ทำไมถึงไม่ผสมโคบอลต์กับตัวเร่งด้วยกัน แล้วค่อยผสมกับน้ำยาเรซิ่น ?? เรามีคำตอบ ให้หายสงสัย
โดยปกติแล้ว โคบอลต์(ตัวม่วง) มักจะถูกผสมกับน้ำยาเรซิ่น (โพลีเอสเตอร์เรซิ่น) ก่อน แล้วจึงค่อยนำน้ำยาเรซิ่นที่ผสมโคบอลต์แล้ว มาผสมกับตัวเร่งอีกนึง
พูดอีกนัยนึงให้เข้าใจคือ เรซิ่นเบสโพลีเอสเตอร์นี้ ต้องมี A + ฺB +C ผสมกัน ถึงจะเกิดปฏิกิริยาที่สมบูรณ์ คือ เปลี่ยนจากของเหลวเป็นของแข็ง โดย
B = โคบอล ( ตัวทำปฏิกิริยา ) มีสีม่วง ช่างบางคนจะเรียกว่า ” ตัวม่วง ” ถ้าไม่มีโคบอล เรซิ่นกับตัวเร่งจะไม่ทำปฏิกิริยากัน
C= ตัวเร่ง ( ตัวเร่งปฏิกิริยา ) มีสีใส ผสมมาก เซทตัวไว ผสมน้อยเซทตัวช้า ( มีข้อเสียในการเร่งปฎิกิริยา คือ ชิ้นงานจะแห้งกรอบ แตกร้าวง่าย
เรามาทำความรู้จัก โคบอลต์ กับ ตัวเร่งแข็ง ให้เข้าใจแบบถ่องแท้ว่า ทำไมทั้งสองตัวนี้ถึงผสมพร้อมกันไม่ได้
สารบัญ
โคบอลต์ คืออะไร
ตัวทำปฏิกิริยาระหว่างเรซิ่นกับตัวเร่ง ถ้าไม่มีการผสมเรซิ่นที่มีตัวเร่งแล้วก็ไม่เปลี่ยนรูปเป็นของแข็งที่สมบูรณ์ได้ มันจะหนืดๆ อยู่อย่างนั้นตลอดไป หรืออาจแข็ง แต่เป็นการแข็งที่ไม่สมบรูณ์ แข็งบ้าง นิ่มบ้าง แข็งบางจุด ควบคุมไม่ได้
หากเราผสมโคบอลลงในโพลีเอสเตอร์เรซิ่นแล้วกวนให้เข้ากันดี จะสังเกตเห็นได้ว่า มีสีแดงออกม่วง อมชมพู ตามภาพสีที่เอสเจ ได้ถ่ายไว้ให้เปรียบเทียบ แล้วจึงจะผสมตัวเร่งลงไป
สามารถเทียบสีเรซิ่นโพลีเอสเตอร์ที่ผสมโคบอลแล้ว ภาพนี้ เป็นแนวทางในการผสมโคบอล เผื่อบางทีไม่มีหลอดหยดใช้ สามารถดูสีให้ใกล้เคียง แล้วปรับเพิ่มลดได้
คุณสมบัติของโคบอลต์ คือ
ของเหลวใส มีสีม่วงโปร่งแสง มีความเข้มข้น2แบบ คือ
1.) เข้มข้น3% ใช้สำหรับโพลีเอสเตอร์เรซิ่นงานหล่อใส เมื่อผสมแล้ว น้ำยาเรซิ่นจะมีสีฟ้าอ่อนๆ
2.) เข้มข้น10% ใช้สำหรับโพลีเอสเตอร์เรซิ่นงานหล่อทึบ หล่อทั่วไป หล่อไฟเบอร์กล๊าส 355E งานหุ้มคาร์บอนไฟเบอร์ งานเคลือบรูป เคลือบโฟมขาว
เมื่อโคบอลต์ผสมกับโพลีเอสเตอร์เรซิ่นแล้ว จะมีอายุการเก็บรักษาเรซิ่นสั้นลง
เมื่อถูกผิวหนังควรรีบไปล้างน้ำสะอาดนานๆ เผื่อจะมีตัวเร่งหกใส่เราอีก
เรซิ่นที่มาจากโรงงาน สีตามนี้
สิ่งที่ควรรู้ เมื่อเริ่มใช้โคบอลต์
ห้ามผสมโคบอลกับตัวเร่งโดยตรง จะเกิดไฟลุกได้ ควรเก็บรักษาให้อยู่ห่างกัน เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่รุนแรงเกิดความร้อนสูง หากมีเชื้อไฟอยู่ใกล้ อาจเกิดไฟไหม้ได้
และหากผสมกับโคบอลต์ แต่ไม่ได้ผสมกับตัวเร่ง ก็ไม่สามารถทำงานได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือ การผสมโคบอลต์ หรือตัวเร่ง ไม่เข้ากับน้ำยาเรซิ่น อาจทำให้เกิดไฟลุกได้ ดังคลิปนี้
ตัวเร่งแข็ง คืออะไร
ของเหลวใส มีกลิ่นเหม็น ใช้ผสมกับเรซิ่นที่ผสมโคบอลต์แล้วในปริมาณ0.5%
เมื่อผิวหนังถูกตัวเร่ง ควรรีบไปล้างน้ำสะอาดนาน ๆ เพราะตัวเร่งไม่ได้กัดผิวเราแล้วแสบเลย แต่จะเป็นการแสบลึกมากๆ
ข้อมูลทางวิชาการของตัวเร่งปฏิกิริยา
ตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาโพลิเมอร์ไรเซชั่นทำให้โพลีเอสเตอร์เรซิ่นแข็งตัว สารเคมีที่นิยมใช้มากที่สุดคือ เมทิลเอทิลคีโตนเปอร์ออกไซด์ ( Methyl Ethyl Ketone Peroxide หรือ MEKP หรือ MEKPO ) ซึ่งเป็นของเหลวฉุนคล้ายกรด กัดมือ เป็นอันตรายต่อเยื่อจมูกและตา หลีกเลี่ยงการสัมผัส ระวังการกระเด็นเข้าตา
ข้อควรระวังในการใช้ ตัวเร่ง ห้ามนำ ตัวเร่ง และ โคบอลต์ ผสมกันโดยตรงโดยเด็ดขาด มิฉะนั้นจะเกิดไฟลุกได้ กดดูคลิปประสบการณ์ตรงจากโรงงาน ที่ไม่มีคนอยู่ แต่มีไฟลุกขึ้นได้เอง
สรุป โคบอลต์&ตัวเร่ง ทำไมถึงไม่ควรผสมกันโดยตรง
จะเห็นว่าโคบอลต์(ตัวม่วง) และ ตัวเร่งแข็ง มีคุณสมบัติเป็นเคมี ซึ่งทั้งสองตัวนี้เมื่ออยู่ใกล้กันจะเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่รุนแรงเกิดความร้อนสูง หากมีเชื้อไฟอยู่ใกล้ อาจเกิดไฟไหม้ได้ ทางที่ดี ควรนำโคบอลต์(ตัวม่วง) และ ตัวเร่งแข็ง แยกออกห่างกันตั้งแต่ยังไม่เปิดขวดจะปลอดภัยมากขึ้น
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
คุณอาจจะสนใจบทความนี้…
เรซิ่น คืออะไร ? ทำความรู้จักกันก่อนจะไปเริ่มทำงานเรซิ่น