fbpx

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

โทร :
, 02-379-4555
, 02-379-4575

เรซิ่นเอสเจตัวจริงเรื่องเรซิ่น มาตลอด 30 ปี

5 อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นสำหรับงานอิพ็อกซี่เรซิ่น

5 อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นสำหรับงานอีพ็อกซี่

สารบัญ

เนื้อหา

5 อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นสำหรับงานอิพ็อกซี่เรซิ่น

5 อุปกรณ์เสริมที่จำเป็นสำหรับงานอิพ็อกซี่เรซิ่น เพื่อช่วยให้การทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

1. เครื่องชั่งดิจิตอล

เครื่องชั่งดิจิตอลเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในการทำงานเรซิ่น เพราะช่วยให้เกิดความแม่นยำในการผสมให้ถูกสัดส่วน

โดยทั่วไปแล้วอิพ็อกซีเรซิ่น จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ พาร์ท A กับ พาร์ท B เมื่อต้องการใช้ จะนำพาร์ท A กับ     พาร์ท B มาผสมในอัตราส่วนตามผู้ผลิต

ข้อดีของเครื่องชั่งดิจิตอลคือ สามารถเซท”ศูนย์” เมื่อเราชั่งส่วนผสมA ไปแล้ว ( ในที่นี้ สมมุติชั่ง A 100กรัม อัตราส่วนผสม 1ต่อ1 โดยการชั่งน้ำหนัก จะต้องใส่ B 100 กรัม  ในการชั่งน้ำหนักจริง เราเซทให้เป็นเลขศูนย์ ) แล้วเทผสมส่วน B 100 กรัม ตามที่เราตั้งใจไว้ 

2. ฟิล์มไมล่า [Mylar Film]

“ฟิล์มไมล่าร์” เป็นวัสดุเอาไว้ปูรองบล็อกของงานก่อนเทอิพ็อกซี่เรซิ่นลงไป มีส่วนช่วยให้แกะงานง่าย ไม่ติดบล็อก  แถมเรซิ่นส่วนที่สัมผัสไมล่าร์ฟิล์ม ผิวก็จะเรียบเนียน เงาสวยอีกด้วย 

อีกหนึ่งข้อดีคือ สามารถนำฟิล์มไมล่าร์มาปูรองพื้น โต๊ะ เพื่อกันการย้อย หก ของอิพ็อกซี่เรซิ่นได้

3. ปืนไฟแช็กไล่ฟองอากาศบนผิวอิพ็อกซี่เรซิ่น

สำหรับท่านที่ประสบปัญหาเวลาเทอิพ็อกซี่เรซิ่นแล้วเกิดฟองอากาศบนผิวอีพ็อกซี่เรซิ่น แก้ปัญหาง่ายๆ โดยการใช้ปืนไฟแช็กทยอยไล่ฟองแบบผ่านๆ เพียงเท่านี้ฟองอากาศก็หายไปในพริบตาเลยครับ

  • ใช้ได้แค่กับอีพ็อกซี่เรซิ่นเท่านั้น หากใช้กับโพลีเอสเตอร์เรซิ่นจะติดไฟ
  • ไม่ควรใช้ปืนไฟแช็กจ่อที่ชิ้นงาน อาจเกิดความเสียหายได้

4. ถังแรงดันไล่ฟองอากาศงานเรซิ่น

นิยมใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

  • งานไล่ฟองอากาศงานเรซิ่น
  • งานไล่ฟองอากาศงานซิลิโคน

เพื่อให้ได้เนื้อผิวชิ้นงานที่เรียบเนียน ฟองอากาศน้อย

วิธีการใช้งาน

นำงานที่เทใส่บล็อคแล้ว
( ขนาดบล็อค ต้องออกแบบให้ขนาดใส่ลงถังได้ ) แล้วเปิดอากาศ ดันให้อากาศเข้าไปอยู่สูงสุดเท่าที่เกจน์กำหนดไว้ (ปกติที่ 40 PSIหรือ0.275MPa)  เราตั้งที่เรคูเรทเตอร์( ตัวควบคุมแรงดัน ) สามารถปรับแรงดันได้ ถังใบนี้มีเซฟตี้วาล์ว เมื่อแรงดันสูงเกินกว่า40 PSI หรือ0.275MPa เซฟตี้จะทำงาน โดยการปล่อยแรงดันออก

เราปล่อยชิ้นงานในโมลด์จนเรซิ่น หรือ ยางซิลิโคนเซทตัว แล้วค่อยนำออกจากถัง โดยการเปิดวาลว์ ปล่อยอากาศด้านในออก ( ถ้าไม่ปล่อยอากาศออก เราไม่สามารถหมุนเกลียวเปิดได้ )

  1. ต้องใช้งานรวมกับปั๊มลมเท่านั้น
  2. เสียบสายเชื่อมต่อปั้มลมกับถัง
  3. ปรับให้เข็มในเกจวัดอยู่ที่แรงดัน 40 PSIหรือ0.275MPa โดยการดึงสลักลูกบิดสีดำออกมาก่อนจึงค่อยหมุน (เหมือนเม็ดมะยมนาฬิกา)
  4. เปิดวาล์วรับแรงดันลมจากปั๊มลม
  5. ปิดวาล์วไม่ให้ลมออก

5. อะซิโตน

เรานิยมใช้ในการเช็ดล้างเครื่องมือช่าง  ทั้งลูกกลิ้ง พู่กัน แปรง ล้างมือ ( ยกเว้นพลาสติก )

(ความเข้มข้นน้อยกว่าน้ำ เวลาบรรจุด้วยบรรจุภัณฑ์ขนาดเท่ากัน จึงได้ปริมาณน้อยกว่าเรซิ่นและโมโนสไตรีน)

สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อติดต่อ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด
โทรศัพท์ : 02-3794555 , 02-3794575 , 02-3794604
โทรศัพท์มือถือ : 088-2990267 , 086-3171747
Line ID : @resinsj
Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

คุณอาจจะชอบบทความนี้…

เรซิ่น คืออะไร ? ทำความรู้จักกันก่อนจะไปเริ่มทำงานเรซิ่น

 

อีพ็อกซี่เรซิ่น [Epoxy Resin] คืออะไร ทำไมถึงไม่มีกลิ่นฉุน

สอบถามข้อมูลหรือสั่งซื้อติดต่อ

บริษัท เอสเจ สินธุพันธ์เทรดดิ้ง จำกัด

โทรศัพท์ : 02-379-4555 , 02-379-4575 , 02-379-4604

โทรศัพท์มือถือ : 088-299-0267 , 086-317-1747

Line ID : @resinsj

Facebook : เรซิ่น เอสเจลำสาลี

รอบจัดส่ง

บทความอื่นๆ