วิธีหุ้ม คาร์บอนไฟเบอร์
มาหุ้มคาร์บอนไฟเบอร์กันเถอะ
เห็นคนแต่งรถ ชอบงานแนวนี้ ซึ่งเราทำได้หลายแนวทาง จะเป็นการหุ้มลงบนชิ้นส่วนเดิม หรือ การขึ้นรูปด้วยงานแวคคั่มอินฟิวชั่น ก็ได้ชิ้นงานที่สวยงาม แล้วแต่ชอบ แล้วแต่ถนัดค่ะ บทความนี้ขอแนะนำวิธีคร่าว ๆ ของการหุ้มขั้นพื้นฐานไว้ให้เผื่อท่านใดสนใจนะคะ
มี 3 ขั้นตอนหลักๆค่ะ ในที่นี้ จะขอพูดแบบคร่าว ๆ แต่มีคลิปให้ดูประกอบด้านท้ายบทความค่ะ
- การเตรียมพื้นผิว
- การผสมเรซิ่นและการเร เรซิ่น
- การขัดเก็บงาน
1.การเตรียมพื้นผิว (พื้นดีไม่มีเด้ง)
ชิ้นงานดิบที่มีมา เราต้องขัดผิวเปิดหน้า เพื่อพร้อมรับเรซิ่น ขัดแห้งด้วยกระดาษทรายเบอร์ 80 ขัดให้ทั่วๆ ปัดฝุ่นชิ้นงาน ทำความสะอาดให้ดี พร้อมสำหรับการเลย์ เรซิ่น
เตรียมตัด มีวิธีในการตัดผ้า ไม่ให้ผ้าดิ้น หรือ หลุดออกจากแผ่นคือ ใช้สก๊อตเทป หรือ เทปกาวย่น ปิดลงบนแนวที่เราต้องการตัดผ้า (ขนาดผ้า ตัดให้ใหญ่กว่าชิ้นงานสักเล็กน้อย ไว้เพื่อดึงเก็บงาน)
2.การผสมเรซิ่น และ การเลย์ เรซิ่น
รอจนชั้นรองพื้นเหนอะ แตะแล้วไม่เปรอะมือ ก็วางผ้า โดยวางให้ตรงลาย เวลาวางผ้า ระวังการดึงรั้งผ้าไปทางเดียว ให้ถ่ายน้ำหนักมือที่ดึงให้รอบ ๆ ชิ้นงาน แล้วกดผ้าให้แนบกับชิ้นงาน สามารถกดไปได้เรือยๆจนเรซิ่นแห้ง (ใช้เวลา 10 นาที ถ้าเราผ่านชั้นนี้ไปได้ งานจะไม่เด้ง ไม่ปูดพองค่ะ) ตัดเก็บขอบผ้าให้เรียบร้อย โดยใช้สเปรย์กาวช่วย
ป.ล. ไม่แนะนำให้ใช้กาวร้อน เพราะเนื้อกาวจะไปซึมลงผ้า แล้วทำให้เรซิ่นไม่สามารถเข้าผ้าได้
ทริคเล็ก ๆ ในการเลย์งานชั้นสุดท้าย มีอยู่ในคลิปเช่นกันค่ะ คือการผสมโมโนแว๊ค ลงในหน้าเรซิ่นชั้นสุดท้าย เพื่อไม่ใช้ผิวเหนอะ ง่ายต่อการขัดงาน
3.การขัดเก็บงาน
ขัดชิ้นงานให้เรียบ ไล่จากกระดาษทรายเบอร์หยาบ ไปเบอร์ละเอียด กระดาษทรายแต่ละชั้น จะลบรอยของชั้นก่อน ๆ ใจเย็นๆค่อยๆขัดรอยออกให้หมด จะได้ไม่ต้องมานั่งย้อนขัดใหม่ เวลาปัดเงาแล้ว (ขัดน้ำวนไป ขัดแล้วเช็ดแห้งเช็ครอย วนไปเรื่อยๆค่ะ)
เมื่อชิ้นงานเรียบแล้ว ขัดเงาต่อกันเลยค่ะ มี 2 ขั้นตอนในการปัดเงา คือ ครีมขัดหยาบ ต่อด้วยครีมขัดละเอียด
สงสัยขั้นตอนไหนในวิธีหุ้ม คาร์บอนไฟเบอร์ ยินดีให้คำแนะนำค่ะ
ป.ล. สุดท้ายนี้ มีหลายเรื่องราวที่อยากเขียน จะทยอยมาเขียนให้อ่านกันตามเวลาที่จะมีนะคะ เรื่องที่อยากเขียนมีอีกมากมาย เป็นความรู้เรื่องเกี่ยวกับเรซิ่นชนิดต่าง ๆ ทั้งอีพ็อกซี่เรซิ่น เรซิ่นไฟเบอร์กล๊าส เรซิ่นหล่อทึบ-หล่อใส-หล่อนิ่ม เรซิ่นเคลือบรุป เรซิ่นเคลือบโฟม
เรซิ่นแต่ละชนิด มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เลือกใช้เรซิ่นให้ถูกกับชิ้นงาน จะช่วยให้เราสร้างสรรค์งานได้ตามจินตนาการค่ะ
การคนเรซิ่น ขอแนะนำไม้คนที่หน้าสัมผัสกว้าง เช่นไม้ไอติม ไม่ใช่ไม้ทรงกลมตะเกียบนะคะ จะช่วยให้คนผสมเรซิ่นได้ทั่วถึง และคนไปในทิศทางเดียวกัน คนให้ถึงก้นถ้วยผสม อย่าคนไปคนมา อย่ายกไม้คนขึ้นๆลงๆเพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศได้ เป็นปัญหาหลักของงานค่ะ
การผสมโมโนแว๊ค ถ้ามากไป ชิ้นงานจะเป็นสีขาวขุ่น วิธีแก้ไขคือ ขัดงานชั้นที่เรนั้น
ออกไป (ปัญหานี้แก้ด้วยการใช้แรงงานขัดค่าา สุ้ ๆ)
สุดท้ายนี้ หวังใจว่า ทุกคนจะสนุกกับการสร้างชิ้นงานเรซิ่นนะคะ และ ยินดีให้คำแนะนำในการเลือกใช้เรซิ่น หรือ ดูไอเดียต่าง ๆ ได้ที่หน้าเพจ : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
ติดตามอัพเดตเรซิ่นและวัสดุที่ใช้ควบคู่กับงานได้ที่ เรซิ่น เอสเจลำสาลี หรือแอดไลน์ปรึกษาชิ้นงานที่ Line id : @resinsj
ขอบคุณทุกๆกำลังใจ และการติดตามค่ะ
แนะนำสินค้าที่ใช้กับคาร์บอน
และชุดหุ้มคาร์บอนไฟเบอร์
เป็นยังไงกันบ้างกับวิธีหุ้ม คาร์บอนไฟเบอร์ ถ้าชอบอย่าลืมกดไลค์และกดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้เรซิ่นเอสเจด้วยน๊า
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจจร๊า”