อีพ็อกซี่เรซิ่น Epoxy Resin
อีพ็อกซี่ (Epoxy) คือสารเคมีมีลักษณะเป็นของเหลว เป็นเคมี 2ส่วน คือ A B อัตราส่วนผสมโดยการชั่งน้ำหนัก
นิยมใช้ในงานหล่อเรซิ่น เสริมความแข็งแรง และไม่มีกลิ่นฉุน
✯ ใช้ในการสร้าง – ซ่อมงานได้ ใช้งานง่าย มีความแข็งแรง อัตราการหดตัวน้อย ไม่มีกลิ่นเหม็น มีความใส เงา มีเนื้อในตัวเองมาก มีความแข็งแรง รับแรงได้มาก สามารถผสานกับเส้นใยแก้วชนิดต่างๆ มีหลายชนิด ให้เลือกใช้แตกต่างกันตามคุณสมบัติที่ต้องการ มีความแกร่งมากกว่าโพลีเอสเตอร์
✯ คุณสมบัติ อีพ็อกซี่เรซิ่น
- มีความแข็งแรง สามารถรับแรงกระแทกรอยขีดข่วนได้เป็นอย่างดี
- ทนความร้อนได้สูงถึง 150-200 องศา มากกว่าเรซิ่นชนิดโพลีเอสเตอร์
- ไม่มีกลิ่นฉุนระหว่างการทำงานเหมาะกับผู้ที่แพ้กลิ่นสารเคมีเรซิ่นช่วยให้ทำงานได้สะดวก
- วิธีการผสมง่ายและชัดเจน เช่น อัตราส่วน 1: 1 หรือ 2: 1 หรือ 3:1 โดยการชั่งน้ำหนัก
- สามารถผสมสีเพิ่มความสวยงามให้ชิ้นงานตามต้องการเช่น สีเรืองแสง สีสะท้อนแสง สีโปร่งแสง สีทึบแสงเป็นต้น
- คุณสมบัติเหมือนกาว ยึดเกาะกับผิววัสดุได้ทุกชนิด เช่นผสานกับไม้ หรือพลาสติก
- เราสามารถนำมาผสานกับวัสดุต่างๆ มีการยึดเกาะได้สูง เช่นไม้ โลหะ กระจก อะครีลิค สแตนเลส พลาสติก เหล็ก ฯล
✯ อีพ็อกซี่เรซิ่น มีหลายชนิด แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
- เช่น อีพ็อกซี่ สำหรับงานหล่อ เน้นความสวยงาม หล่อเครื่องประดับ
- หรือ อีพ็อกซี่ สำหรับเน้นความแข็งแรง งานอุตสาหกรรมหนัก เน้นรับแรงกระแทก ป้องกันรอยขีดข่วน
- เช่นการผสานกับไม้ ทำชิ้นงานเครื่องเรือน ที่ทันสมัย
✯ ข้อควรระวังการใช้งานอีพ็อกซี่!
- การผสมอัตราส่วนที่ผิดพลาด อาจทำให้ชิ้นงานเสียหายได้
- ผสมตามอัตราส่วนที่กำหนดเท่านั้น เช่น 1:1 โดยการชั่งน้ำหนัก
- ระหว่างที่อีพ็อกซี่กำลังเซทตัวเป็นของแข็ง จะมีควันลอยขึ้นมา ควรสวมใส่หน้ากากเพื่อป้องการสูดดมควัน สารระเหยเข้าสู่ร่างกาย
- อีพ็อกซี่เรซิ่น สามารถทนความร้อนได้มากก็จริง แต่ไม่ใช้วัสดุกันไฟ จึงสามารถเสียหายได้หากได้รับความที่สูงมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน
- ไม่ควรผสมสารเคมีอื่นๆในระหว่างการผสมเรซิ่น เพราะอาจจะมีผลต่อระยะเวลาการแห้ง หรืออาจะทำให้ชิ้นงานเสียหาย ผิวขุ่นมัวได้ เช่นสีที่คนละเบสกับเรซิ่น หรือ คราบน้ำมันที่ติดมากับภาชนะคนผสม หรือ ละอองน้ำมัน ใกล้กับชิ้นงานที่วางรอเรซิ่นเซทตัว
- ไม่เหมาะสำหรับการเคลือบผิววัสดุที่เป็นยาง หรือน้ำมัน เพราะการยึดเกาะค่อนข้างยาก
- หากเก็บไว้นานหรือถูกความร้อน อาจจะส่งผลให้เรซิ่นเสื่อมไวขึ้น จึงควรเก็บในที่ไม่ถูกแสงแดด และปิดฝาให้สนิททุกครั้ง
- การคนส่วนผสมที่แรงเกิดไป จะทำให้เกิดฟองอากาศในเนื้อเรซิ่นมาก พยายามคนส่วนผสมไม่ต้องแรงมากแต่เน้นให้เข้ากัน
- หลีกเลี่ยงการเคลือบอีพ็อกซี่ลงบนชิ้นงานที่ลง WAX หรือวาสลีน เพราะจะทำให้ชิ้นงานมีความขุ่น ไม่ใส่ และอาจจะเคลือบผิววัสดุไม่ติดเท่าที่ควร ระยะเวลาการใช้งานอาจสั้นกว่า เพราะการกระแทกชิ้นงานอาจทำให้เกิดการกะเทาะ
✯ เทคนิคการไล่ฟองอากาศออกจากอีพ็อกซี่เรซิ่น
เนื่องจากอีพ็อกซี่ของเอสเจ เป็นเบสที่ไม่ไวไฟ.. จึงง่ายกับการไล่ฟองอากาศ
การไล่ฟองอีพ็อกซี่เรซิ่น ควรทำทันทีขณะที่ยังเป็นของเหลว ด้วยการใช้ปืนไฟแช็กเป่าไล่ฟอง ไม่ควรจ่ออยู่กับที่เป็นเวลานานเพราะอาจจะทำให้ชิ้นงานเสียหายได้ เช่นสีเพี้ยนกว่าที่ตั้งใจ หรือ อาจเกิดรอยไหม้ // กรณีฟองไม่เยอะอาจจะใช้วิธีนำไม้ปลายแหลมกดที่ฟองเพื่อให้แตกยุบก็ได้เช่นกัน
✯ อยากเริมทำงานด้วยอีพ็อกซี่เรซิ่น ทำอย่างไร?
- เริ่มจากการวางแผนงานที่จะทำ
- เตรียมแบบหรือแม่พิมพ์สำหรับหล่อชิ้นงาน
- รวมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ศึกษาการใช้งานอีพ็อกี่แต่ละชนิด
- เลือกอีพ็อกซี่ ให้กับกับประเภทของการทำงาน
- ฝึกการผสมอัตราส่วนเรซิ่นให้ถูกต้อง แม่นยำ
- ฝึกการขนส่วนผสมอีพ็อกซี่ให้เข้ากันดี เป็นเนื้อเดียวกัน
- ศึกษาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นระหว่างทำงาน ยิ่งชำนาญ ยิ่งลดความเสียหายระหว่างทำงานได้มากขึ้น
✯ หลักการและการตลาดอีพ็อกซี่เรซิ่น
ปัจจุบันเริ่มมีการนิยมใช้อีพ็อกซี่เรซิ่นมากขึ้น เนื่องจากคุณสมบัติต่างๆค่อนข้างเหนือกว่าโพลีเอสเตอร์เป็นอย่างมาก
กลุ่มคนรุ่นใหม่ มักมองหาอีพ็อกซี่ ในการทำงานหล่อเรซิ่น ด้วยคุณสมบัติที่แกร่ง ใส และเงา และไม่มีกลิ่นเหม็นที่รบกวนเพื่อนบ้าน ทำให้มีความโดดเด่นมากกว่าเรซิ่นชนิดโพลีเอสเตอร์หลายอย่าง และมีแนวโน้วว่ากลุ่มตลาดอีพ็อกซี่จะมีการเติมโตอีกมากขึ้นในอนาคต
- ดังนั้นควรเลือกอีพ็อกซี่ให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ทำเพื่อให้ชิ้นงานออกมาได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ