ลิ่มถอดแบบ เกียงแซะขอบ เครื่องมือพื้นๆค่ะ ไม่ต้องเฉพาะทางแต่อย่างใด
  • ขัดผิวหน้าให้เรียบ (เรซิ่นมีการหดตัวบ้างนิดนึง)
  • ปัดเงางานเรซิ่น ตามสไตล์ที่ชอบ เงามาก เงาน้อย หรือ ไม่เงา ผิวด้านก็คลาสสิคดีค่ะ ขอแค่ต้องขัดให้เรียบก่อน มีเทคนิค การขัดเรียบมาฝากที่ลิ้งค์นี้ค่ะ คลิก ช่วงนี้แอดมินอยากเห็นผิวเงาก็ต้องปั่นกันหน่อยนะคะ

เรียบร้อย เสร็จงานแล้วค่าาา โต๊ะไม้เรซิ่นของเรา หลังจากนั้นทำขาตั้งตามสไตล์ที่ถนัดกันต่อได้เลย เอสเจส่งได้ไกลสุดแค่จบงานเรซิ่น

คิดถึงเรซิ่น คิดถึงเอสเจน๊าาา

อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ

ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ

สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604

โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”

Picture of ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ

พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"

สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อติดต่อ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-379-4555 , 02-379-4575 , 02-379-4604

โทรศัพท์มือถือ : 088-299-0267 , 086-317-1747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

รอบจัดส่ง