7 คำถามที่พบบ่อยในงานโพลิเอสเทอร์เรซิ่น
ในบทความนี้ทางเอสเจจะรวบรวม 7 คำถามที่พบบ่อยในงานโพลิเอสเทอร์เรซิ่น จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
- โพลิเอสเทอร์เรซิ่นไม่แข็งตัว เกิดจากอะไร
- โพลิเอสเทอร์เรซิ่นแข็งตัวช้าหรือแข็งตัวบางส่วน เกิดจากอะไร
- ชิ้นงานเหนียวหน้าหรือชิ้นงานไม่ใสเท่าที่ควร
- เนื้อชิ้นงานแตกร้าว เกิดจากอะไร
- ผิวชิ้นงานแหว่งหรือเป็นรูฟองอากาศ
- ใส่ตัวเร่งเยอะเกินได้มั้ย
- เมื่อโพลิเอสเทอร์เรซิ่นผสมโคบอลกับตัวเร่งแล้วมีระยะเวลาทำงานกี่นาที?
1. โพลิเอสเทอร์เรซิ่นไม่แข็งตัว เกิดจากอะไร
องค์ประกอบที่จะทำให้โพลีเอสเทอร์เรซิ่น แข็งตัวนั้นต้องประกอบไปด้วย โคบอลและตัวเร่ง หากขาดตัวใดตัวหนึ่งก็จะทำให้โพลิเอสเทอร์เรซิ่นไม่แข็งตัว
โพลิเอสเทอร์เรซิ่นจะแบ่งขายเป็น 2 แบบหลักๆ คือ
1) โพลิเอสเทอร์เรซิ่นแบบไม่โปรโมต (ยังไม่ผสมโคบอล)
– ต้องผสมทั้งโคบอลและตัวเร่งเพื่อให้เรซิ่นแข็งตัว
2) โพลิเอสเทอร์เรซิ่นแบบโปรโมต (ผสมโคบอลมาให้แล้ว)
– ผสมแค่ตัวเร่งเพื่อให้เรซิ่นแข็งตัว
ข้อห้าม ห้ามนำโคบอลและตัวเร่งมาผสมกันเด็ดขาด จะทำให้เกิดความร้อนสูงและควันขึ้น
2. โพลิเอสเทอร์เรซิ่นแข็งตัวช้าหรือแข็งตัวบางส่วน เกิดจากอะไร
1. ใส่ตัวเร่งและหรือโคบอลน้อยเกินควร – ควรทดสอบอัตราส่วนการใช้ตัวเร่งให้เหมาะสม หากเทโพลิเอสเตอร์เรซินลงในแม่แบบแล้วยังเหลวไม่แข็งตัวภายใน 30 นาที ให้เทออกผสมตัวตัวเร่งลงไปเพิ่ม หากโพลิเอสเตอร์ เรซิ่นเริ่มแข็งตัวแล้วต้องปล่อย ทิ้งให้แข็งตัวต่อไปหรือใช้ความร้อนช่วยเร่งก็ได้
2. ผสมตัวเร่งแล้วกวนไม่เข้ากัน, ควรใช้ไม้กวนที่มีลักษณะแบนและภาชนะที่เรียบ กวนไปในทิศทางเดียวกัน
3. ทำงานในที่มีอากาศเย็น,มีความชื้นหรือฝนตก – ในสภาวะที่มีอากาศเย็นกว่าปกติ ควรต้องเพิ่มปริมาณตัวเร่ง หรือให้ความร้อนกับชิ้นงาน และควรหลีกเลี้ยงการทำงานในที่ที่มีความชื้นสูง เพราะโพลิเอสเตอร์เรซิ่นไม่ถูกกับน้ำ
3. ชิ้นงานเหนียวหน้าหรือชิ้นงานไม่ใสเท่าที่ควร
หากเจอปัญหาชิ้นงานเหนียวหน้าหรือชิ้นงานไม่ใสเท่าที่ควร ให้นำชิ้นงานไปแช่น้ำที่ผสมโซดาไฟ จากนั้นล้างน้ำให้สะอาด ขัดด้วยกระดาษทรายไล่เบอร์และลงครีมเคลือบเงาตามลำดับ
4. เนื้อชิ้นงานแตกร้าว เกิดจากอะไร
ใส่ตัวเร่งมากเกินควร – ควรใช้ตัวเร่งให้เหมาะสมกับปริมาณของโพลิเอสเตอร์เรซิ่นที่จะใช้ ทั้งนี้เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นระหว่างโพลิเอสเตอร์เรซินกําลังจะแข็งตัวจะสะสมกัน และจะเพิ่มมากขึ้นชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนโมลด์หน้าเปิดความร้อนสะสมจะเฉลี่ยกันออกไป และความร้อนที่เกิดขึ้นสามารถระบายได้เร็วกว่า เพราะมีผิวหน้ากว้างกว่าชิ้นงานที่มีลักษณะเป็นก้อน วิธีลดความร้อนที่เกิดขึ้นหลังจากโพลิเอสเตอร์เรซินเริ่มแข็งตัว ทําได้โดยใช้ลม เป่า จุ่มน้ำ หรือตั้งในที่มีความเย็น ชิ้นงานที่สามารถถอดออกจากแม่แบบได้ง่ายเช่น ชิ้นงานแผ่นแบน ชิ้นงานรูป นูนและชิ้นงานรูปลอยตัวชนิดเป็นก้อนกลมไม่มีส่วนละเอียดยื่นมาก ควรรีบถอด ออกจากแม่แบบทันทีเมื่อโพลิเอสเตอร์เรซินแข็งตัวแล้ว เพราะจะช่วยระบายความ ร้อนที่เกิดขึ้นจากภายใน ป้องกันเนื้อชิ้นงานแตกร้าว อีกทั้งจะยืดอายุการใช้งาน ของแม่แบบยางซิลิโคนและสามารถนําแม่แบบไปหล่อชิ้นงาน ชิ้นต่อไปได้อีกชิ้นงานที่เนื้อแตกร้าวแล้วไม่มีวิธีแก้ไขใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากต้องป้องกันไว้ก่อน
5. ผิวชิ้นงานแหว่งหรือเป็นรูฟองอากาศ
หล่อชิ้นงานไม่เต็มเพราะมีฟองอากาศ เพราะไม่เข้าใจวิธีการหล่อดีพอหรือยังหล่อไม่ชํานาญพอ – การหล่อชิ้นงานบางชนิดจะมีปัญหาเรื่องฟองอากาศมาก วิธีแก้อาจทําได้คือ หล่อกลิ้งชิ้นงานในส่วนที่คาดจะเกิดฟองอากาศให้เต็มเสียก่อนจึงค่อยเทหล่อเต็มภายหลัง เอียงแม่แบบแล้วค่อย ๆ เทโพลิเอสเตอร์เรซินลงไป โดยผสมตัวทําให้ แข็งน้อย ๆ ประมาณ 0.3% ให้โพลิเอสเตอร์เรซินปรับระดับสูงขึ้นพร้อมทั้งไล่ฟอง อากาศออกด้วย เทโพลิเอสเตอร์เรซินลงในแม่แบบในตู้สุญญากาศ ซึ่งวิธีนี้ทําได้รวดเร็ว และประหยัดเวลามาก ใช้แปรงหรือพู่กันจุ่มโพลิเอสเตอร์เรซินแล้วขยี้ให้ทั่วบริเวณนั้น ๆ ก่อน เทโพลิเอสเตอร์เรซินให้เต็ม หากชิ้นงานที่หล่อออกมาแหว่งหรือเป็นรูฟองอากาศให้ผสมโพลิเอสเตอร์เรซินเทอุด ทับลงไป ทิ้งให้แห้งแข็งตัวแล้วจึงขัดตกแต่งต่อไป หมายเหตุ ในการหล่อชิ้นงานควรเก็บโพลิเอสเตอร์เรซินที่ผสมแล้ว (แต่ยังมิได้ใส่ ตัวทําให้แข็ง) ไว้บ้าง เพื่อการเทเติมส่วนที่แหว่งหรือเป็นรูในภายหลัง ส่วนที่เติมจะได้มีสีเหมือนเดิม
6. ใส่ตัวเร่งเยอะเกินได้มั้ย
ผสมตัวเร่งเยอะเกิน ทำให้แห้งเร็ว ทำงานไม่ทัน ร้อน แตกร้าวได้ง่าย ชิ้นงานไม่แข็งแรง
7. เมื่อโพลิเอสเทอร์เรซิ่นผสมโคบอลกับตัวเร่งแล้วมีระยะเวลาทำงานกี่นาที?
เมื่อเรซิ่น ผสมโคบอลกับตัวเร่งแล้ว มีเวลาทำงานประมาณ 15 นาทีบวกลบ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ควรผสมแต่พอดี เพื่อไม่ให้เรซิ่นแห้งคาถัง
สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อติดต่อ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
คุณอาจจะชอบบทความนี้…
เรซิ่น คืออะไร ? ทำความรู้จักกันก่อนจะไปเริ่มทำงานเรซิ่น