ในปัจจุบันผู้คนมักนิยมนำมือ เท้าเด็กน้อยมาปั๊มไว้เป็นสิ่งของ 1ชิ้นสำหรับเด็กน้อย แต่ว่าการจะปั๊มมือ เท้าเด็กเนี่ยต้องคำนึกถึงความอันตรายต่อเด็กด้วย เพราะผิวหนังของเด็กอาจจะถูกสารเคมีเหล่านี้กัดได้ นี่จึงเป็นที่มาของ Alginate ในการนำมาปั๊มมือเท้าเด็ก
เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลยครับ :))
Alginate คืออะไร ทำไมถึงนิยม นำมาป๊ัมรอยเท้าเด็ก
Alginate คือ สารประเภทพอลิแซกคาไรด์ ซึ่งกระจายตัวอยู่ในผนังเซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาล โดยจับอยู่กับน้ำในรูปของกาวหนืดมีโครงสร้างเป็นเกลืออนินทรีย์ของกรดอัลจินิค (alginic acid) เป็นชนิดที่นิยมใช้กันเป็นจำนวนมากในอุตสาหกรรมอาหาร คือ Sodium al ginate และ al ginate จะเป็นโพลิเมอร์ของสาร 2 ชนิดคือ β-D-mannuronic acid และ L-gulopyranosyluronic acid ซึ่งอัตราส่วนของสาร 2 ชนิด และโครงสร้างของสารหลักจะเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของสารละลาย อัลจิเนต ที่ได้ โดยเฉพาะด้านความสามารถในการเกิดเจลและความแข็งของเจล อิออนบวกที่มีประจุมากกว่าหนึ่ง โดยทั่วไปจะขายในรูปของเส้นใย เม็ด และผง
อัลจิเนตสามารถสกัดได้จากสาหร่ายสีน้ำตาล และเก็บในรูปของโซเดียม อัลจิเนต เนื่องจากอัลจิเนตมีความปลอดภัย เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ จึงถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ และเภสัชกรรม
คุณสมบัติของอัลจิเนต
ความสามารถในการเกิดเจลและความแข็งของเจล อิออนบวกที่มีประจุมากกว่าหนึ่ง เช่น แคลเซียมจะสามารถ ทำปฏิกิริยาเชื่อมข้ามได้กับ อัลจิเนต ปริมาณอิออน ในสารละลายเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดความข้นหนืด การเกิดเจล และการตกตะกอนได้ อัลจิเนต สามารถทำหน้าที่เป็นสารให้ความคงตัวได้ดีในผลิตภัณฑ์อาหารหลายประเภท เช่น ผักผลไม้ขึ้นรูป ไอศกรีม น้ำตาลไอซิ่ง น้ำสลัด พุดดิ้งและขนมที่มีลักษณะเป็นเจล ( Pszczolaและคณะ , 2003.) อัลจิเนต เป็น unbranched binary
copolymer ของ 1,4-β-D-mannuronic acid (M) และ α L-guluronic acid (G) ในโมเลกุล
ประกอบด้วย homopolymeric regions ของ G และ M ที่เรียกว่า G- และ M-blocks ตามลําดับ
และยังมีบางส่วนของโมเลกุลเป็ น MG-blocks สัดส่วนของ copolymer และโครงสร้างเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดสมบัติ เช่น ถ้าโพลีเมอร์มี G ในปริมาณที่สูงจะมี สมบัติเป็น
เจลที่แข็งที่ความเข้มข้นของโลหะประจุบวกเฉพาะ ( polyvalent metal cation) แต่ถ้า โพลิ
เมอร์มี M ปริมาณสูงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดเจลที่อ่อนนุ่ม และมีสภาวะในการเกิดเจลที่กว้างกว่า
อัลจิเนต ที่ผลิตจำหน่ายเป็นการค้ามีหลายอนุพันธ์จึงมีสมบัติการละลายในนํ้า ที่แตกต่างกัน เช่น
อนุพันธ์ ของเกลือ Ca2+, K+, Na+, NH4+
และยังผลิตในรูปของ propylene glycol alginate ซึ่งได้
จากปฏิกิริยาของ alginic acid กับ propylene oxide ภายใต้ความดัน อนุพันธ์เหล่านี ้จะละลาย
ได้ทั้งในน้ำร้อนและน้ำเย็น ความหนืดของสารละลาย อัลจิเนต ที่ได้ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิ ความ
เข้มข้น น้ำหนักโมเลกุล และการมีโลหะประจุบวก
อัลจิเนต ไม่ทุกชนิดมีคุณสมบัติเป็นเจลและจะเกิดเจลได้เมื่อทำปฏิกิริยา
กับ Ca2+ โครงสร้าง ของเจลมีลักษณะคล้ายกล่องไข่ ( egg box) โดยมี Ca2+เกาะอยู่กับสายโพลิ
เมอร์ (ภาพที่ 3) คุณสมบัติที่ดีของ อัลจิเนต คือ ทำให้เกิด irreversible gel ในน้ำเย็นเมื่อมี Ca2+
รวมอยู่ด้วย ซึ่งคุณสมบัติในการเกิดเจลที่อุณหภูมิต่ำนี้ทำให้ อัลจิเนต แตกต่างจากไฮโดรคอลลอยด์
อื่นที่ได้จากสาหร่ายสีแดง(Phillips et al., 2000)
Sodium Alginate (โซเดียม อัลจิเนต)
โซเดียม อัลจิเนต ) เป็นสารประเภทพอลิแซกคาไรด์ ซึ่งกระจายตัวอยู่ในผนังเซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาล โดยจับอยู่กับน้ำในรูปของกาวหนืด และเป็นส่วนประกอบหลักของไบโอฟิล์มที่ผลิตโดยจุลินทรีย์ชนิด Pseudomonas aeruginosa ส่วนใหญ่มีสีอยู่ในโทนสีส้ม โดยมีตั้งแต่สีขาว ไปจนถึงสีน้ำตาล โดยทั่วไปจะขายในรูปของเส้นใย เม็ด และผง
อัลจิเนตสามารถสกัดได้จากสาหร่ายสีน้ำตาล และเก็บในรูปของโซเดียม อัลจิเนต ถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ และเภสัชกรรม เนื่องจากอัลจิเนตมีความปลอดภัย เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ โดยใช้เป็นสารทำให้เกิดเจล อัลจิเนตจากสาหร่ายสีน้ำตาลสายพันธุ์ต่าง ๆ มีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน ทำให้มีลักษณะทางกายภาพต่างกัน โดยมีความแตกต่างกันในเรื่องของปริมาณ ความเป็นเจล และสี ทำให้สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายวิธี
แอลจิเนต หรือแอลจิน (algin) เป็นไฮโดรคอลลอยด์ (hydrocolloid) ประเภทพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ที่เป็นเฮเทอโรพอลิแซ็กคาไรด์ (heteropolysaccharide) ซึ่งเป็นพอลิเมอร์ของอนุพันธ์ของน้ำตาล ได้แก่ กรดแมนนูโรนิก (D-mannuronic acid) กรดกูลูโรนิก (guluronic acid) แอลจิเนตสกัดได้จากผนังเซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาล (brown algae) เช่น Macrocystis pyrifera, Laminaria digitata, Laminaria hyperborea และผ่านการทำแห้ง มีลักษณะเป็นผง
ลักษณะทั่วไป
อยู่ในรูปของสารประกอบผสมของเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม และโพแทสเซียมของกรดแอลจินิก (alginic acid) ซึ่งละลายได้ในน้ำ ทำให้เกิดเจลได้ หรือเป็นสารก่อเจล (gelling agent) ซึ่งเป็นเจลที่ทนต่อความร้อน (thermoirreversible gel) หรือไม่เปลี่ยนไป-มาเมื่อได้รับความร้อน
กรดแอลจินิก (alginic acid) และแอลจิเนต ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive)
การประยุกต์ใช้ อัลจิเนตในการผลิตอาหาร
1.เจลลี่ (Jelly)
โซเดียม อัลจิเนตทำหน้าที่เป็นสารให้ความคงตัวในการผลิตเจลลี่ เช่นเดียวกับ คาราจีแนน อาการ์หรือผงวุ้น และเป็นใช้เป็นส่วนผสมในการทำขนมโมจิหยดน้ำ หรือ Mizu Shingen Mochi Recipe ซี่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้
2.ผลิตภัณฑ์อาหารจากเนื้อสัตว์ (Meat Products)
โซเดียม อัลจิเนต มีความสามารถในการลดการสูญเสียน้ำของผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ในกระบวนการให้ความร้อนได้ โดยโซเดียม อัลจิเนตจะสร้างเจลในผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความชุ่มน้ำ ส่งผลให้มีความหนึบ อร่อย และทำให้มีเนื้อสัมผัสดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มผลิตอีกด้วย ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตและช่วยเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์
3.เบเกอรี (Bakery)
โซเดียม อัลจิเนตจะใช้เป็นสารทำให้เกิดเจลในส่วนของไส้พาย ทำให้ไส้พายให้มีความข้นหนืด สามารถอุ้มน้ำได้ และไม่ทำให้แป้งที่อยู่ภายนอกเสียสภาพหรือนุ่มเละเนื่องมาจากความชื้นจากไส้พาย นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของเนื้อทาร์ต ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารให้ความคงตัว ทำให้เนื้อทาร์ตอยู่ตัว และมีผิวเรียบน่ารับประทาน
4.ไอศกรีม (Ice Cream)
โซเดียม อัลจิเนตมีส่วนช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวของไอศกรีม ทำให้ได้เนื้อไอศกรีมที่มีความนุ่ม ละมุน และเนื้อสัมผัสดี เนื่องจากโซเดียม อัลจิเนตทำหน้าที่เป็นสารให้ความคงตัว (stabilizing agent) ไอศกรีมที่มีการเติมโซเดียม อัลจิเนตจะไม่เกิดเนื้อหยาบขณะเก็บรักษาและทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงการเกิดเกล็ดน้ำแข็งของสารให้ความคงตัวได้น้อยมาก นอกจากนี้โซเดียม อัลจิเนตยังช่วยให้ส่วนผสมของวัตถุดิบต่าง ๆ ผสมกันง่ายขึ้นอีกด้วย
5.ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Functional Food)
เนื่องด้วยคุณสมบัติของโซเดียม อัลจิเนต ที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและมีประโยชน์ต่อร่างกาย จึงมีการนำโซเดียม อัลจิเนต มาผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในเชิงการแพทย์สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ไขมันสูง และน้ำตาลในเลือดสูง เช่น การนำผลิตเจลลี่ น้ำผลไม้ สูตรลดน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยโรคดังกล่าวนอกจากนี้โซเดียม อัลจิเนตยังสามารถช่วยกำจัดสาร
6.เครื่องดื่ม (Beverages)
เนื่องจากโซเดียม อัลจิเนตเป็นสารพอลิแซกคาไรด์ที่สามารถละลายน้ำได้ ทำให้เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ดีอย่างยิ่ง สำหรับการผลิตเครื่องดื่ม โดยทำหน้าที่เป็นสารเพิ่มความข้นหนืดและเป็นสารช่วยให้เกิดอิมัลชั่น เช่น
– ช่วยป้องกันการแยกชั้นและตกตะกอนในการผลิตน้ำผลไม้
– ช่วยป้องกันการเกาะกลุ่มกัน (Agglutination) และตกตะกอนของโปรตีนในเครื่องดื่มนมหมัก (Leben)
– ช่วยป้องกันการเกิดไขและการตกตะกอนของโปรตีนในการผลิตเครื่องดื่มนม
โซเดียม อัลจิเนต มีความสามารถในการลดการสูญเสียน้ำของผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ในกระบวนการให้ความร้อนได้ โดยโซเดียม อัลจิเนตจะสร้างเจลในผลิตภัณฑ์ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความชุ่มน้ำ ส่งผลให้มีความหนึบ อร่อย และทำให้มีเนื้อสัมผัสดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มผลิตอีกด้วย
ประโยชน์ด้านอื่น ๆ
- ใช้เป็นวัตถุดิบในเทคนิค micro-encapsulation
- ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอวัยวะเทียมและพิมพ์ฟัน
- ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยา เช่น ยาบรรเทาอาการกรดไหลย้อน (Gaviscon)
- ใช้เป็นสารพิเศษในการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอและกระดาษ เช่น วัสดุกันน้ำ วัสดุกันไฟ เป็นต้น
- ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำแผลสำหรับแผลที่สารคัดหลั่งปริมาณมาก ๆ เช่น แผลกดทับ แผลเบาหวาน เป็นต้น
- ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารในการเพิ่มคุณสมบัติบางประการ เช่น สารที่ช่วยให้ข้น (thickening agent) ในการผลิตเครื่องดื่มและไอศกรีม สารที่ทำให้เกิดเจล (gelling agent) ในการผลิตเจลลี่
- ใช้เป็นสารที่ช่วยให้ข้นสำหรับสีรีเอคทีฟ (reactive dyes) ในงานพิมพ์บนผืนผ้า เนื่องจากอัลจิเนตไม่ทำปฏิกิริยากับสีย้อมและซักทำความสะอาดง่าย ทดแทนการใช้แป้งซึ่งทำปฏิกิริยากับสีรีเอคทีฟ
ผงปั๊มรอยเท้า Alginate กับ How to การปั๊มรอยเท้าเด็ก
ผงปั้มมือ ปั้มรอยเท้าเด็ก มีลักษณะเป็นผงสีฟ้า มีกลิ่นหอมอ่อนๆ Food grade ผิวเด็กน้อย หรือผิวอ่อนๆ สามารถสัมผัสได้โดยไม่มีอันตราย
ผสมน้ำแล้วแห้งเร็ว นำมาใช้ปั๊มทำแม่พิมพ์เพื่อหล่อปูนปลาสเตอร์ มีเบสน้ำ ( ไม่สามารถนำไปเป็นแม่พิมพ์เรซิ่นได้ ) SJ Alginate ราคา 300 บาท บรรจุถุงละ 450 กรัม
1.จัดเตรียมภาชนะ
ที่จะใช้ใส่แม่พิมพ์ ถ้าเลือกขนาดใหญ่กว่ามือเรานิดหน่อย จะประหยัดผงปั๊มได้ ถ้าเลือกขนาดใหญ่เกิน ก็เปลืองโดยเปล่าๆค่ะ ผง1ส่วน น้ำ2ส่วน เตรียมให้พร้อม เพราะปฏิกิริยาจะเกิดเร็วมาก เราไม่มีเวลามาตวงน้ำเพิ่มค่ะ ถ้าผสมน้ำมาก จะใช้เวลาในการเซทช้า ถ้าผสมน้ำน้อย จะแห้งเร็วค่ะ
2.เตรียมผงปั๊มรอยเท้า
งานนี้เราเตรียมแกลลอนนม ขนาด5ลิตรไว้ จึงเตรียมผงปั้มไว้3แก้ว ( แก้วกาแฟยี่ห้อ อเมซอน )
3.ผสม
ผสมผง SJ อัลจิเนตกับ น้ำ คนให้เข้ากัน ( เร่งมือหน่อย อย่าอู้น๊าา )
4.จุ่มมือ เข้าในแกลลอนที่เตรียมไว้
5.ทิ้งไว้ 5นาที
ค่อยๆขยับมือออก… ( ผงปั๊มมือ Sj อัลจิเนต นี้ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เผลอแป๊ปเดียวก็นำมือออกได้ แล้วใช้ปูนปลาสเตอร์ที่จัดให้ในเซท ผสมน้ำเทใส่แม่พิมพ์
6.ตัวอย่างชิ้นงานจากปุน
ตัวอย่างชิ้นงานจากปุน ที่หล่อในพิมพ์ค่ะ ค่อยฉีดน้ำทำความสะอาด
วิธีการใช้ผงปั๊มรอยเท้า [Alginate]
ดูรายละเอียดสินค้าได้ที่ด้านล่าง ทั้งแบบแยกและแบบเป็นชุด
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"
คุณอาจจะสนใจบทความนี้…