เรารู้นะ คุณกำลังเจอปัญหาเรซิ่นเป็นฝ้า เรซิ่นไม่ใส เป็นคราบฝ้าขุ่นๆ ใช่ไหม หรือคุณ คุณกำลังสงสัยว่า ‘ทำไมเรซิ่นของฉันถึงขุ่นมัว’ ซึ่งเมื่อเกิดปัญหา ก็ต้องมีสาเหตุว่าเรซิ่นของเราเป็นฝ้าเกิดจากอะไร แต่ก่อนที่จะหาคำตอบฝ้าในเรซิ่น เรามาทำความรู้จักเรซิ่นกันก่อนนะครับ
เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ :))
เรซิ่น คืออะไร ? ทำมาจากอะไร
เรซิ่น คืออะไร? คือสารที่ได้จากยางเหนียวของต้นไม้หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นมา โพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นชนิดนึงของเทอร์โมเซ็ทติ้ง พลาสติก (Thermosetting plastic มักเรียกสั้นๆ ว่า Thermoset plastic ) เป็นพลาสติกเหลวที่ได้จากการสังเคราะห์ มีความหนืดข้นคง เป็นวัตถุไวไฟชนิดหนึ่ง คล้ายน้ำมันเครื่อง กลิ่นฉุน สามารถแข็งตัวด้วยความร้อนสูงการหดตัว 1-5% หลังเซทตัวเต็มที่ เรซิ่นสามารถหล่อขึ้นรูปทรงได้อิสระมากมายหลากหลายรูปแบบ มีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรม ในชีวิตประจำวันของเราต้องเกี่ยวข้อกับพลาสติกไม่อย่างใดก็อย่างนึง
เรซิ่นมีกี่แบบ
เรซิ่นแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. โพลีเอสเตอร์เรซิ่น [Polyester Resin]
สารที่ได้จากยางเหนียวของต้นไม้หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นมา โพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นชนิดนึงของ
เทอร์โมเซ็ทติ้ง พลาสติก ซึ่งเป็นเรซิ่นที่นิยมใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรม สาเหตุหลักมาจากต้นทุนที่ต่ำกว่าและความสะดวกในการใช้งาน โพลีเอสเตอร์เรซิ่นส่วนใหญ่มักจะยึดติดบนพื้นผิว อ่านเพิ่มเติม
2. อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin]
เป็นเรซิ่นอีกชนิดที่มีความแตกต่างจากโพลีเอสเตอร์อย่างชัดเจนเลยคือ ไม่มีกลิ่นฉุน อัตราการหดตัวที่น้อยกว่า ผิวงานไม่เหนอะมือ และผสมงานง่าย ซึ่งได้รับความนิยมเช่นกันกับโพลีเอสเตอร์เรซิ่น แต่ด้วยเหตุผลที่แตกต่างจากโพลีเอสเตอร์เรซิ่นที่มีความนิยมใช้กัน อีพ็อกซี่จะเหมาะสำหรับชิ้นส่วนประสิทธิภาพสูงและน้ำหนักเบา มีแรงดัดงอมากกว่าโพลีเอสเตอร์เรซิ่นมาก และมีการหดตัวเพียงเล็กน้อย
อีพ็อกซี่เป็นเรซิ่นที่เหนือกว่าและมักถูกเลือกใช้เมื่อทำงานกับการเสริมแรงด้วยคาร์บอนและเคฟลาร์ หากการต้านทานความชื้นเป็นสิ่งสำคัญ คุณจะต้องเลือกอีพ็อกซี่ อีพ็อกซี่เรซิ่นยังมีแรงยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงกว่าโพลีเอสเตอร์เรซิ่นมาก อ่านเพิ่มเติม
แล้ว โพลีเอสเตอร์เรซิ่นกับอีพ็อกซี่เรซิ่น ต่างกันยังไง ซึ่งอาจจะมีหลายปัจจัย
คุณสมบัติของเรซิ่น
เป็นพลาสติกเหลว มีลักษณะหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง มีสีใส มีกลิ่นฉุน แข็งตัวด้วยการผสมกับโคบอลต์และตัวเร่ง เป็นวัตถุไวไฟมีคุณสมบัติแข็ง ใส เงา มีการหดตัวเมื่อทำชิ้นงานเสร็จ ประมาณ 2-3% อยู่ที่การผสมสารเร่งแข็ง ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติก แต่น้อยกว่าโลหะ เมื่อเสริมแรงด้วยใยแก้ว จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น มีน้ำหนักเบา ไม่เปราะ
- เรซิ่น เป็นของเหลว สีใส มีความหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง
- มีการหดตัว ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับ อีพ็อกซี่ เรซิ่น ( Epoxy Resin )
- ทนความร้อนได้ที่ประมาณ 120 องศา ( ระยะเวลาไม่นาน )
- ใช้เวลาเซทตัว เปลี่ยนเป็นของแข็งรวดเร็ว ตามสัดส่วน โคบอลต์ และ ตัวเร่ง
- มีคุณสมบัติเป็นฉนวนทางไฟฟ้า สามารถนำไปใช้เคลือบเป็นฉนวนไฟฟ้าได้
เรซิ่น ใช้ทำอะไรได้บ้าง
น้ำยาสามารถนำไปใช้งานได้มากมายหลายกลุ่มงาน แต่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆที่นิยมใช้ในบ้านเรา ได้แก่
- กลุ่มงานหล่อ ( casting ) หล่อทึบ – หล่อใส – หล่อนิ่ม เช่นหล่อพระ หล่อของชำร่วย หล่อตุ๊กตา หล่อกระดุม หล่อแก้วเทียม ฯลฯ
- กลุ่มงานเคลือบ ( laminate ) เช่นงานเคลือบกรอบรูปวิทยาศาสตร์ เคลือบโฟมขาว หุ้มคาร์บอนไฟเบอร์
- กลุ่มงานขึ้นรูปแบบ ( molding ) เช่นการผลิตงานไฟเบอร์กลาส หรือ FRP ( fiberglass reinforce plastic ) พลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้ว
สาเหตุเกิดฝ้าในเรซิ่น
• ความชื้นหรือความชื้นส่วนเกิน
การทำงานเรซิ่น ควรพึงระวังเรื่องความชื้นเป็นอันดับแรก และควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแม่พิมพ์สะอาด และแห้งสนิทก่อนเท
• เกิดจากการขัดที่ไม่ได้ไล่เบอร์กระดาษทราย
หากเรซิ่นถูกขัดลงไม่ว่าจะเบอร์ไหน ๆ ก็ตาม พื้นผิวจะดูเป็นรอย ใช้กระดาษทรายขัดแบบไล่เบอร์หยาบไปละเอียด จนกว่าผิวจะเรียบมาก
• ฟองอากาศขนาดเล็กจำนวนมาก
การผสมที่รุนแรงมากเกินไป อาจทำให้เรซิ่นผสมอากาศจำนวนมากและเพิ่มฟองอากาศเล็กๆ จำนวนมากลงในเรซิ่น เพียงแค่ผสมอย่างช้า ๆ แบบถูกวิธี
หากแม่พิมพ์เรซิ่นมีขนาดใหญ่ที่ด้านในแต่มีเพียงช่องเล็กๆ ที่ด้านบน ฟองอากาศจะหนีขึ้นไปด้านบนได้ยาก
หากมีสิ่งของที่ใช้อยู่ในเรซิ่น มีช่องว่างและรู (เช่น ดอกกุหลาบตูมที่มีกลีบดอกจำนวนมาก) ช่องว่างดังกล่าวจะทำให้ฟองอากาศหลุดออกได้ยากและจะกลายเป็นฟองอากาศมาก
• การปนเปื้อนของน้ำ
การเติมน้ำลงในเรซิ่นจะทำให้เกิดรอย คุณอาจรู้เรื่องนี้แล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าความชื้นจากการฝังตัวเพิ่มเติมที่คุณรวมไว้ในเรซิ่นสามารถเป็นสาเหตุของสิ่งนี้ได้เช่นกัน สิ่งของทั้งหมดควรปิดสนิทและทำให้แห้งก่อนที่จะเติมลงในเรซิ่น
นอกจากนี้ คุณไม่ควรเก็บเรซิ่นของคุณในช่องแช่แข็งหรือพื้นที่เย็น เมื่อขวดอุ่นขึ้น การควบแน่นจะก่อตัวขึ้นใต้ฝาซึ่งจะหยดลงในเรซิ่นของคุณ
• ภาชนะที่มีความสกปรก
ภาชนะที่มีความสกปรก หรือมีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น แก้วกาแฟ แก้วกระดาษ เพราะสิ่งสกปรกนี้อาจจะทำให้เกิดละอองน้ำมันที่จะกระเด็นมาที่ผิวงานได้ หรือจะเป็นการพ่นโซแน็กซ์ในที่ทำทำงานเพื่อช่วยป้องกันอุปกรณ์เกิดสนิม ป้องกันความชื้นในระบบไฟ ก็มีสิทธิ์ทำให้ละอองจากโซแน็กซ์เข้าไปในชิ้นงานได้เหมือนกัน
วิธีแก้ ฝ้าในเรซิ่น
สิ่งที่ควรทำก่อนหาวิธีแก้ฝ้าในเรซิ่นคือ หาสาเหตุว่าฝ้าที่เกิดในเรซิ่นนี้ เกิดมาจากอะไร เกิดจากกระบวนการการทำงานขั้นตอนไหน เพราะเราจะได้ป้องกันการเกิดฝ้าในครั้งต่อไป เพราะการแก้ฝ้าที่เกิดในเรซิ่น ค่อนข้างที่จะยุ่งยาก และเสียเวลาเป็นอย่างมาก เรามาดูวิธีการแก้ฝ้าในเรซิ่นกัน
1.) ขัดคราบออก แล้วเคลือบใหม่
ถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด และดีที่สุดสำหรับวิธีแก้ในการเกิดฝ้า หรือเป็นคราบ ด้วยการใช้กระดาษทรายขัดน้ำขัดในส่วนที่เกิดฝ้า หรือคราบต่างๆ แล้วทำการเคลือบใหม่ด้วยเรซิ่นตัวเดิมก็ได้ เพียงเท่านี้ก็สามารถกำจัดฝ้า และคราบต่างๆ ที่เกิดบนชิ้นงานของเราได้แล้ว
2.) ขัดคราบออกด้วยกระดาษทราย แล้วปัดเงากลับมาด้วยครีมขัดเงา
วิธีที่ 2 ถือเป็นวิธีแก้เมื่อเราไม่สามารถเคลือบใหม่ได้แล้ว ด้วยการใช้กระดาษทรายขัดน้ำทั้งชิ้นงาน เพื่อให้ชิ้นงานไม่มีรอยที่
ไม่พึงประสงค์ แล้วทำการปัดเงาด้วยการใช้ครีมขัดเงา ให้ชิ้นงานเงางาม ถือเป็นการจบขั้นตอนการทำงาน
3.) ล้างชิ้นงานก่อนเทเรซิ่น ให้สะอาดที่สุด
และลวกน้ำร้อนให้มั่นใจ แต่แก้วกระดาษไม่ควรใช้ เพราะความร้อนจะไปละลายขี้ผึ้งกระดาษที่ออกมาเจือได้นั่นเอง
4.) ใช้ความร้อนไล่ความชื้นออก
ในวิธีแก้นี้ ใช้ได้ในกรณีเมื่อเราสังเกตเจอฝ้าก่อนที่เรซิ่นจะเซ็ตตัว หรือเรซิ่นมีความขุ่นกว่าปกติก่อนที่จะเซ็ตตัว ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ ด้วยการใช้ไดร์ลมร้อน เครื่องอบลมร้อน หรือเครื่องอบเรซิ่นก็ได้ ที่ที่มีแสงส่องผ่าน ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการใช้แสงหรือความร้อนส่องผ่าน ด้วยวิธีใดก็ได้ตามที่เอ่ยข้างต้น
ซึ่งใช้การขัดด้วยกระดาษทราย ไล่เบอร์จากหยาบ ไป ละเอียดตามลำดับ แล้วปัดเงาด้วยครีมขัดเงา โดยทางที่ดีอย่าทำให้ต้องเกิดการขัดเรซิ่นขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะว่าเรซิ่นนั้นแข็งแกร่งมากเมื่อแข็ง 100% ซึ่งจะทำให้เราเสียเวลาในการขัดเป็นอย่างมาก เพราะเรซิ่นจะขัดยากมาก
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"