fbpx

หมวดหมู่: โพลีเอสเตอร์ เรซิ่น Polyester Resin

Showing 1–16 of 20 results

วิธีคำนวณเรซิ่น

***คลิ๊ก คำนวนเรซิ่น***

โพลีเอสเตอร์ เรซิ่น Polyester Resin

เรซิ่น ที่มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีความข้นหนืด สามารถเปลี่ยนเป็นของแข็ง เมื่อผสม โคบอลท์ ( Cobalt) และ ตัวเร่งเรซิ่น ( Hardener ) จะเกิดปฏิกิริยาการเซทตัวเป็นของแข็งตามสัดส่วนที่ผสมกัน

✪ โพลีเอสเตอร์ เรซิ่น ลักษณะทางเคมี 

โพลีเอสเตอร์ เรซิ่น เป็นพลาสติกเหลว มีลักษณะหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง มีสีใส มีกลิ่นฉุน แข็งตัวด้วยการผสมกับโคบอลท์และตัวเร่ง เป็นวัตถุไวไฟมีคุณสมบัติแข็ง ใส เงา มีการหดตัวเมื่อทำชิ้นงานเสร็จ ประมาณ 2-3% อยู่ที่การผสมสารเร่งแข็ง ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติก แต่น้อยกว่าโลหะ เมื่อเสริมแรงด้วยใยแก้ว จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น มีน้ำหนักเบา ไม่เปราะ

คุณสมบัติ โพลีเอสเตอร์ เรซิ่น

  • เรซิ่น เป็นของเหลว สีใส มีความหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง
  • ทนความร้อนได้ที่ประมาณ 120 องศา ( ระยะเวลาไม่นาน )
  • มีการหดตัว ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับ อีพ็อกซี่ เรซิ่น ( Epoxy Resin )
  • มีคุณสมบัติเป็นฉนวนทางไฟฟ้า สามารถนำไปใช้เคลือบเป็นฉนวนไฟฟ้าได้ 
  • ใช้เวลาเซทตัว เปลี่ยนเป็นของแข็งรวดเร็ว ตามสัดส่วน โคบอลท์ และ ตัวเร่ง

 

อัตราส่วนการผสมเรซิ่น

เรซิ่น 100% ผสมโคบอลทฺ 0.1% ผสมตัวเร่งแข็งเรซิ่น 0.5% 

ตัวอย่างเช่น เรซิ่น 1กิโลกรัม ผสมโคบอลท์ 1กรัม ผสมตัวเร่งเรซิ่น 3-4กรัม

 

ขั้นตอนการผสมเรซิ่น 

เตรียมเรซิ่นในปริมาณที่ต้องการ แบ่งใสแก้วสำหรับผสม ผสมเรซิ่นกับโคบอลท์คนให้เข้ากัน จนเรซิ่นเปลี่ยนเป็นสีชมพู ใส่ตัวเร่งตามในอัตราส่วนที่เหมาะสม คนให้เข้ากัน สามารถนำไปทำงานได้ทันที

 

**ห้ามผสม โคบอลท์ กับตัวเร่งแข็งเรซิ่น โดนกันโดยตรงเพราะจะทำให้ติดไฟเกิดอันตรายได้

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรซิ่น คืออะไร คลิก

การเลือกเรซิ่น สำหรับมือใหม่ ให้เหมาะสมกับ 10ประเภทของเรซิ่น