หมดปัญหาฟองอากาศ ในเรซิ่นง่าย ๆ ด้วย ถังเพรสเชอร์ เพียงใบเดียวเท่านั้น
เวลาทำงานเรซิ่น ปัญหาที่เรามักเจอบ่อย ๆ คือผลงานที่เสร็จแล้วมักมีฟองอากาศออกมาจากเนื้อเรซิ่นเต็มไปหมด ทำให้ผลงานออกมาไม่สวยงามเท่าที่ควร
ปัญหาฟองอากาศนี้แก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้ ถังเพรสเชอร์ นวัตกรรมสุดล้ำที่ช่วยให้ทุกท่านสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้
โดยหมดปัญหาฟองอากาศที่มาลดทอนความสวยงามอีกต่อไป
ถังเพรสเชอร์ คืออะไร?
ถังเพรสเชอร์ คือ ถังแรงดันสำหรับไล่ฟองอากาศเรซิ่น ที่มีการใช้งานคือ อัดอากาศแรงดันสูงเข้าไปข้างในถัง เพื่อไล่ฟองอากาศและ ป้องกันการเกิดฟองอากาศในชิ้นงานเรซิ่น หรือซิลิโคนเป็นต้น
อุปกรณ์ของชุดหม้อดึงดัน
วิธีการติดตั้งหม้อเพรสเชอร์
สำหรับการติดตั้งหม้อดึงดันให้เป็นหม้อเพรสเชอร์นั้นทำได้ไม่ยากเลย
- ติดตั้งแท่ง “ที่จับฝา” ที่จัดมาในชุดหม้อดึงดันเข้ากับฝาเพรสเชอร์ ขันเกลียวให้แน่น เพื่อช่วยในการยกฝาออกได้ง่ายขึ้น
- ติดตั้งหัวคอปเปอร์เข้ากับปั๊มลม 30 ลิตร และขันเกลียวให้แน่น
- ติดตั้งสายอัดลมเข้ากับหัวคอปเปอร์ (ดันปลอกที่หัวคอปเปอร์เข้าไปเล็กน้อยเพื่อเสียบสายเข้า หลังจากนั้นปลอกจะล็อกเข้าอัตโนมัติ) แล้วเชื่อมเข้ากับวาล์ววัดแรงดันบนฝาหม้อเพรสเชอร์
- ปั๊มลมทำงานได้แบบอัตโนมัติ ซึ่งจะตัดแรงดันลมที่ประมาณ 100 psi สังเกตที่สวิทช์สีแดงด้านบน หากกดลงจะเป็นการตัดไฟระบบทันที หากดึงขึ้นจะเป็นการเปิดใช้งาน
- วาล์ววัดแรงดันบนฝาหม้อเพรสเชอร์ประกอบด้วยมาตรวัดความดัน (ของเอสเจจะมีให้สองชุด แต่ใช้หน่วยความดันต่างกัน) Safety Valve ซึ่งจะระบายความดันเกินอัตโนมัติ และสวิทช์หมุน regulator ใช้ปรับความดันที่สามารถปรับขึ้นลงได้ด้วยมือ
วิธีการใช้งานถังเพรสเชอร์
นำงานที่เทใส่บล็อคแล้ว
( ขนาดบล็อค ต้องออกแบบให้ขนาดใส่ลงถังได้ ) แล้วเปิดอากาศ ดันให้อากาศเข้าไปอยู่สูงสุดเท่าที่เกจน์กำหนดไว้ ( ปกติที่ 40 PSIหรือ0.275MPa ) เราตั้งที่เรคูเรทเตอร์( ตัวควบคุมแรงดัน ) สามารถปรับแรงดันได้ ถังใบนี้มีเซฟตี้วาล์ว เมื่อแรงดันสูงเกินกว่า40 PSI หรือ0.275MPa เซฟตี้จะทำงาน โดยการปล่อยแรงดันออก
เราปล่อยชิ้นงานในโมลด์จนเรซิ่น หรือ ยางซิลิโคนเซทตัว แล้วค่อยนำออกจากถัง โดยการเปิดวาลว์ ปล่อยอากาศด้านในออก ( ถ้าไม่ปล่อยอากาศออก เราไม่สามารถหมุนเกลียวเปิดได้ )
- ต้องใช้งานรวมกับปั๊มลมเท่านั้น
- เสียบสายเชื่อมต่อปั้มลมกับถัง
- ปรับให้เข็มในเกจวัดอยู่ที่แรงดัน 40 PSIหรือ0.275MPa โดยการดึงสลักลูกบิดสีดำออกมาก่อนจึงค่อยหมุน (เหมือนเม็ดมะยมนาฬิกา)
- เปิดวาล์วรับแรงดันลมจากปั๊มลม
- ปิดวาล์วไม่ให้ลมออก
ขั้นตอนกระบวนการดัน
- ปิดฝาเพรชเชอร์ครอบบนถัง ขันตัวล็อกทั้งสี่บนฝาเพรสเชอร์ให้เรียบร้อย
- เปิดใช้งานปั๊มลม 30 ลิตร
- รอจนกว่างานเรซิ่นจะเซ็ตตัวเสร็จ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 24 ชม. ในส่วนนี้ เนื่องจากฝาครอบเพรสเชอร์เป็นฝาทึบ หลายคนอาจสงสัยว่าเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรซิ่นเซ็ตตัวเสร็จแล้ว? เทคนิคพิเศษง่าย ๆ ที่เราแนะนำคือสังเกตจากแก้วผสมเรซิ่นที่เราทำไว้ก่อนหน้าที่จะเทลงไปในถ้วยชิ้นงาน สังเกตเรซิ่นที่หลงเหลือบริเวณก้นแก้ว หากเรซิ่นในแก้วเซ็ตตัวแล้ว แปลว่างานเรซิ่นในหม้อดึงดันก็เซ็ตตัวเสร็จแล้วเช่นกันนั่นเอง
- ปิดวาว์ลแรงดันลมบนฝาเพรสเชอร์ แล้วปล่อยลมออกจากหม้อให้เรียบร้อย
- คลายล็อกทั้งสี่บนฝาเพรสเชอร์ออก
เพียงเท่านี้ ท่านก็จะได้ผลงานเรซิ่นอันสวยงามไร้ฟองอากาศใด ๆ มาขัดตาเลยครับ เห็นความแตกต่างได้ชัดเจนระหว่างงานเรซิ่นที่ผ่านกระบวนการดึงดันกับงานเรซิ่นที่ปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีฟองอากาศออกมาจากเนื้อเรซิ่น
เต็มไปหมด ลองสังเกตจากตัวอย่างผลงานได้เลยครับ
เป็นไงกันบ้างครับ หม้อดึงดันนี่มันช่างเป็นอะไรที่ทำมาเพื่อนักสร้างสรรค์ผลงานเรซิ่นโดยเฉพาะเลยเนอะ
ขนาดแค่ทำเพรสเชอร์หรือแวคคั่มเพียงอย่างเดียวก็เห็นผลงานดีขึ้นกว่าเดิมมากอยู่แล้ว แต่ชุดหม้อดึงดันนี่ทำได้ทั้งสองอย่างเลย
แถมใช้งานได้ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนอีกด้วย ราคาก็ไม่แพง เห็นแบบนี้แล้วต้องจัดมาลองซักหน่อยแล้ว!
หากมีข้อสงสัยเรื่องงานเรซิ่นตรงไหน สอบถามเอสเจได้เสมอนะครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ กับบทความนี้ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความนี้ จะเป็นประโยแน์กับทุก ๆ คน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดี ๆ ให้กับเพื่อน ๆ ทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
คุณอาจจะสนใจบทความนี้…
เรซิ่น คืออะไร ? ทำความรู้จักกันก่อนจะไปเริ่มทำงานเรซิ่น