การที่เราเลือกเรซิ่นมาใช้ทำชิ้นงานหนึ่งของเรา แต่เรซิ่นกลับไม่เซ็ตตัว หรือ เซตตัวไม่ใช่ของเหลวแล้วแต่ผิวงานเรซิ่นยังเหนียวเหนอะหนะแทน มีหลายรูปแบบของความเหนียวจากงานเรซิ่น
โดยปกติ เรซิ่นจะเซตตัวโดยมีสเตปดังนี้ ของเหลว-เป็นเจลลี่-เป็นของแข็ง
ซึ่งการที่เรซิ่นเหนียวมักจะมีหลายเหตุผลเข้ามาเกี่ยวข้องและทำให้เกิดขึ้นได้ ดังนี
เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ :))
เหตุผลที่ 1: อัตราส่วนของเรซิ่นต่อตัวเร่งแข็งไม่ถูกต้อง
การชั่งอัตราส่วนของเรซิ่นของทุกคนอย่างแม่นยำนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก วิธีที่ดีที่สุดที่ทุกคนสามารถทำได้คือใช้ เครื่องชั่งดิจิตอล ด้วยรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้สิ่งนี้สำคัญยิ่ง
เรซิ่นจะมีความเปลี่ยนแปลงที่สังเกตุได้เมื่อเริ่มปฎิกิริยา เช่นอุณหภูมิความร้อนที่เพิ่มมากขึ้น
สีที่เริ่มเปลี่ยน ในเบสโพลีเอสเตอร์เรซิ่น จากน้ำยาสีชมพู จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาล = เริ่มปฎิกิริยา
เหตุผลที่ 2 :กวนผสมเรซิ่นและตัวเร่งน้อยเกินไป คนเข้ากันไม่ดีพอ
การคนผสมส่วนผสมเรซิ่นโดยเฉพาะด้านข้างและก้นของภาชนะ เรซิ่นและตัวเร่งเป็นของเหลวที่ใส เราไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่าคนเข้ากันดีแล้วหรือยัง การขูดด้านข้างและก้นของถ้วยคนให้เข้ากันให้ดี เป็นเรื่องที่จำเป็น
เราอาจเพิ่มเทคนิค ถ่ายแก้วผสมใบที่2 แล้วคนต่ออีกหน่อย เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าส่วนข้างแก้ว ก้นแก้วจะได้รับการคนผสมอย่างทั่วถึง
เหตุผลที่ 3: มีสิ่งแปลกปลอม ที่ไม่เหมาะสม
เพื่อให้ได้ชิ้นงานที่แข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากส่วนผสมที่ ถูกต้องเหมาะสมแล้ว จำเป็นที่จะต้องระวังส่วนผสมเพิ่มที่ อาจจะใส่ลงไปโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ ต่างๆให้ดี เช่น สีผสม /น้ำ/น้ำมัน/ตัวทำละลายต่างๆ หรือแม้แต่สารที่ละลายออกมาจากแก้วผสม ที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ สามารถปรึกษาจากผู้จำหน่ายเรซิ่นได้
เหตุผลที่ 4: การใช้เรซิ่นและตัวเร่งสองชุดที่แตกต่างกัน
เรซิ่นและตัวเร่งได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้เข้ากันได้โครงสร้างเคมีของ partA และ B ถูกออกแบบมาให้จับคู่กันอย่างเหมาะสม
เราไม่ควรที่จะนำ part A และ part B จากยี่ห้อหนึ่ง มาผสมกับอีกยี่ห้อหนึ่งเด็ดขาด เพราะเราไม่ทราบเลยว่าจะสามารถเซ็ตตัวได้หรือเปล่า
เหตุผลที่ 5: อาจเป็นเรื่องปกติสำหรับการหล่อโพลีเอสเตอร์ เรซิ่น
โพลีเอสเตอร์ เรซิ่น ค่อนข้างแปลกตรงที่พื้นผิวที่สัมผัสกับอากาศระหว่างการเซ็ตตัวจะยังคงเหนียวอยู่แม้ว่าจะเซ็ตตัวเต็มที่แล้วก็ตาม และหากทุกคนคิดจะใช้โพลีเอสเตอร์เรซิ่น ควรรู้สาเหตุและวิธีแก้ผิวเหนอะกับการใช้โพลีเอสเตอร์ เรซิ่นเบื้องต้น
แล้วทุกคนจะทำอย่างไรถ้าผิวเรซิ่นเหนียว ? มีวิธีแก้ไหม งานจะเสียต้องล้างออกก่อนลงชั้นต่อไปป่าว
ไขข้อข้องใจวิธีการเลือกชนิดเรซิ่นสำหรับทำงาน เพื่อไม่ให้เจอปัญหา คลิ๊ก
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"
บทความที่น่าสนใจ