เนื่องจากมีคำถามมากมายจากลูกเพจว่า “งานหุ้มคาร์บอน กับ งานเพียวคาร์บอน คุณภาพแตกต่างกันมากขนาดไหน?”
เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ :))
หุ้มคาร์บอน คืออะไร?
หรือเรียกอีกอย่างว่า การห่อ หรือ การเคลือบ เป็นกระบวนการของการใช้ชั้นของผ้าคาร์บอนไฟเบอร์ กับแม่พิมพ์ จากนั้นทำงานด้วย
เรซิ่น เพื่อสร้างชิ้นงานให้มีความแข็งแรง การหุ้มด้วยคาร์บอนมักจะใช้เพื่อซ่อมแซม หรือ เสริมโครงสร้างที่มีอยู่ เช่น สะพาน อาคาร และอุปกรณ์อุตสาหกรรม ซึ่งการหุ้มคาร์บอนมีการใช้งานที่หลากหลาย
เพียวคาร์บอน ระบบแวคคั่ม อินฟิวชั่น [แบบสุญญากาศ] คืออะไร?
แวคคั่ม อินฟิวชั่น หรือระบบสุญญากาศ ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการปล่อยน้ำยาเรซิ่น โดยใช้ระบบสุญญากาศ เป็นการขึ้นรูปแบบปิดซึ่งช่วยให้ได้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ที่มีคุณภาพสูงขึ้น และ มีความสม่ำเสมอโดยมีข้อบกพร่องน้อยลง และสิ้นเปลืองวัสดุน้อยลงเมื่อเทียบกับเทคนิคการขึ้นรูปแบบดั้งเดิม
โดยทั่วไปแล้วการทำงานด้วยสุญญากาศ หรือแวคคั่ม อินฟิวชั่น จะมีประสิทธิภาพมากกว่า และผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพสูงขึ้น และมีข้อบกพร่องน้อยลง นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อสร้างชิ้นงานให้สูงขึ้น ทำให้ได้ชิ้นส่วนที่แข็งแรง และเบาขึ้น
เรามาแจกแจงเป็นข้อๆ เพื่อให้เห็นได้ชัดว่า งานหุ้มคาร์บอน กับ งานเพียวคาร์บอน คุณภาพต่างกันขนาดไหน?
งานหุ้มคาร์บอน กับงานเพียวคาร์บอน ต่างกันแน่นอนครับ ทั้งน้ำหนัก ความแข็งแรง การให้ตัวได้ การบิดตัวได้ ซึ่งเราจะแบ่งอธิบายเป็น 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 : หุ้มคาร์บอนบนงานไฟเบอร์กลาส ( ซึ่งเราต้องทำโมลด์อยู่แล้ว )
แต่เราทำงานดิบเป็นไฟเบอร์แล้วนำมาหุ้มคาร์บอน การซับน้ำยาเรซิ่นยังไม่สมบูรณ์ อาจซับน้ำยาเรซิ่นแค่เป็นกาว ไม่พอง ไม่ร่อน
แต่ไม่ได้ซับน้ำยาทั่วผืนผ้าคาร์บอน ความแข็งแรงยังไม่สมบูรณ์ 100% ครับ
สิ่งที่ได้จากงานหุ้ม คือ ความสวยงาม แต่ความแข็งแรงยังเป็นรองงานเพียวคาร์บอนอยู่นะครับ
แบบที่ 2 : งานเพียวคาร์บอน
เป็นการใช้น้ำยาเรซิ่นผ่านทุกอณูของผ้าคาร์บอน ในระบบสุญญากาศ ทำให้ชิ้นงานมีความแข็งแรงสูงสุดเท่าที่ผ้าคาร์บอน
และน้ำยาเรซิ่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็นอีก 2 แบบ คือ
แบบที่ 2.1 : วิธีแวคคั่ม อินฟิวชั่น
เป็นการปูผ้าคาร์บอน และวางวัสดุสิ้นเปลือง สร้างระบบสุญญากาศให้ระบบ แล้วปล่อยที่เราเลือกใช้จะทำได้ ได้ครบคุณสมบัติที่สร้างวัสดุนี้ขึ้นมาครับ
แบบที่ 2.2 : วิธีแฮนด์เร ในโมลด์
คือ การปูผ้าคาร์บอนในโมลด์ไฟเบอร์กลาส วิธีนี้ประหยัดวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ประหยัดผ้าพีลพาย ตาข่ายนำเรซิ่น แบคกิ้งฟิล์ม แต่ต้องมีทักษะการเร งาน ต้องมีความเข้าใจ และต้องใช้เวลาในการทำงาน เพราะเราต้องเร จนเรซิ่นเซ็ตตัว ไม่อย่างนั้นเรซิ่นจะไหลไปกองในพื้นที่ต่ำ เช่น ร่อง สัน เหลี่ยมคมของงาน ทำให้งานลดทอนความคม ความสวย มิติของงานจะลดลง
ตัวอย่างชิ้นงานเพียวคาร์บอน เช่น เครื่องบิน โดรน ชิ้นส่วนSupercar ชุดแต่งรถแข่ง เรือ หรืออะไรที่ต้องการงานบาง เบา
งานเพียวคาร์บอน หากได้ฟังเสียงตอนโยนชิ้นงานลงพื้น จะมีความไพเราะ เสียงจะเหมือนเหล็ก แต่น้ำหนักเบา และไม่เป็นสนิมครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ReinSJ
พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"
บทความที่คุณอาจจะสนใจ…