fbpx

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

โทร :
, 02-379-4555
, 02-379-4575

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

เรซิ่น คืออะไร ? ทำความรู้จักกันก่อนจะไปเริ่มทำงานเรซิ่น

เรซิ่น คืออะไร?

เรซิ่น คืออะไร? คือสารที่ได้จากยางเหนียวของต้นไม้หรือจากการสังเคราะห์ขึ้นมา โพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นชนิดนึงของเทอร์โมเซ็ทติ้ง พลาสติก (Thermosetting plastic มักเรียกสั้นๆ ว่า Thermoset plastic ) เป็นพลาสติกเหลวที่ได้จากการสังเคราะห์ มีความหนืดข้นคง เป็นวัตถุไวไฟชนิดหนึ่ง คล้ายน้ำมันเครื่อง กลิ่นฉุน สามารถแข็งตัวด้วยความร้อนสูงการหดตัว 1-5% หลังเซทตัวเต็มที่   เรซิ่นสามารถหล่อขึ้นรูปทรงได้อิสระมากมายหลากหลายรูปแบบ มีบทบาทต่อวงการอุตสาหกรรม  ในชีวิตประจำวันของเราต้องเกี่ยวข้อกับพลาสติกไม่อย่างใดก็อย่างนึง

เรซิ่น คืออะไร
มาทำความรู้จักว่าเรซิ่น คืออะไร เป็นโพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นชนิดนึงของเทอร์โมเซ็ทติ้ง พลาสติก (Thermosetting plastic มักเรียกสั้นๆ ว่า Thermoset plastic )

✯ เรซิ่น คุณสมบัติ โพลีเอสเตอร์

เป็นพลาสติกเหลว มีลักษณะหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง มีสีใส มีกลิ่นฉุน แข็งตัวด้วยการผสมกับโคบอลท์และตัวเร่ง เป็นวัตถุไวไฟมีคุณสมบัติแข็ง ใส เงา มีการหดตัวเมื่อทำชิ้นงานเสร็จ ประมาณ 2-3% อยู่ที่การผสมสารเร่งแข็ง ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติก แต่น้อยกว่าโลหะ เมื่อเสริมแรงด้วยใยแก้ว จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น มีน้ำหนักเบา ไม่เปราะ

  • เรซิ่น เป็นของเหลว สีใส มีความหนืดคล้ายน้ำมันเครื่อง
  • มีการหดตัว ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับ อีพ็อกซี่ เรซิ่น ( Epoxy Resin )
  • ทนความร้อนได้ที่ประมาณ 120 องศา ( ระยะเวลาไม่นาน )
  • ใช้เวลาเซทตัว เปลี่ยนเป็นของแข็งรวดเร็ว ตามสัดส่วน โคบอลท์ และ ตัวเร่ง
  • มีคุณสมบัติเป็นฉนวนทางไฟฟ้า สามารถนำไปใช้เคลือบเป็นฉนวนไฟฟ้าได้ 

เรซิ่น คืออะไรกันแน่นะ 

✯ อัตราส่วนการผสมเรซิ่น

อัตราการผสมเรซิ่น น้ำยา 100% ผสมโคบอลท์ 0.1% ผสมตัวเร่งแข็ง 0.5-2-5%

ตัวอย่างอัตราส่วนการผสมเรซิ่น เช่น น้ำยา 1กิโลกรัม ผสมโคบอลท์ 1กรัม(หรือซีซี)  ผสมตัวเร่ง 2-4กรัม+- ใส่มากเร่งมากแห้งไวชิ้นงานเปราะไม่แข็งแรง หรือ อาจทำงานไม่ทัน ไล่ฟองไม่ทัน

✯ ขั้นตอนการผสมเรซิ่น

การผสมเรซิ่นต้องเตรียมน้ำยาในปริมาณที่ต้องการ แบ่งใส่แก้วสำหรับผสม ผสมกับโคบอลท์คนให้เข้ากันให้ดี จนเปลี่ยนเป็นสีชมพู แบ่งที่ผสมโคบอลท์แล้วใส่ตัวเร่งตามในอัตราส่วนที่เหมาะสม คนให้เข้ากัน สามารถนำไปทำงานได้ทันที ทำทันในเวลา15นาทีเท่าไร ผสมตัวเร่งเท่านั้น ไม่พอใช้ค่อยแบ่งผสมตัวเร่งเพิ่ม  นับเวลาวินาทีแรกเริ่มตั้งแต่ผสมตัวเร่ง

**ห้ามผสม โคบอลท์ กับตัวเร่งแข็ง โดนกันโดยตรงเพราะจะทำให้ติดไฟเกิดอันตรายได้

โพลีเอสเตอร์แยกตามเนื้อเป็น 2 แบบ คือ

  1. Non-Promotion คือชนิดที่ยังไม่ผสมสารช่วยทำปฏิกิริยา ( โคบอลท์-ตัวม่วง )

 ลักษณะของเนื้อจะเป็นของเหลวค้นคล้ายน้ำมัน สีใสอมเหลืองอ่อน  จุดเด่นคือมีอายุการเก็บยาวนานกว่าที่โปรโมทโคบอลท์ ( สำหรับประเทศไทยซึ่งมีอากาศร้อนชื้นควรใช้ให้หมดภายใน 1เดือน เพราะเมื่อเข้าสู่เดือนที่2และ3 จะเริ่มมีความหนืดข้นขึ้นเรื่อยๆ) และยังสามารถประยุกต์สูตรได้อีกมากมาย เพื่อให้เหมาะสมกับรูปแบบงานต่างๆ

  1. โพลีเอสเทอร์ ชนิด Non-Promotion

Promote คือชนิดที่ผสมสารทำปฏิกิริยามาแล้ว ลักษณะของเนื้อจะเป็นของเหลวค้นคล้ายน้ำมันเครื่อง แต่มีสีชมพูบานเย็นอ่อนเพราะเมื่อได้ผสมสารโคบอลท์แล้ว เมื่อนำมาใช้งานก็แค่เติมสารเร่งปฏิกิริยาลงไป

ในเรื่องของสีนั้นบางบริษัทผู้ผลิดอาจมีการใช้สารช่วยเร่งที่แตกต่างดังนั้นชนิดผสมสารช่วยเร่งบางตัวจะมีสีคล้ำคล้ายน้ำเฉาก๊วย และสำหรับชนิดที่ใช้กับงานหล่อใสแล้วปัจจุบันนี้แทนที่จะมีสี ใสอมน้ำเงินอ่อนๆ  แต่ของเอสเจจะมีสีใส เหมือนน้ำ จุดเด่นที่ผสมโคบอลท์แล้วคือใช้งานง่ายและคล่อง มีเสถียรภาพสูง ไม่ยุ่งยาก แต่ข้อเสียคือมีอายุการเก็บสั้น อายุการเก็บไม่เกิน 1-2 เดือน ขึ้นอยู่กับพื้นที่การเก็บรักษา ให้ห่างความร้อนและแสงแดด จะเก็บได้ยาวกว่า ในการใช้งานจริงควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน

อ่านบทความเรซิ่น คืออะไร? ไปแล้วสนใจอยากหาสินค้าเรซิ่น นี่เลย

คุณสมบัติของโพลีเอสเตอร์เรซิ่น

    เป็นพลาสติกหล่อที่มีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพ ทางไฟฟ้า และทางเคมี

    คุณสมบัติทางกายภาพ  มีคุณสมบัติให้เนื้อแข็ง  ใส  เงา   ทนอุณหภูมิสูงดี เมื่อเสริมแรง ผสานด้วยใยแก้ว จะได้ความแข็งแรงที่เพิ่มมากขึ้น มีความเบา  แข็งแรงเหนียว  ไม่เปราะ      คุณสมบัติทางไฟฟ้า  น้ำยามีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ครบถ้วน สามารถนำไปใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า ( insulator ) ได้

ลักษณะการใช้งานของโพลีเอสเตอร์

    น้ำยานำไปใช้งานได้มากมายหลายกลุ่มงาน แต่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆที่นิยมใช้ในบ้านเรา ได้แก่

  1. กลุ่มงานหล่อ ( casting ) หล่อทึบ – หล่อใส – หล่อนิ่ม เช่นหล่อพระ หล่อของชำร่วย  หล่อตุกตา  หล่อกระดุม  หล่อแก้วเทียม ฯลฯ
  2. กลุ่มงานเคลือบ ( laminate ) เช่นงานเคลือบกรอบรูปวิทยาศาสตร์ เคลือบโฟมขาว หุ้มคาร์บอนไฟเบอร์
  3. กลุ่มงานขึ้นรูปแบบ ( molding ) เช่นการผลิตงานไฟเบอร์กลาส หรือ FRP ( fiberglass reinforce plastic ) พลาสติกเสริมแรงด้วยใยแก้ว

จากการที่น้ำยาชนิดโพลีเอสเตอร์มีหลายประเภทงาน การเลือกใช้ให้ตรงกับวัตถุประสงค์ตามรูปแบบของงาน จะช่วยให้ทำงานง่าย ชิ้นงานแข็งแรง และประหยัดต้นทุน   สามารถปรึกษาการเลือกใช้ให้ถูกชนิดตรงกับงานได้จากร้านเอสเจ กทม.สี่แยกลำสาลี

การแข็งตัว

    โพลีเอสเทอร์สามารถแข็งตัวได้โดยผสม A + B + C

A คือ โพลีเอสเตอร์

B คือ โคบอลท์ มีสีม่วงเข้ม ตัวทำปฏิกิริยาทำให้เรซิ่นกับตัวเร่งทำปฎิกิริยากัน หากไม่ใส่โคบอลท์ จะไม่เซท

C คือ ตัวเร่งปฏิกิริยา มีสีใส เหลว มีกลิ่นเหม็น

ตัวแปรเพิ่มเติมคือ แสงแดด และ ความร้อนจะทำให้เซทตัวไวขึ้น

โดยทั่วไปการแข็งตัวแบ่งออกเป็น 2  ช่วงคือ

ช่วงที่1.  gel time (เจลไทมส์) คือช่วงหลังจากเติมตัว catalyst แล้วจนจับตัวเป็นวุ้น        

ช่วงที่2. cure time(เคียวไทมส์)  คือช่วงที่แข็งตัวเต็มที่และเป็นช่วงที่เย็นตัวลงหลังจากที่มีความร้อนสูงในขณะทำปฏิกิริยา  

หมายเหตุ สารเคมีทั้งตัวเร่ง หรือตัวทำแข็ง และตัวโคบอลท์ มีอันตรายต่อการสูดดม และ

ระคายเคืองกับผิวหนัง เป็นสารก่อให้เกิดเปลวไฟ หรือระเบิดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวเร่ง หรือ

ตัวทำแข็ง กับตัวโคบอลท์ ผสมกันโดยตรงไม่ได้ จะเกิดเป็นเปลวไฟ (เวลาใช้งานตัวโคบอลท์

ได้ถูกผสมไปแล้ว จึงเจือจางค่อนข้างมาก) ดังนั้นควรเก็บแยกสารเคมีทั้งสองชนิดให้

อยู่ห่างกัน การแนะนำดังนี้มิใช่ให้ผู้ใช้ เกิดความวิตกกังวล แต่เป็นการเตือนให้ใช้ด้วยความ

ระมัดระวังเอาไว้  [ เรซิ่น อันตราย ]

องค์ประกอบที่มีผลต่อการแข็งตัวของเรซิ่น

  1. อุณหภูมิ อุณหภูมิสูงแข็งตัวเร็วกว่าอุณหภูมิต่ำ
  2. ปริมาณตัวเร่งฯ และ ตัวช่วยเร่งฯ ปริมาณที่มากแข็งตัวเร็วกว่าปริมาณที่น้อย
  3. ความชื้นหรือน้ำ ความชื้นสูงการแข็งตัวจะช้าลง  ผิวงานขึ้นฝ้ามัว โดยปกติปริมาณน้ำจะต้องมีค่าไม่เกิน 0.05%
  4. ปริมาณออกซิเจน ออกซิเจนเป็นตัวป้องกันการแข็งตัว ถ้าปริมาณออกซิเจนสูง เช่นการกวนมากๆ นานๆ การแข็งตัวจะช้าลง และออกซิเจนมีประประโยชน์มากในเรื่องการยืดอายุการเก็บ หากเริ่มเก็บไว้นานขึ้น ควรสร้างออกซิเจนให้เกิดในถังหรือปีบด้วยการกลิ้งถังไปมา เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว จะเกิดออกซิเจน และจะทำให้มีอายุการเก็บเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย

ในขณะทำการหล่อ น้ำยาจะปล่อยกลิ่นเคมีออกมาซึ่งมีกลิ่นเหม็นฉุน ดังนั้นสถานที่ทำงานควรเป็นที่โปร่งอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ควรทำงานในสถานที่ที่เป็นห้องทึบตัน และไม่มีการไหลเวียนของอากาศหรือการระบายอากาศที่ดีพอ

การแบ่งบรรจุ น้ำยาขวด 1กก  แกลลอน 5 กก.  ปี๊ป 20 กก. ถัง 230 กก.

เรซิ่น คืออะไร? เรซิ่น ทำอะไรได้บ้าง...

 FRP / Fiberglass/ Composite

วัสดุเทคโนโลยีใหม่ กรรมวิธีขั้นตอนผลิตจากเส้นใยไฟเบอร์ผสานไฟเบอร์กล๊าส  ชิ้นงานที่ได้มีน้ำหนักเบา รับแรงได้สูง ไม่เป็นสนิม ไม่แตกผุกร่อน ขโมยไม่ต้องการ ฝาปิดได้สนิท ป้องกันกลิ่นได้ดี เลือกผสมสีให้เข้ากับพื้นผิวได้ตามต้องการ นำมาผลิตเป็นชิ้นงานได้หลากหลาย อาทิเช่น , ฝาปิดครอบบ่อเกรอะ, เหล็กหล่อเหนียว, งานวัสดุซ่อมกันซึม, เคลือบปูพื้นผิวทางเดิน,ฝาท่อไฟเบอร์หลายรูปทรง ทั้งรูปทรงอิสระ, ฝาเปิดปิด, ฝาเหลี่ยม, ฝากลม ทึบ,  คาร์บอนไฟเบอร์,รางระบายน้ำฝน, บันไดกันลื่น, ราวกันตก, ตะแกรงกันกลิ่น, ดักกลิ่น,คอมโพสิท, คอมโพสิต, เอฟอาร์พี, งานพื้น, ซ่อมพื้น, วัสดุเคลือบพื้น, เคลือบผิว, กันซึม, เคลือบคอนกรีต, พื้นซีเมนต์, อีพ็อกซี่, อีพ๊อคซี่, อีพ็อคซี่, พื้นอีพ๊อกซี่,โพลียูรีเทน, งานปรับปรุงพื้นโรงงาน, เคลือบบ่อทนสารเคมี, อะครีลิค, พื้นโรงงานอุตสาหกรรม, ซ่อมรอยแตกร้าวรั่วซึม, โค้ทติ้ง, กันซึมดาดฟ้า, บ่อเก็บสารเคมี, รางน้ำฝนไฟเบอร์กลาส,  วัสดุทดแทนเหล็ก, หิน, ไม้, พลาสติค, ชีวภาพ, รีไซเคิล, ถังไฟเบอร์กล๊าส ,

คุณสมบัติ  ตะแกรง FRP (Fiberglass+Resin) .vs.  Steel  .vs.  Plastic (PE/ABS/PVC)

  1. ไม่เป็นสนิม ไม่ผุกร่อน ไม่กรอบแตก ทนความร้อนและแสง UV ทนการกัดกร่อนจากสารเคมี เช่นโซดาไฟ, Borax, กรดซัลฟูริก ฯลฯ สามารถตรวจสอบอุณหภูมิและสารเคมีที่ทนได้จากตารางผลการทดสอบ
  2. อายุการใช้งาน มากกว่า 30 ปี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เช่น ความถี่ของการสัมผัสสารเคมี ใกล้ทะเล หรือใช้งานในที่มีอุณหภูมิสูง (ทำอย่างไรจึงจะสามารถแก้ปัญหาสนิม ผุกร่อน การกัดกร่อนเหล็ก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ)
  3. เสริมคุณค่าโรงงาน สามารถเลือกสีให้เข้ากับสภาพแวดล้อม หรือทำเป็นเขต Safety Zone โดยใช้สีให้สะดุดตาได้ เช่น เหลือง,ฟ้า,เทา,ดำ เขียว ฯลฯ Insulation Material: เป็นฉนวน ไม่นำไฟฟ้า ไม่เป็นสื่อล่อฟ้า ป้องกันไฟฟ้าดูด
  4. น้ำหนักเบากว่าเหล็ก แต่รับแรงได้สูงเหมือนเหล็กทั่วไป จึงทำให้การเคลื่อนย้าย ติดตั้ง และบำรุงรักษาเร็วและง่ายขึ้น
  5. ราคาใกล้เคียงกับเหล็กหล่อ สูงกว่าเหล็กชุบกัลวาไนซ์ แต่ FRP ไม่มีปัญหาโดนขโมย เนื่องจารขายไม่ได้ในตลาดรับซื้อของเก่า ไม่เป็นสนิม
  6. เนื้อผิวไฟเบอร์มีความละเอียดสูง ปิดได้สนิทแน่น เสมือนมีซีลยางในตัว ป้องกันกลิ่นได้ดี ไม่มีปัญหาโก่งงอ เงียบสนิทเมื่อรถวิ่งผ่านด้านบนผิว เป็นฉนวน(ไม่นำไฟฟ้า) ทนความร้อนและแสง UV ไม่กรอบแตกเหมือนพลาสติก ABS, PVC, แผ่น poly
ไอเดีย เรซิ่น diy

หลังจากรู้แล้วว่าเรซิ่นคืออะไร ต่อไป เอสเจจะพาทุกคนไปดูไอเดีย เรซิ่น diy ที่ลูกค้าส่งมารีวิว เผื่อเป็นไอเดียไปทำชิ้นงานเรซิ่น diy สวยๆของตัวเอง

1.เรซิ่นหล่อพระพุทธรูป

2.เรซิ่นหล่อเครื่องประดับ

3.เรซิ่นงานคาร์บอน

4.งานพียูโฟม

5.งานดินน้ำมัน

ไอเดีย เรซิ่น diy

เป็นยังไงกันบ้างกับบทความเรซิ่น คืออะไร? ถ้าชอบก็อย่าลืมกดไลค์กดแชร์ไปให้เพื่อนๆคนอื่นๆได้อ่านกันด้วยน๊า และฝากเป็นกำลังใจเรซิ่นเอสเจทำบทความดีๆแบบนี้ต่อไปด้วยนะ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

“งานเรซิ่น … นึกอะไรไม่ออก บอกเอสเจจร๊า”

สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อติดต่อ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-379-4555 , 02-379-4575 , 02-379-4604

โทรศัพท์มือถือ : 088-299-0267 , 086-317-1747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

รอบจัดส่ง