ปัจจุบันนี้ เรซิ่นถูกนำมาใช้ทำเป็นของน่ารักๆชิ้นเล็กๆ เช่น เครื่องประดับต่างๆ เคสมือถือ จนถึงผลงานชิ้นใหญ่ ซึ่งเรซิ่นนั้นจริงๆแล้วไม่ได้ทำยากอย่างที่ทุกคนคิดกัน มือใหม่อย่างเราก็สามารถทำได้ เพียงแค่เรารู้ ขั้นตอน และอุปกรณ์ที่เราจะทำของชิ้นนั้นๆครบ ก็สามารถทำได้แล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีทำเคสมือถือจากเรซิ่นกัน
นอกจากจะเตรียมอุปกรณ์ของที่จะทำครบแล้ว เวลาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราจะต้องรู้ไว้ด้วย นั้นคือ การทำเรซิ่นนั้น จะต้องรอให้เรซิ่นนั้นแห้งอีกด้วย ซึ่งเวลาจะนานหรือไม่นานนั้นขึ้นอยู่ที่ขนาดของงานที่เราจะทำอีกด้วย
ผลงานเรซิ่นที่เราจะทำนั้นนอกจากจะเป็นของขวัญชิ้นพิเศษให้คนพิเศษแล้ว เรซิ่นชิ้นนี้ยังเป็นของชิ้นเดียวในโลกอีกด้วย หรือถ้ามือใหม่อย่างเราฝึกฝนทำบ่อยๆ อาจก่อให้เกิดรายได้กับงานเรซิ่นที่เราทำด้วย และสำหรับมือใหม่นั้นเรามาทำความรู้จักกับเรซิ่นก่อนที่จะพาไปทำงานเรซิ่นแบบง่ายๆกันดีกว่า
เรซิ่น คืออะไร
คือสารที่ได้จากยางเหนียวของต้นไม้หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นมา โพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นชนิดนึงของเทอร์โมเซ็ทติ้ง พลาสติก (Thermosetting plastic มักเรียกสั้นๆ ว่า Thermoset plastic ) เป็นพลาสติกเหลวที่ได้จากการสังเคราะห์ มีความหนืดข้นคง เป็นวัตถุไวไฟชนิดหนึ่ง คล้ายน้ำมันเครื่อง กลิ่นฉุน สามารถแข็งตัวด้วยความร้อนสูงการหดตัว 1-5% หลังเซทตัวเต็มที่ เรซิ่นสามารถหล่อขึ้นรูปทรงได้อิสระมากมายหลากหลายรูปแบบ มีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรม ในชีวิตประจำวันของเราต้องเกี่ยวข้อกับพลาสติกไม่อย่างใดก็อย่างนึง เรซิ่น คืออะไร?
เรซิ่นมีกี่แบบ
เรซิ่นจะมี 2 แบบ คือ
1.Non-Promotion คือ แบบที่ยังไม่ได้ผสมสารช่วยทำปฏิกิริยา (โคบอลต์) มีลักษณะเป็นของเหลวข้นคล้ายน้ำมันเครื่อง มีสีใสอมเหลืองอ่อน จุดเด่นคือ อายุการเก็บรักษาจะยาวนานกว่าที่ Promote
2.Promote คือ แบบที่ผสมสารช่วยทำปฏิกิริยา (โคบอลต์) มีลักษณะเป็นของเหลวข้นคล้ายน้ำมันเครื่อง แต่มีสีชมพูบานเย็นอ่อน เพราะได้ผสมกับสารช่วยทำปฏิกิริยา (โคบอลต์) แล้ว ซึ่งสามารนำสารเร่งปฏิกิริยา(ตัวเร่งแข็ง)เติมลงไปก็สามารถใช้งานได้ทันที
อาซิโทน (Acetone) คืออะไร
Acetone คือ อะซิโตน หรือ อะซิโทน (Acetone) คือ ของเหลวที่ระเหยง่าย ไม่มีสี ติดไฟได้ง่าย ละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ และเป็นตัวทำละลายที่สำคัญมาก ซึ่งนิยมใช้กันแทน น้ำยาล้างเล็บ ล้างกาว หรือ เช็ดล้างเครื่องมือช่าง ทั้งลูกกลิ้ง พู่กัน แปรง ล้างมือ เป็นต้น นอกจากนี้ อะซิโตน ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม ไฟเบอร์ ยา และ สารเคมีอื่น ๆ อีกด้วย
เตรียมอุปกรณ์การทำเคส
1.เคสมือถือหลังแข็งแบบใส
2.อีพ็อกซี่เคลือบเคสมือถือ (EPOXY)
3.อาซิโทน เช็ดล้าง IPA เช็ดคราบมัน
4.แก้วผสม ไม้ไว้คนเรซิ่น
5.เครื่องชั่งดิจิตอล ปืนไฟไล่ฟอง
6.กากเพชรโฮโลแกรม
7.เครื่องอบเรซิ่น (ถ้าไม่มีต้องรอให้แห้งเองใช้เวลานานหรือไม่แล้วแต่ชิ้นงานที่เราทำ)
8.ของที่จะนำมาตกแต่ง
9.สีผสมเรซิ่น(ใครที่อยากทำเคสที่มีสีสันไม่อยากได้เคสใส ให้ซื้อสีผสมเรซิ่นด้วย)
13 ขั้นตอนวิธีทำเคสมือถือจากเรซิ่น
1.นำเคสที่เราเตรียมไว้มาเช็ดคราบมันด้วย IPA
2.เท EPOXY เคลือบเคสมือถือ A และ B ลงแก้วผสมเรซิ่น อัตราส่วน 1:1
3.ผสม EPOXY A และ B ให้เข้ากัน
4.ใส่กากเพชรโฮโลแกรมและคนผสมให้เข้ากัน
5.เทเรซิ่นลงบนเคสมือถือ เพื่อใช้เป็นตัวยึดรูป
6.วางรูปในตำแหน่งที่ต้องการติด ถ้าได้ตำแหน่งแล้วก็เทเรซิ่นลงบนรูปและเกลี่ยให้ทั่ว
7.เก็บรายละเอียดรอบๆกรอบเคส
8.ไล่ฟองอากาศด้วยปืนไฟ
9.สำหรับใครที่อยากได้เคสมีสีสันให้เทสีผสมเรซิ่นลงแก้วผสมอันเก่าและคนให้เข้ากัน
10.เทเรซิ่นลงเคสและตกแต่งตามความต้องการ เก็บรายละเอียดตามกรอบเคส
11.ไล่ฟองอากาศด้วยปืนไฟ และใช้ไดร์เป่าลมร้อนตกแต่งลวดลายตามความต้องการของเรา
12.นำเคสมือถือเข้าเครื่องอบเรซิ่น ปรับอุณหภูมิที่ 70ํC ตั้งเวลา 4 ชม. หากใครไม่มีเครื่องอบเรซิ่น สามารถปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งได้ ขั้นต่ำ 6-24 ชม.
13.นำเคสออกมาจากตู้อบ นำของตกแต่งที่เตรียมเอาไว้มาตกแต่งได้เลย เท่านี้ก็เสร็จแล้ว
เป็นไงกันบ้างค่ะวิธีการทำเคสมือถือ มือใหม่ก็ทำได้ ทุกคนคิดว่าทำง่ายกันไหมค่ะ ก่อนจะจากกันไป ทาง ResinSj หวังว่า บทความสอนทำเคสสำหรับคนมือใหม่ จะเป็นประโยชน์ให้กับทุกๆคน ที่เข้ามาอ่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ หากบทความนี้เป็นประโยชน์กับทุกคน
อย่าลืมส่งต่อบทความดีๆ ให้กับเพื่อนๆ ของทุกคนด้วยนะครับ
ด้วยรักและหวังดี ResinSj จะพัฒนาบทความที่ดีให้ทุกๆคน ต่อไป ครับ
สามารถรับชมบทความดี ๆ ได้ข้างใต้นี้ได้เลยนะครับ
บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี
“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจ”
ผู้เขียน: พี่นิ้ง ResinSJ
พี่นิ้ง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำงานเรซิ่น ซึ่งมากด้วยประสบการณ์งานคอมโพสิตทั้งหมด เช่น
งานไฟเบอร์กลาส งานคาร์บอน ไฟเบอร์ และงานซิลิโคน รวมทั้งการสร้างสรรค์ ผสมผสานวัตถุดิบ และเทคนิคเข้าด้วยกัน ซึ่งผ่านการเปิดคอร์สนับ 10 ครั้ง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 30 ปี และมีคำขวัญที่ว่า "เฝ้าดูลูกค้าเติบโต"