fbpx

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

โทร :
, 02-379-4555
, 02-379-4575

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

FRP Lining เคลือบไฟเบอร์กลาส คืออะไร (Fiberglass Reinforced Plastic Polymer Lining)

FRP lining เคลือบไฟเบอร์กลาส คืออะไร (Fiberglass Reinforced Plastic Polymer Lining)

FRP Lining (Fiberglass Reinforced Plastic Polymer Lining) หรือที่เรียกภาษาไทยว่า เคลือบไฟเบอร์กลาส 

วัสดุไฟเบอร์กลาส นั้น เป็นวัสดุเสริมแรงที่มีคุณสมบัติ แข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา สามารถทนการกัดกร่อน และสารเคมีได้เป็นอย่างดี ไม่เป็นสนิม มีอายุการใช้งานยาวนาน

เรานำใยไฟเบอร์กล๊าสมาเคลือบผสานกับเคมีโพลีเอสเตอร์ / ไวนิลเอสเตอร์ (สำหรับงานที่ต้องการการทนเคมี)ได้ทั้งพื้นผิวเรียบ เช่น บ่อปูน บ่อน้ำมัน ถังบรรจุเคมี  พื้นโรงงาน

หรือพื้นผิวโค้ง เช่น การเคลือบถังไฟเบอร์กลาส ถังบรรจุเคมี ชิ้นส่วนรถยนต์ งานออกแบบตกแต่งภายใน-ภายนอก

สามารถเคลือบได้ทั้งผิวเหล็ก ผิวคอนกรีต ฯลฯ หรือแม้แต่เลือกใช้ fpp linging เพื่อเสริมความหนาทั้งยังเพิ่มความแข็งแรง การซ่อมแซมตัวงานที่ขึ้นรูปจาก FRP ก็สามารถทำได้

ก่อนการเคลือบ FRP ควรเช็คสารเคมีของท่านและประเภทของเรซิ่นให้ถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพของการใช้งาน 

พื้นฐานที่รับการเคลือบจะต้องซ่อมส่วนที่แตกร้าวให้เรียบร้อยด้วยวัสดุที่เหมาะสม ให้ไม่รั่วซึมเพื่อการซ่อมแซมที่คงทนถาวร ผิวเดิมต้องไม่เป็นสนิม (ขัดเตรียมผิวให้ปลอดสนิม ) หรือผุกร่อน ( ซ่อมผิวที่ผุกร่อนให้เรียบร้อย ) ผิวที่เคลือบจะต้องไม่มีความชื้น เพราะจะทำให้การเคลือบไฟเบอร์กลาสไม่สมบูรณ์ การเกิดปฏิกิริยาระหว่างเคมีเมื่อมีความชื้นเข้าไปแปรเปลี่ยนคุณสมบัติ ทำให้เรซิ่นไม่แห้ง หรือ ไม่ทนทานหลุดร่อนง่าย

สารบัญเนื้อหา

   การเคลือบพื้นผิวด้วย FRP Lining นั่นมีความทนทานแข็งแรงและยังทนต่อสารเคมีได้เป็นอย่างดี เรซิ่นนั้นสามารถทนต่อเคมีได้เป็นอย่างดี ส่วนใยแก้วนั้นสามารถเพิ่มความแข็งแรงได้ ดังนั้นแล้ว เมื่อรวมเอา เรซิ่นกับใยแก้ว ก็จะทำให้ทนต่อสารเคมีต่างๆและยังมีความทนทานแข็งแรงอีกด้วย

  1. ทนทานต่อสารเคมี
  2. ทนอุณหภูมิสูงได้
  3. มีความแข็งแรง ไม่เปราะ ไม่หักงอได้ง่ายๆ
  4. ไม่เป็นสนิม
  5. กันน้ำได้
  6. มีอายุการใช้งานยาวนาน
  7. ได้พื้นผิวที่เงาเรียบ ไร้รอยต่อ และมีความสวยงาม
  8. สามารถเลือกสีที่ต้องการทำได้
  9. ทำความสะอาดได้ง่าย


บ่อบำบัดน้ำเสีย
ถังเก็บสารเคมี
ท่อส่งสารเคมี
พื้นหรือดาดฟ้า
ราง Gutter
ถังน้ำดื่ม
พื้นผิวท่อที่มีรอยรั่วผุพัง
เคลือบชิ้นงานที่ขึ้นรูปจากเหล็กหรือขึ้นรูป FRP
ซ่อมถังไฟเบอร์ที่เสียหาย, เพิ่มความหนา หรือป้องกันการเกิดสนิม


ค่าใช้จ่ายในการทำ FRP Lining นั่นอยู่ที่ 600 – 1,200 บาท ต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับเกรดเรซิ่นที่ใช้, ความหนาที่ต้องการทำ

สามารถทำได้ โดยเลือกชนิดเรซิ่น และ ใยแก้วให้เหมาะสม โดยมีหลักการเลือกดังต่อไปนี้ 

เรซิ่น

ต้องเป็นชนิดที่ให้ตัวได้ มีคุณสมบัติในการบิดตัวได้ ไม่แตกร้าวง่าย

ใยแก้ว ไฟเบอร์กล๊าส

สามารถเลือกเส้นใยชนิดต่างๆ ตามคุณสมบัติและการถักทอ ความสวยงาม เรียบเนียน การรับแรง

  • ใยแก้ว มีหลายความหนาให้เลือก ปกติงาน FRP Lining นิยมเบอร์ 300 , 450  ( หน่วย300คือ 300กรัมต่อตารางเมตร )  หากต้องการงานที่มีความหนา เลือกเบอร์600  ความแข็งแรงของงานคอมโพสิท FRP คือการรีดน้ำยาให้ซึมเข้าทุกอณูของใยแก้วให้ดีที่สุด ความหนาของเรซิ่นไม่มีผลต่อความแข็งแรงเท่ากับการไล่ฟองอากาศในชิ้นงานได้ดีที่สุด เพื่อดึงความสมบูรณ์ของคุณสมบัติเรซิ่นและเส้นใยออกมาใช้ได้ดีที่สุด 
  • ใยทิชชู่ ( ใยผิว ) สำหรับงานที่ต้องการผิวเรียบ
  • ใยตาสานชนิดหนา เบอร์ 400,600 
  • ใยผ้า ( สานแบบบาง ) เบอร์ 200 

วิธีการเตรียมพื้นผิว

ก่อนที่จะทำผิว ควรทำความสะอาดพื้นที่ก่อน ไม่ควรใช้น้ำล้าง เพราะผิวปูนเดิมจะมีความชื้นสูง ควรเก็บกวาดพื้นที่ ขัดคราบสกปรก และเพื่อเพิ่มการยึดเกาะอาจใช้กระดาษทรายขัด เครื่องขัดลาย หรือเตรียมพื้นผิวด้วยเครื่อง Shot blast เมื่อขัดเปิดผิวหน้าแล้ว ให้ลงน้ำยารองพื้น(Primer)ให้ทั่ว แล้ว ซ่อมพื้นที่แตกร้าวให้เรียบก่อนด้วยเรซิ่นพุ๊ตตี้ ควรทำความสะอาดไม่ให้มีฝุ่น เมื่อมั่นในการเตรียมพื้นผิวดีแล้ว ให้ทำการปิดล้อมพื้นที่ เพื่อเริ่มงานlining

น้ำยารองพื้น (Primer) วัสดุรองพื้น (Primer) คือวัสดุที่ใช้ทาบนชั้นพื้นผิว (Substrate) เพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวัสดุที่ฉาบ (Putty) กับชั้นพื้นผิว โดยชั้นพื้นผิวเป็นได้ทั้ง พื้นคอนกรีต พื้นเหล็ก หรือแม้แต่พื้นกระเบื้อง เราจึงจำเป็นต้องเลือก วัสดุทารองพื้นให้เหมาะสมกับชนิดของชั้นพื้นผิวนั้นๆ โดยปกติแล้วการเคลือบผิวด้วย FRP จำเป็นต้องทาวัสดุรองพื้นก่อนเสมอ เพื่อให้ซึมลงไปในรูเปิดบนผิว หากวัสดุชั้นพื้นผิวที่รอยแตกร้าวหรือหลุมเล็กๆ เราควรซ่อมพื้นที่นั้นๆ ด้วยวัสดุฉาบ หรือ เรซิ่นพุตตี้ และควรต้องลงวัสดุฉาบทันทีเมื่อชั้นรองพื้นเริ่มแห้ง

วิธีการลงใยแก้วและเรซิ่น

  1. ตัดแผ่นใยแก้วไว้ล่วงหน้าตามขนาดหรือพื้นที่หน้างานที่ต้องการทำ
  2. ลงเรซิ่นสม่ำเสมอให้ทั่วบริเวณที่จะติดตั้งระบบ FRP
  3. วางแผ่นใยแก้วลงบนเรซิ่น
  4. ลงเรซิ่นเคลือบใยแก้วให้ทั่วถึง และรีดอากาศที่อยู่ระหว่างชั้นพื้นผิวและชั้นของใยแก้ว
  5. หากต้องการลงใยแก้วหลายชั้น ปริมาณเรซิ่นที่ใช้ทับหน้าเส้นใยในแต่ละชั้น จะมากกว่าของใยแก้วชั้นเดียวประมาณ 20 % เนื่องจากเรซิ่นต้องทับใยแก้วก่อนหน้าและเป็นรองพื้นสำหรับใยแก้วชั้นต่อไปด้วย
  6. เมื่อลงใยแก้วได้จำนวนชั้นที่พอใจแล้ว รอให้เรซิ่นแห้งประมาณ 1 ชั่วโมง จากนั้นขัดผิวด้วยกระดาษทรายเพื่อปรับระดับของพื้นผิวให้สม่ำเสมอ
  7. สุดท้ายลงชั้น Top coat ด้วยเรซิ่น ซึ่งเรซิ่นในชั้นนอกสุดควรจะผสมโมโนแว๊กเข้าไปด้วย เพื่อช่วยให้เรื่องของการแห้งตัวและเพิ่มความเงามันให้พื้นผิว
FRP LINING ถังเคมี
FRP LINING ถังเคมี

SJ resin เราสามารถให้คำปรึกษา พร้อมจำหน่ายอุปกรณ์การทำ FRP Lining ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนจบกระบวนการ
สามารถติดต่อผ่าน Line@ หรือ เพจ Facebook ได้เลยค่ะ

เป็นยังไงกันบ้างกับบทความFRP Lining คืออะไร? ถ้าชอบก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์ไปให้เพื่อนๆคนอื่นๆได้อ่านกันด้วยน๊า และฝากเป็นกำลังใจเรซิ่นเอสเจทำบทความดีๆแบบนี้ต่อไปด้วยนะ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

FRP Lining
FRP Lining

สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อติดต่อ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-379-4555 , 02-379-4575 , 02-379-4604

โทรศัพท์มือถือ : 088-299-0267 , 086-317-1747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

รอบจัดส่ง